วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

โควิด ๑๙ สร้างปัญหาต่อการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกโปแลนด์

ในช่วงเดือนมกราคมถึงกรกฏาคมที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกโปแลนด์ เสียหายไปแล้ว ๕.๔ พันล้านบาท เนื่องจาก การระบาดของโรคโควิด ๑๙ อย่างต่อเนื่อง

หอการค้าผู้ผลิตสัตว์ปีก และอาหารสัตว์แห่งโปแลนด์ ประเมินว่า ไตรมาสที่ ๔ ของปีนี้ สถานการณ์น่าจะเลวร้ายลง มูลค่าความเสียหายคาดว่าไต่ขึ้นไปอีกสองเท่าเป็น ๑.๒ หมื่นล้านบาทเมื่อถึงสิ้นปี ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ผู้ผลิตสัตว์ปีกชาวโปแลนด์เผชิญเป็นการลดลงอย่างหนักของยอดสั่งซื้อของอุตสาหกรรมด้านบริการ โดยเฉพาะ ธุรกิจที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม บางคนที่มองเพียงสถานการณ์ปัจจุบันอาจเห็นว่า การระบาดของโควิด ๑๙ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกโปแลนด์เพียงเล็กน้อย นับตั้งแต่มกราคมถึงกรกฏาคม การส่งออกเนื้อสัตว์ปีกยังลดลงเพียงร้อยละ ๓.๗ เท่านั้น แต่มูลค่าการส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นตัวเงินแล้ว ความเสียหายมากกว่าร้อยละ ๑๐ ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าของยอดขายไปยังต่างประเทศเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกโปแลนด์มีรายได้หายไปสูงถึง ๕.๔ หมื่นล้านบาท ยอดจำหน่ายที่ตกต่ำลง ร่วมกับผลกำไรขั้นต้นที่ลดลงได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอย่างหนัก บริษัทส่วนใหญ่มีความสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้น้อย เช่น การจำกัดการผลิตในกรณีที่ความต้องการสินค้าลดลง 


รักษายอดการผลิตไว้      

สถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบต่อการผลิตสัตว์ปีกของโปแลนด์คือ การรักษาการผลิตให้มากเข้าไว้ หมายความว่า การจัดจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้นที่จะช่วยให้ราคาถูกลงได้ แต่เชื่อว่า กลยุทธ์นี้จะใช้ได้ผลเพียงระยะสั้นเท่านั้น ในระยะยาว วิธีการปฏิบัติงานเช่นนี้จะยิ่งทำให้เกิดผลลบอย่างยิ่งยวด

ในเดือนมกราคม ถึงกรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้ โปแลนด์สามารถส่งออกเนื้อสัตว์ปีกมูลค่าโดยภาพรวม ๔.๙ หมื่นล้านบาท จากสินค้า ๘๒๒,๐๐๐ ตัน ปริมาณน้อยกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน ๓๒,๐๐๐ ตัน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มูลค่าการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกสูงถึง ๙.๗ หมื่นล้านบาท ผู้นำเข้าเนื้อสัตว์ปีกรายสำคัญ ได้แก่ เยอรมัน ร้อยละ ๑๕ สหราชอาณาจักร ร้อยละ ๘ เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ ๘ ฝรั่งเศส ร้อยละ ๖ และเช็ก ร้อยละ ๕ นอกจากนั้น การส่งออกเกือบร้อยละ ๒๙ ไปยังนอกสหภาพยุโรป 

  

เอกสารอ้างอิง

Vorotnikov V. 2020. Covid-19 pandemic costs Polish poultry export dearly. [Internet]. [Cited 2020 Oct 29]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/10/Covid-19-pandemic-costs-Polish-poultry-export-dearly-662672E/     

ภาพที่ ๑ ผู้ผลิตพยายามรักษากำลังการผลิตไว้ แต่ไม่สามารถสร้างมูลค่าในการส่งออก (แหล่งภาพ Michel Zoeter)



วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

หวัดนกระบาดกระทบส่งออกสัตว์ปีกในรัสเซีย

การระบาดใหม่ของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในไซบีเรียส่งผลลบต่อการส่งออกสัตว์ปีกของรัสเซีย ตามรายงานของนักวิเคราะห์ตลาดในนิตยสารภายในประเทศ

โรคไข้หวัดนกมีรายงานใน ๔ พื้นที่ของประเทศ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกใน Chelyabinsk Oblast และ Omsk Oblast ไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกภายในสหภาพศุลกากร และ Chelyabinsk Oblast ยังสูญเสียโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกไปยังจีนอีกด้วย การระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งนี้ส่งผลกระทบทางลบต่อบริษัทหลายแห่งภายในประเทศ Ravis และ Zdorvaya Ferma ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ Chelyabinsk Oblast เป็นผู้จำหน่ายเนื้อไก่ให้กับจีน แต่เกิดโรคไข้หวัดนก และถูกควบคุมการส่งออก    

หน่วยงานปศุสัตว์รัสเซียเองพยายามต่อรองกับศุลกากรจีน เพื่อแสวงหาโอกาสความเป็นไปได้ในการผ่อนปรนให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซียที่มีมาตรฐานด้านสุขอนามัยระดับสูงที่สุด สามารถกลับมาส่งออกได้โดยเร็ว แม้ว่าจะไม่สามารถส่งออกได้ แต่ก็เชื่อว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีกของรัสเซียมากนัก เพราะการส่งออกมีสัดส่วนเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้น

การส่งออกกำลังพุ่งทะยาน 

ในปีนี้ ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกรัสเซียวางแผนจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีกให้ได้ ๒๘๐,๐๐๐ ตันไปยังลูกค้าต่างประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๓ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว รัสเซียวางแผนเพิ่มยอดส่งออกเนื้อสัตว์ปีกให้ได้ภายในไม่กี่ปีต่อจากนี้ โดยเป้าหมายหลักเป็นสินค้าฮาลาล ในปีที่แล้ว ยอดจำหน่ายรวมของตลาดเนื้อสัตว์ปีกฮาลาลทั่วโลกมีมูลค่า ๓๗ ล้านล้านบาท รัสเซียมีส่งแบ่งอยู่เพียง ๑๖,๕๐๐ ล้านบาทเท่านั้น รัสเซียผลิตเนื้อสัตว์ปีกฮาลาลได้ราว ๖๕๐,๐๐๐ ตันต่อปี  

ไข้หวัดนกระบาดในคาซัคสถาน 

ขณะที่รัสเซียตกที่นั่งลำบากกับโรคไข้หวัดนก เชื้อไวรัสก็ได้แพร่กระจายต่อไปยังอีก ๔ พื้นที่ในคาซัคสถานตามรายงานเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายนที่ผ่านมา ไก่เนื้อสำหรับการผลิตสินค้ากว่าแสนตันถูกทำลาย และยังมีอีกหลายล้านตัวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อโรค ถึงเวลานี้ยังไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อโรคไข้หวัดนกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลประกาศแผนการให้วัคซีนเป็นวงกว้างโดยมีเป้าหมายสัตว์ปีกจำนวน ๕ ล้านตัว นอกจากนั้น ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกที่ติดเชื้อทั้งหมดจะได้รับการชดเชยจากงบประมาณรัฐบาลสำหรับความเสียหายจากโรคระบาดครั้งนี้   


เอกสารอ้างอิง

Vorotnikov V. 2020. Continuing AI epidemic hurts Russian poultry export. [Internet]. [Cited 2020 Oct 2]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/10/Continuing-AI-epidemic-hurts-Russian-poultry-export-649373E/ 

ภาพที่ ๑  กรมปศุสัตว์รัสเซียพยายามต่อรองกับรัฐบาลจีนถึงความเป็นไปได้ที่จะผ่อนปรนมาตรการให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกในรัสเซียที่มีมาตรฐานด้านสุขอนามัยระดับสูงที่สุด สามารถส่งออกสัตว์ปีกได้ต่อไป (แหล่งภาพ Anne van der Woude)



วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สตาร์ตอัพอิสราเอล พัฒนาเทคนิคแปลงเพศตัวอ่อนลูกไก่

เหนือชั้นกว่าการแยกเพศ ไม่ต้องดูขนปีกแยกเพศกันอีกแล้ว อยากได้เพศไหนก็แปลงกันไปเลยตั้งแต่ในไข่ฟัก อุตสาหกรรมไก่ไข่ก็ไม่ต้องคัดลูกไก่เพศผู้กันอีกต่อไปฟักออกได้เป็นตัวเมียล้วนๆ สตาร์ตอัพอิสราเอล Soos พัฒนาเทคนิคการกระตุ้นด้วยเสียงเพื่อแปลงเพศตัวอ่อนลูกไก่จากผู้เป็นเมียในโรงฟักแล้ว 

ในทุกปี อุตสาหกรรมการผลิตไข่ทั่วโลกผลิตลูกไก่มากกว่า ๑.๕ หมื่นล้านตัว ครึ่งหนึ่งเป็นตัวเมีย และเติบโตเป็นแม่ไก่ไข่ผลิตไข่ไก่ให้เราได้รับประทาน แต่อีกครึ่งหนึ่ง ๗.๕ พันล้านตัวเป็นลูกไก่เพศผู้ ที่ต้องถูกคัดทิ้งไปเฉยๆ แต่ในเวลานี้ ประเด็นด้านจริยธรรม และสวัสดิภาพเป็นเรื่องใหญ่โต นอกเหนือจาก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่คุ้นเคยจนเป็นความเคยชินมาตลอด

ปัจจุบัน หลายประเทศกำลังแบนการทำลายลูกไก่เพศผู้ และการผลิตไข่ไก่ทั่วโลกมีแนวโน้มความต้องการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตจึงคิดหาทางออกสำหรับประเด็นร้อนที่กำลังโต้เถียงกันแรงขึ้นๆทุกวันสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก สตาร์ตอัพ อิสราเอล Soos จึงนำเสนออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตไข่ไก่


สตาร์ตอัพ Soos คิดเปลี่ยนโฉมหน้าโลกการผลิตไก่ไข่  

นักวิจัยเสนอขอทุนวิจัยครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สามปีที่แล้ว วางแผนกันระยะยาวครบทั้งกระบวนการผลิต ตั้งแต่โรงฟักขนาดเล็กผลิตไข่ไก่ได้ ๕๐๐๐ ฟอง แล้วสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่รุ่นขนาด ๘๐,๐๐๐ ตัว จนกระทั่ง กระบวนการผลิตครบทั้งวงจร  

เนื่องจาก การมุ่งความสนใจต่อการสั่นสะเทือนจากเสียง ตู้บ่มของ Soos จึงออกแบบมาให้ทำงานอย่างเงียบเชียบ สิ่งแรกที่นักวิจัยค้นพบคือ หากนั่งข้างตู้บ่มตามปรกติ เสียงการทำงานของตู้บ่มจะดังมาก จึงไม่เป็นการดีเลยต่อสุขภาพของผู้ที่ทำงานใกล้กับเครื่องจักรที่คำรามส่งเสียงดังตลอดเวลาเช่นนี้ แต่ใน Soos มีตู้บ่มสามเครื่องที่ทำงานเงียบมาก 

ผู้วิจัยได้พัฒนาเซลล์อะคูสสิก เพื่อตรวจวัดเสียงภายในตู้บ่ม โดยมีเป้าหมายถัดไปในการนำร่องธุรกิจนอกอิสราเอล เพื่อออกจากข้อจำกัดในการขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น


คิดใหม่ในการเลือกเพศลูกไก่ไข่ 

บริษัทนวัตกรรมส่วนใหญ่เล็งเป้าไปที่เทคโนโลยีการคัดลูกไก่เพศผู้โดยการสแกนตรวจเพศตั้งแต่ตัวอ่อนในช่วงสองวันแรก ในมุมมองด้านสวัสดิภาพสัตว์ ยังคงต้องทำลายไข่ก่อนอายุตัวอ่อนได้ ๗ วัน กำลังเป็นสิ่งท้าทายต่อนักวิจัย แต่แทนที่จะคอยตรวจสอบลูกไก่เพศผู้ หรือเมีย เทคโนโลยีของ Soos จะแปลงพันธุกรรมของเพศผู้ให้กลายเป็นลูกไก่เพศเมีย นอกจากหมดปัญหาเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ แต่ยังเป็นการได้จำนวนลูกไก่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๕๐ แทนที่จะคัดทิ้งไปเฉยๆก็แปลงเพศก่อนเลย

นอกเหนือจากนั้น นวัตกรรมบางแง่มุมที่หวังดัดแปลงพันธุกรรมของพ่อแม่พันธุ์ ยังไม่เป็นที่ยอมรับในหลายแห่งทั่วโลก เทคโนโลยีของ Soos ไม่ได้ใช้สารเคมีที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อตัวอ่อน แต่ใช้วิธีการกระตุ้นด้วยเสียง และปรับสภาพแวดล้อมในตู้ เป็นที่ยอมรับกันว่า เสียงส่งผลต่อเซลล์ ขณที่ เทคโนโลยีนี้ยังใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็ง นักวิจัยพยายามบอกให้เห็นภาพว่า เทคโนโลยีชั้นสูงนี้มีอยู่จริง และใช้กันอยู่แล้วในทางการแพทย์ ไม่ใช่อยู่ในความฝัน เทคโนโลยีนี้สร้างการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ เพื่อกำหนดทิศทางการเลือกเพศของตัวอ่อนลูกไก่ เวลานี้ Soos ประสบความสำเร็จแล้วร้อยละ ๖๐ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘๐ ภายในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ 

 ผู้วิจัยใช้การทดสอบระดับดีเอ็นเอในการพิสูจน์หลักทฤษฎี และอธิบายปรากฏการณ์ที่กำลังวิจัย พบว่า มีตัวเมียที่มีโครโมโซม ZZ (เพศผู้) อยู่ เป้าหมายสำหรับปีหน้า มีหุ้นส่วนในใจอยู่แล้วในมหาวิทยาลัย เพราะยังมีข้อจำกัดด้านความพร้อมของห้องวิจัยเพาะเลี้ยงเซลล์ ผู้วิจัยต้องการทดลองใช้การสั่นสะเทือนของเสียงในระดับเซลล์เพาะเลี้ยง 


แผนในอนาคต

บังเอิญช่วงนี้โควิด ๑๙ ระบาด แผนการขยายธุรกิจนอกอิสราเอลยังชะลอไว้ก่อน แต่ในอนาคตจะก้าวเข้าไปในยุโรป ติดตามด้วยสหรัฐฯ เป้าหมายสำคัญในอนาคตคือ นำร่องกิจกรรมภายนอกอิสราเอล เพื่อยกระดับโปรโตคอลการฟักไข่ เพื่อให้ได้ผลที่ดีขึ้นกว่าเดิมกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในอนาคต เทคโนโลยีของ Soos จะต้องใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก เชื่อว่า เทคโนโลยีการแปลงเพศตัวอ่อนลูกไก่จะเปลี่ยนโลกได้ หากประสบความสำเร็จ ก้าวต่อไปอาจเป็นการเลือกเพศทารก และสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ป่าที่มีค่าได้   


เอกสารอ้างอิง

Kwakman R. 2020. Israeli start-up Soos tackles culling of male chicks. [Internet]. [Cited 2020 Oct 6]. Available from: https://www.poultryworld.net/Eggs/Articles/2020/10/Israeli-start-up-Soos-tackles-culling-of-male-chicks-650864E/ 

ภาพที่ ๑  เทคโนโลยีของ Soos ใช้เซลล์อะคูสติกตรวจวัดเสียงภายในตู้บ่ม แล้วแปลงเพศตัวอ่อนโดยการกระตุ้นด้วยความสั่นสะเทือนจากเสียง และการปรับสิ่งแวดล้อมในตู้ฟัก (แหล่งภาพ Jordan Kastrinsky, Soos )



วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

คน Gen Z ไม่ไว้ใจเนื้อเทียม

ผู้บริโภครุ่นใหม่ห่วงใยกับสินค้าเนื้อสัตว์แปรรูปอย่างยิ่งยวด ร้อยละ ๗๒ ของคนรุ่นใหม่ชาว GenZ ที่มีอายุระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ถึง ๒๕๕๘ และมีความเชื่อว่า ผู้ประกอบการเองยังไม่พร้อมที่จะเพาะเลี้ยงเนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเชิงพาณิชย์ได้ ผู้บริโภคเหล่านี้เป็นกลุ่มที่มีความใส่ใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

คนรุ่นใหม่เจนเนอเรชัน แซด (Generation Z) ที่คุ้นเคยกับคำว่าเจนแซดมากกว่า เป็นกลุ่มคนที่คลั่งไคล้กับเทคโนโลยี เกิดมาพร้อมกับคาบมือถือ ไอแพด และอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ไว้ตลอดเวลา โลกนี้ควบคุมทุกอย่างได้ไว้ในมือแล้วตั้งแต่ปากท้อง ความบันเทิง การเดินทาง และการเรียนจนแทบไม่ต้องขยับกายไปพบกับใคร ชีวิตนี้อยู่ในอ้อมกอดอันอบอุ่นของเทคโนโลยีใหม่ แม้กระทั่ง เทคโนโลยีด้านอาหาร แต่พวกเขาก็มีความคิดเป็นของตนเอง ชื่นชมสวัสดิภาพสัตว์ และห่วงใยสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ได้สร้างรอยแรกระหว่างเจนแซดออกจากเจนอื่นๆ 

ผลวิจัยเชิงสำรวจที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ และเคอร์ทิน สุ่มจากชาวออสเตรเลีย ๒๒๗ คนในวัยเจนแซด เกี่ยวกับรสนิยมการบริโภคอาหาร พวกเขารู้สึกอย่างไรกับเนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเนื้อสัตว์ทางเลือกประเภทอื่นๆ 

เนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นเนื้อที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เซลล์จากสัตว์ที่เพาะไว้ในห้องปฏิบัติการ คำโฆษณาจูงใจว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นผลดีต่อสุขภาพ และสร้างความยั่งยืนมากกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ 

ผลการวิจัย ยังพบอีกว่า

• ร้อยละ ๔๐ เชื่อว่า เนื้อเทียมสามารถให้คุณค่าทางอาหารได้จริงๆ

• มากกว่าน้อยละ ๕๙ ห่วงใยผลกระทบของสิ่งแวดล้อมจากการเกษตรกรรมที่ปฏิบัติกันในปัจจุบัน อย่างรก็ตาม ยังคงสับสนว่า จะส่งผลกระทบอย่างไรได้บ้าง

• ร้อยละ ๑๗ ปฏิเสธเนื้อเทียม รวมถึง เนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ โดยเห็นว่า กระบวนการผลิตใช้สารเคมีที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอนอย่างซับซ้อน

• ผู้บริโภคเห็นว่า เนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ ยิ่งต้องใช้ทรัพยากรมาก และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

• ร้อยละ ๑๑ ปฏิเสธว่าเนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการไม่ได้ช่วยเพิ่มการบริโภคผลไม้ และผัก และจะยังคงรับประทานอาหารผักดีกว่า

• ร้อยละ ๓๕ ปฏิเสธทั้งเนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ และแมลง แต่ยอมรับเนื้อเทียมที่ผลิตจากผัก โดยคิดว่า รู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่า และปรกติมากกว่า

• ร้อยละ ๒๘ เชื่อว่า เนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ ยอมรับได้

การทำให้เนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางกว่านี้อาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก เจนแซด ยังไม่ยินดีที่จะทดลอง เจนแซดยังชื่นชอบวีแกน มังสะวิรัติ หรือรับประทานเนื้อสัตว์ปรกติที่มีคุณภาพสูงมากกว่า หากพวกเขาอยากลดการบริโภคเนื้อแล้ว ก็จะเลือกรับประทานผลไม้ และผักมากกว่าจะเลือกเนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ ผู้บริโภคเจนแซด และมิลเลเนียมจะยังคงรับประทานเนื้อปรกติ แต่จะพยายามลดให้น้อยละ   

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2020. Gen Z is skeptical about cultured meat sustainability claims [Internet]. [Cited 2020 Sep 16]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/41159-gen-z-is-skeptical-about-cultured-meat-sustainability-claims 

ภาพที่ ๑  ผู้บริโภครุ่นใหม่ห่วงใยกับสินค้าเนื้อสัตว์แปรรูปอย่างยิ่งยวด (แหล่งภาพ ra2studio | BigStock.com)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...