วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

คน Gen Z ไม่ไว้ใจเนื้อเทียม

ผู้บริโภครุ่นใหม่ห่วงใยกับสินค้าเนื้อสัตว์แปรรูปอย่างยิ่งยวด ร้อยละ ๗๒ ของคนรุ่นใหม่ชาว GenZ ที่มีอายุระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ถึง ๒๕๕๘ และมีความเชื่อว่า ผู้ประกอบการเองยังไม่พร้อมที่จะเพาะเลี้ยงเนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเชิงพาณิชย์ได้ ผู้บริโภคเหล่านี้เป็นกลุ่มที่มีความใส่ใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

คนรุ่นใหม่เจนเนอเรชัน แซด (Generation Z) ที่คุ้นเคยกับคำว่าเจนแซดมากกว่า เป็นกลุ่มคนที่คลั่งไคล้กับเทคโนโลยี เกิดมาพร้อมกับคาบมือถือ ไอแพด และอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ไว้ตลอดเวลา โลกนี้ควบคุมทุกอย่างได้ไว้ในมือแล้วตั้งแต่ปากท้อง ความบันเทิง การเดินทาง และการเรียนจนแทบไม่ต้องขยับกายไปพบกับใคร ชีวิตนี้อยู่ในอ้อมกอดอันอบอุ่นของเทคโนโลยีใหม่ แม้กระทั่ง เทคโนโลยีด้านอาหาร แต่พวกเขาก็มีความคิดเป็นของตนเอง ชื่นชมสวัสดิภาพสัตว์ และห่วงใยสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ได้สร้างรอยแรกระหว่างเจนแซดออกจากเจนอื่นๆ 

ผลวิจัยเชิงสำรวจที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ และเคอร์ทิน สุ่มจากชาวออสเตรเลีย ๒๒๗ คนในวัยเจนแซด เกี่ยวกับรสนิยมการบริโภคอาหาร พวกเขารู้สึกอย่างไรกับเนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเนื้อสัตว์ทางเลือกประเภทอื่นๆ 

เนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นเนื้อที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เซลล์จากสัตว์ที่เพาะไว้ในห้องปฏิบัติการ คำโฆษณาจูงใจว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นผลดีต่อสุขภาพ และสร้างความยั่งยืนมากกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ 

ผลการวิจัย ยังพบอีกว่า

• ร้อยละ ๔๐ เชื่อว่า เนื้อเทียมสามารถให้คุณค่าทางอาหารได้จริงๆ

• มากกว่าน้อยละ ๕๙ ห่วงใยผลกระทบของสิ่งแวดล้อมจากการเกษตรกรรมที่ปฏิบัติกันในปัจจุบัน อย่างรก็ตาม ยังคงสับสนว่า จะส่งผลกระทบอย่างไรได้บ้าง

• ร้อยละ ๑๗ ปฏิเสธเนื้อเทียม รวมถึง เนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ โดยเห็นว่า กระบวนการผลิตใช้สารเคมีที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอนอย่างซับซ้อน

• ผู้บริโภคเห็นว่า เนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ ยิ่งต้องใช้ทรัพยากรมาก และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

• ร้อยละ ๑๑ ปฏิเสธว่าเนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการไม่ได้ช่วยเพิ่มการบริโภคผลไม้ และผัก และจะยังคงรับประทานอาหารผักดีกว่า

• ร้อยละ ๓๕ ปฏิเสธทั้งเนื้อเทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ และแมลง แต่ยอมรับเนื้อเทียมที่ผลิตจากผัก โดยคิดว่า รู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่า และปรกติมากกว่า

• ร้อยละ ๒๘ เชื่อว่า เนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ ยอมรับได้

การทำให้เนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางกว่านี้อาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก เจนแซด ยังไม่ยินดีที่จะทดลอง เจนแซดยังชื่นชอบวีแกน มังสะวิรัติ หรือรับประทานเนื้อสัตว์ปรกติที่มีคุณภาพสูงมากกว่า หากพวกเขาอยากลดการบริโภคเนื้อแล้ว ก็จะเลือกรับประทานผลไม้ และผักมากกว่าจะเลือกเนื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ ผู้บริโภคเจนแซด และมิลเลเนียมจะยังคงรับประทานเนื้อปรกติ แต่จะพยายามลดให้น้อยละ   

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2020. Gen Z is skeptical about cultured meat sustainability claims [Internet]. [Cited 2020 Sep 16]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/41159-gen-z-is-skeptical-about-cultured-meat-sustainability-claims 

ภาพที่ ๑  ผู้บริโภครุ่นใหม่ห่วงใยกับสินค้าเนื้อสัตว์แปรรูปอย่างยิ่งยวด (แหล่งภาพ ra2studio | BigStock.com)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...