วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

นีโอเจนเปิดตัวสินค้าใหม่ ชุดตรวจสอบ แรคโตพามีน

ภายหลังการอภิปรายระหว่างชาติเรื่องการใช้สารเติมอาหารสัตว์แรคโตพามีน นีโอเจน คอร์ปอเรชันจึงเปิดตัวสินค้าใหม่สำหรับการตรวจสอบแรคโตพามีนในตัวอย่างเนื้อสัตว์ และอาหารสัตว์
                สารแรกตาพามีนเป็นยากลุ่มเบต้า อโกนิสต์ที่ผสมในอาหารสัตว์ เพื่อส่งเสริมการผลิตกล้ามเนื้อไขมันน้อย ขณะที่หลายประเทศอนุญาตให้ใช้แรคโตพามีนในระดับควบคุม รวมถึง สหรัฐอเมริกา แต่อีกหลายประเทศก็ห้ามเนื้อสัตว์ที่มีสารตกค้างของยาชนิดนี้ ได้แก่ สหภาพยุโรป รัสเซีย และจีน
                ชุดทดสอบสำเร็จรูปสำหรับการตรวจสอบสารแรคโตพามีนอาศัยเทคนิค Lateral Flow Device (LFD) เพื่อตรวจคัดกรองตัวอย่างเนื้อวัว และสุกร และตัวอย่างอาหารจากสุกร และไก่งวงว่ามีการปรากฏของสารแรคโตพามีนหรือไม่ เป็นวิธีการทดสอบที่ใช้ง่าย ใช้ขั้นตอนเดียวไม่ซับซ้อน โดยสามารถตรวจสอบได้จากเนื้อสุกรได้ที่ระดับ 2.5 ppb เนื้อวัว 1 ppb และอาหารสุกร และไก่งวงที่ระดับ 0.5-4 ppm ขณะที่ สหรัฐฯกำหนดระดับสารตกค้างไว้สูงที่สุด (MRL) ที่ 30 ppb สำหรับเนื้อวัว และ 50 ppb สำหรับเนื้อสุกร ขณะที่ Codex Alimentarius ผู้กำหนดมาตรฐานอาหารระหว่างชาติ กำหนดเนื้อวัว และเนื้อสุกรไว้ที่ 10 ppb  ปัจจุบัน ประเทศจีนได้ยกเลิกการนำสินค้าเนื้อจากสหรัฐฯตามรัสเซียไปแล้ว ดังนั้น จึงร้องขอเอกสารรับรองว่า ผลิตภัณฑ์นั้นปลอดจากสารแรคตาพามีน ขณะที่ มุมมองของสหรัฐฯกลับเห็นว่า ข้อจำกัดใหม่นี้เป็นกำแพงการค้าที่ไม่จำเป็น การตลาดเนื้อสัตว์ในสหรัฐฯที่มีการสั่งห้ามการตกค้างของสารแรคตาพามีนมีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี บริษัทต่างๆจำเป็นต้องแสวงหาทางเลือกอื่นๆเพื่อให้สอดรับกับกฏระเบียบใหม่นี้ และเพื่อให้มั่นใจว่า มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับกฏระเบียบใหม่นี้ ตัวอย่างเนื้อสัตว์ควรมีการตรวจคัดกรองสารตกค้างแรคโตพามีน นอกเหนือจากนั้น ผู้ผลิตอาหารสัตว์ยังสามารถใช้วิธีการทดสอบคัดกรองอย่างง่าย เพื่อสร้างความมั่นในในกระบวนการผลิตว่าสามารถจัดการทำความสะอาด และป้องกันการปนเปื้อนได้ หากจำเป็นต้องผลิตอาหารที่ใช้แรคโตพามีน และอาหารที่ปราศจากแรคโตพามีน
แหล่งข้อมูล          AllAboutFeed (25/3/13)   

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

Japfa ระดมทุนขยายธุรกิจในอินโดนีเซีย

ผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ในอินโดนีเซียนาม Japfa Comfeed Indonesia (JPFEA) เร่งลงทุนมูลค่ากว่า 102 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีเป้าหมายให้รายได้ และกำไรเพิ่มสูงขึ้น ๑๕ เปอร์เซ็นต์ 
                สื่อท้องถิ่น หนังสือพิมพ์จาร์กาตาโพสต์ บริษัทกำลังมองหาแหล่งเงินกู้ เมื่อปีที่ผ่านมาคือ กองทุน Capex funds แม้ว่า บริษัท กำลังพิจารณาถึงแหล่งเงินกู้สำหรับการลงทุน แต่สัดส่วนของเงินกู้ และการใช้เงินสดจะอยู่ที่ ๕๐ ต่อ ๕๐ มากกว่า ตามความเห็นของรองผู้จัดการใหญ่อาวุโสของ Japfa สำหรับแผนการลงทุนของบริษัทจะทุ่มลงไปที่ธุรกิจัตว์ปีกจากสัดส่วนราว ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของผลประกอบการบริษัท ปัจจุบัน บริษัทดำเนินธุรกิจโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และฟาร์มสำหรับการผลิตลูกไก่
               บริษัท Japfa มีเป้าหมายเพิ่มรายได้ และกำไรขึ้นอีก ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกจะยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เพราะความต้องการสัตว์ปีกยังคงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
 แหล่งข้อมูล         World Poultry (25/3/13)

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ดัทช์ทำลายไก่หวัดนก

โรคไข้หวัดนกชนิดอ่อนแรงมีรายงานในฟาร์มสัตว์ปีก จังหวัด Flevoland ประเทศเนเธอร์แลนด์
                จำนวนแม่ไก่ในฟาร์มทั้งหมด ๒๔,๐๐๐ ตัว ถูกทำลาย และห้ามการเคลื่อนย้ายไข่ และมูลสัตว์ปีกในรัศมี ๑ กิโลเมตรรอบฟาร์มใน Zeewolde อย่างไรก็ตาม ไม่มีฟาร์มสัตว์ปีกชนิดอื่นๆในพื้นที่
                สัปดาห์ที่แล้ว โรคไข้หวัดนกชนิดอ่อนแรงถูกพบในฟาร์มสัตว์ปีกใน East ofhte coutry ใน Gelderland ตามข้อกำหนดของ OIE การระบาดครั้งล่าสุดนี้ มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสสับไทป์ H7N7 ชนิดความรุนแรงต่ำ เช่นเดียวกับที่เคยมีการรายงานมาแล้วก่อนหน้านี้ อนึ่ง การระบาดครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ.๒๐๑๑   
แหล่งข้อมูล          World Poultry (25/3/13)

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิจัยฟาร์มต้นแบบปลอดซัลโมเนลลา

นักวิจัยในสหรัฐฯกำลังศึกษาวิจัยการผลิตสัตว์ปีกที่ปลอดเชื้อซัลโมเนลลา โดยการจัดการเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของไก่
นักวิจัย Assoc. Prof. Matthew Koci ภาควิชาสัตว์ปีกที่ NC State University กำลังพยายามหาองค์ประกอบระดับจุลภาคในทางเดินอาหารของไก่ที่อาจช่วยกำจัดเชื้อซัลโมเนลลาออกจากร่างกาย และส่งเสริมให้เชื้อแบคทีเรียที่ดีเพิ่มจำนวนต่อไป คณะผู้วิจัยกำลังเฝ้าติดตามเชื้อโรคในลำไส้ไก่ที่สามารถขับไล่เชื้อซัลโมเนลลา และลดความเสี่ยงที่จะเป็นพาหะนำโรคจากอาหาร
                วัคซีนก็กำลังนิยมใช้สำหรับหยุดยั้งเชื้อซัลโมเนลลาในไก่ แต่ยังคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน ผู้วิจัยหวังว่าจะได้เรียนรู้ว่า จุลชีพที่พัฒนาขึ้นมาจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีน หรือแม้กระทั่งทำให้วัคซีนไม่จำเป็นต้องใช้อีกเลย นักวิทยาศาสตร์ยังจะศึกษาว่าทำไมไก่จึงมีเชื้อซัลโมเนลลาในกระเพาะอาหาร โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของตนเองเลย   
 แหล่งข้อมูล         World Poultry (5/3/13)

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

หมดยุคการทำให้ไก่สลบในอ่างน้ำผ่านกระแสไฟฟ้า

การทำให้ไก่สลบโดยกระแสไฟฟ้าในอ่างน้ำ เป็นสาเหตุของปัญหามากมาย ภายหลัง OIE ตัดสินใจทบทวนมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจว่า กระแสไฟฟ้าสำหรับการช๊อตไก่เหมาะสม แต่ประสบการณ์ในยุโรป ได้กำหนดมาตรฐานเหล่านี้ไว้อยู่แล้ว ตัวอย่างปัญหาจากการทำให้ไก่สลบด้วยไฟฟ้า ได้แก่ กระดูกหัก ซากเสียหาย จุดเลือดออก เนื่องจาก การหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ สันใน (Fillet)  
                ขณะนี้ สภาสัตว์ปีกนานาชาติ (International Poultry Council) ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของ OIE เกี่ยวกับการทำให้ไก่สลบในอ่างน้ำผ่านกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะ ปัจจุบัน ผู้นำเข้าจากกลุ่มยุโรปกำลังทบทวนข้อกำหนดให้มีการทำให้สัตว์สลบด้วยกระแสไฟฟ้าสูงสำหรับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก ยกตัวอย่างเช่น การส่งออกไปยังยุโรป ต้องมีทำให้สัตว์สลบด้วยกระแสไฟฟ้าสูง และโรงงานแปรรูปทั่วโลก ควรยอมรับความเสียหาย หรือหาวิธีทางเลือกอื่นๆสำหรับการทำให้สัตว์สลบ
                ในการประชุม IPC ที่กรุงเทพฯ OIE จะได้มีการทบทวนมาตรฐานการทำให้ไก่สลบ อย่างไรก็ตาม ความเห็นของประธานบริษัท NEPLUVI โรงงานแปรรูปสัตว์ปีกในเนเธอร์แลนด์อ้างว่า ในเนเธอร์แลนด์ มีการลงทุนอย่างมากสำหรับวิธีการทำให้ไก่สลบ เช่น การใช้แก๊ส ภายหลังมีการนำกฏระเบียบนี้กำหนดไว้ในมาตรฐาน OIE และจะไม่เปลี่ยนกลับไปใช้ระบบเดิมที่ใช้กระแสไฟฟ้าต่ำอีกต่อไป
แหล่งข้อมูล          Fabian Brockotter (14/3/13)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...