วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

อังกฤษอัพเกรดระเบียบสุขภาพ อาหาร และความปลอดภัย


นับตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคมเป็นต้นไป ธุรกิจในสหราชอาณาจักรต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฏระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยโรคสัตว์ และพืช รวมถึง ความปลอดภัยอาหาร
ไม่ว่าผลของการเลือกตั้งทั่วไปที่จะจัดขึ้นสัปดาห์นี้จะเป็นอย่างไร และผลของการตัดสินใจออกจากอียู หรือเบร็กซิตจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่ธุรกิจในสหราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฏระเบียบล่าสุดว่าด้วยโรคสัตว์ และพืช โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคมนี้เป็นต้นไป ให้สอดคล้องกับเดฟรา (Defra, Department for the Environoment, Food and Rural Affairs)
สหราชอาณาจักรจะเริ่มปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วย "กฎสมาร์ทกว่า เพื่อความปลอดภัยอาหารที่ดีขึ้น (Smarter rules for safer food regulation, SRSF)" ที่เสนอไว้โดยคณะกรรมมาธิการยุโรปในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘
ภายใต้กฎระเบียบดังกล่าว มาตรฐานด้านสุขภาพ และความปลอดภัยในห่วงโซ่อาหารจะถูกปรับให้ทันสมัย ง่าย และดีขึ้น โดยอาศัยการจัดการความเสี่ยง เพื่อคุ้มครองสัตว์ พืช และสุขภาพอนามัยของมนุษย์
อ้างตามเดฟรา
กฏระเบียบใหม่นี้จะเริ่มใช้ในสหราชอาณาจักร ขณะที่ ยังคงเป็นสมาชิกของอียู และช่วงเปลี่ยนผ่าน แม้ว่า สหราชอาณาจักรจะออกจากอียูโดยไม่มีข้อตกลงทางการค้า กฏระเบียบนี้จะยังคงยึดปฏิบัติภายใต้กฎหมายการถอนตัวจากอียู (Withdrawal Act)
ธุรกิจที่จะได้รับผลจากกฎระเบียบ SRSF
กฎระเบียบ SRSF จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานในธุรกิจสำคัญ ๒ ส่วน
กฏระเบียบการควบคุมอย่างเป็นทางการ (Official Controls Regulation, OCR EU 2017/625) จะถูกบังคับใช้บริษัทที่ค้าขายเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (POAO) ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายพืช เมล็ดพันธุ์ และไม้ และผลิตภัณฑ์จากพืชจะถูกบังคับใช้โดยกฏระเบียบด้านสุขภาพพืชฉบับใหม่ (Plant Health Regulation, PHR EU 2016/2031)
เดฟรารายงานว่าได้ติดต่อกับผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้ว
ผลกระทบต่อธุรกิจ
 สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ จำเป็นต้องใช้ระบบไอทีที่ได้รับการรับรอง TRACES (NT) เพื่อบันทึกข้อมูลการนำเข้าจากนอกอียู รูปแบบการนำเข้าจะแตกต่างจากเดิม
ธุรกิจที่เกี่ยวกับพืช เมล็ดพันธุ์ และไม้ จำเป็นต้องใช้พาสปอร์ตพืชมากขึ้น นอกจากนั้น เนื้อหา และรูปแบบของพาสปอร์ตจะถูกปรับเปลี่ยนไป
หากไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ SRSF regulations จะไม่สามารถนำเข้า หรือส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้
 อ้างอิงตามเดฟราแล้ว กฎระเบียบชุดที่ ๓ กฏระเบียบว่าด้วยสุขภาพสัตว์ (Aninal Health Regulation, EU 2016/429) จะเริ่มต้นในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อจัดโครงสร้างการทำงานใหม่สำหรับหลักสุขภาพสัตว์ของยุโรป
กฏระเบียบสำหรับผู้ผลิตอาหารสัตว์อียู   
การลดยาปฏิชีวนะ เลิกใช้ซิงค์ออกไซด์ เพิ่มสุขอนามัยอาหารสัตว์ การผสมยากันบิด และการปลดปล่อยแอมโมเนียจะเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองในกฏระเบียบว่าด้วยสุขภาพสัตว์ดังกล่าว ที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตอาหารสัตว์อียู
ในปีนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ยุโรป (European Feed Manufacturers' Association, FEFAC) ตีพิมพ์แนวทางสำหรับสมาชิกในการพัฒนาแผนระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
เอกสารอ้างอิง
ภาพที่ ๑ ธุรกิจในสหราชอาณาจักรต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฏระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยโรคสัตว์ และพืช รวมถึง ความปลอดภัยอาหาร (แหล่งภาพ Photo by Andrea Gantz)


วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562

แมคโดนัลด์ เปิดสงครามแซนวิชไก่


แมคโดนัลด์ เปิดจำหน่ายแซนวิชไก่กรอบ และแซนวิชไก่ดีลักซ์ แบบลิมิเต็ด เอ็ดดิชัน แค่สองแห่งในสหรัฐฯเท่านั้น
เชนบริการร้านอาหาร แมคโดนัลด์ เริ่มจำหน่ายแซนด์วิชไก่ทอดใหม่สองชนิด โดยประกาศทดลองขายสินค้าในเมือง Knoxville รัฐเทนเนสซี และเมืองฮูสตัน รัฐเท็กซัส
การตลาดแบบไวรัลช่วยให้แซนวิชไก่ทอดกลายเป็นวัฒนธรรมการบริโภคคนรุ่นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ คู่แข่งผู้ให้บริการร้านอาหารจานด่วน ป๊อปอาย และชิก-ฟิล-เอ กำลังทำสงครามไก่ทอดเมนูพิเศษที่ถูกขนานนามว่า สงครามแซนด์วิชไก่ (Chicken sandwich wars) โดยทั้งสองรายหวังเพิ่มยอดขาย 
ลำดับความสำคัญสินค้า
แมคโดนัลด์ได้ซุ่มพัฒนาแซนด์วิชไก่ทอดชนิดใหม่หลายเดือนแล้ว เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริหารแฟรนไชส์ ให้นโยบายจัดลำดับความสำคัญสูงที่สุดกับสินค้าแซนด์วิชไก่ที่แมคโดนัลด์ต้องรีบเร่งขับดันเพื่อดึงลูกค้ากลับมามากขึ้น และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันโดยด่วน
การตัดสินใจของแมคโดนัลด์เข้าร่วมสงครามแซนด์วิชไก่ทอดมีโอกาสชนะได้สดใส โดยแซนด์วิชไก่ทอด (Crispy chicken sandwich) เป็นไก่ทอดที่ราดด้วยเนย และแตงกวาดอง ขณะที่ แซนด์วิชไก่ดีลักซ์ (Deluxe chicken sandwich) ประกอบด้วย มะเขือเทศ ผักกาด แซนด์วิชทั้งสองเมนูจะเสิร์ฟกับมันฝรั่ง การตั้งราคาเมนูไว้ที่ ๑๐๕.๗๕ บาท และ ๑๒๔ บาท
สันในไก่ที่ใช้สำหรับแซนด์วิชทั้งสองชนิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของแมคโดนัลด์ แตกต่างจากแซนด์วิชใหม่จากแมคชิคเก้น และแซนด์วิชไก่กรอบราดบัตเตอร์มิลค์ (buttermilk crispy chicken sandwiches) ที่จำหน่ายทั่วไปในร้านแมคโดนัลด์
การวางจำหน่ายแซนด์วิชใหม่ทั้งสองเมนูได้ทดลองวางตลาดแล้วตั้งแต่วันที่ ๒ ธันวาคมที่ผ่านมา จนถึง ๒๖ มกราคมปีหน้า
เมือง น็อกซ์วิลล์ และเมืองฮูสตัน กำลังถูกจับตามอง ทุกคนยังจับตามองว่ายังจะมีอะไรใหม่อีกในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้
การเปิดตัวแซนด์วิชใหม่ของแมคโดนัลด์เป็นความพยายามครั้งที่สองที่จะเข้าสู่ตลาดแซนด์วิชไก่ทอด ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แมคโดนัลด์เคยทดลองแซนด์วิชไก่อัลติเมต (Ultimate chicken sandwich) จำหน่ายในร้าน ๑๖๐ แห่งทั่วรัฐวอชิงตัน แมคโดนัลด์เป็นเชนอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในสหรัฐฯ โดยมียอดจำขายมากกว่า ๑.๑ ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ 

เอกสารอ้างอิง

ภาพที่ ๑ แซนด์วิชไก่อัลติเมต (Ultimate chicken sandwich) จำหน่ายในร้าน ๑๖๐ แห่งทั่วรัฐวอชิงตัน แมคโดนัลด์ (แหล่งภาพ: แมคโดนัลด์) 










วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

อียูหยุดเนื้อไก่เลี่ยงภาษีจากยูเครน


สภายุโรปกำหนดมาตรการเข้มหยุดคลื่นเนื้อไก่ราคาถูกที่ไหลทะลักจากยูเครนเข้าสู่ตลาดยุโรปผ่านช่องว่างทางกฎหมายแล้ว 
ยูเครนได้รับอนุญาตให้ส่งออกสันในอกไก่มากกว่า ๕๐,๐๐๐ ตัน โดยได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีเข้าสู่สหภาพยุโรป เนื้อสันในอกไก่ที่ติดชิ้นส่วนของกระดูก และผิวหนัง เคยถูกใช้เป็นช่องว่างทางกฎหมายเพื่อสวมโควตานี้ได้โดยไม่จำกัดปริมาณ และไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่จากนี้ไปจะไม่สามารถนำเข้าสู่สหภาพยูโรปได้อีกต่อไป
ช่องว่างทางกฏหมาย
สภายุโรปได้นำเสนอมาตรการเพื่อหยุดคลื่นเนื้อไก่ราคาถูกจากยูเครนที่ทะลักเข้าสู่ตลาดยุโรปผ่านช่องว่างทางกฎหมาย ยูเครนเลี่ยงภาษีโดยการส่งออกชิ้นส่วนอกไก่ตัดแต่งพิเศษให้ติดกระดูก
การตัดชิ้นส่วนสันในไก่ด้วยวิธีพิเศษให้ติดปีก และผิวหนังไว้ ทำให้ยูเครนสามารถใช้ช่องว่างทางกฏหมายในการส่งสันในไก่เข้าสู่สหภาพยุโรปเป็นกิโลกรัมเพิ่มมากขึ้นมากกว่า ๒๐,๐๐๐ ตันตามข้อตกลงในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ สันในไก่ที่ติดปีกสามารถนำเข้าสู่สหภาพยุโรปได้โดยไม่มีข้อจำกัด ภายหลัง เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสมาชิกหนึ่งในสหภาพยุโรปส่งสัญญาณเตือนให้กับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้วก็จะอยู่ในชั้นของการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลเคียฟเพื่อปรับข้อตกลงดังกล่าว จากนี้เป็นต้นไป เมื่อปริมาณสันในไก่จากยูเครนที่ได้รับโควต้ายกเว้นภาษีชนเพดานเมื่อไร ยูเครนก็จะต้องจ่ายภาษีสำหรับการส่งออกสินค้าส่วนที่เกินจากโควตาขึ้นไป
ล่าสุดยุโรปโวตให้หยุดไก่เลี่ยงภาษีไก่ยูเครน
สภายุโรปลงคะแนนเสียงเห็นชอบกับมาตรการหยุดการอาศัยช่องว่างทางกฏหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกยูเครนฉวยโอกาสส่งออกเนื้ออกเข้าสู่สหภาพยุโรปโดยไม่จำกัดปริมาณ โดย ๔๔๔ เสียงลงคะแนนเห็นชอบ และ ๑๒๘ เสียงคัดค้าน และไม่แสดงความเห็น ๗๔ เสียง
ภายหลังเนื้อสัตว์ปีกจากยูเครนส่งออกทะยายสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ๑๕ เท่าตัวภายในระยะเวลาเพียงสามปีระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึง ๒๕๖๑ เป็น ๕๕,๐๐๐ เมตริกตัน
การแก้ไขกฏหมายนี้เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในสหภาพยุโรปจากการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกโดยไม่จำกัดปริมาณ ในอนาคต ยูเครนควรให้ความเคารพ และมีความจริงใจต่อความสัมพันธ์ร่วมกันกับสหภาพยุโรป ขณะที่ สหภาพยุโรปก็พยายามปิดช่องโหว่ทางกฎหมายทุกวิถีทาง ความจริงแล้ว ผู้ประกอบการยูเครนควรยึดถือปฏิบัติตามข้อตกลงทางการค้าอย่างครบถ้วน รวมถึง กฏระเบียบว่าด้วยสุขอนามัยอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
Brockotter F. 2019. Ukrainian export loophole closed. [Internet]. [Cited 2019 Nov 27]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/11/Ukrainian-export-loophole-closed-505665E
Davies J. 2019. Europe votes to close poultry loophole. [Internet]. [Cited 2019 Nov 29]. Available from:
ภาพที่ ๑ สภายุโรปกำหนดมาตรการเข้มหยุดคลื่นเนื้อไก่ราคาถูกที่ไหลทะลักจากยูเครนเข้าสู่ตลาดยุโรป (แหล่งภาพ Fabian Brockotter)


Gen Z เลือกอาหารจากนวัตกรรมใหม่


กลุ่มผู้ซื้อใหม่ที่มีอิทธิพลในตลาดจะส่งผลต่ออนาคตของอาหารทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่าย
สมาชิกของคนรุ่นใหม่เจนแซดที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๓ กำลังกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่ส่งผลต่อเทคโนโลยีการผลิตอาหารในอนาคตมากกว่าคนรุ่นเก่า เช่น เนื้อทางเลือกใหม่ที่กำลังโด่งดัง
คนรุ่นเก่าที่สุดในเจนแซดสำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัย และเริ่มต้นทำงานแล้ว หมายความว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคกลุ่มนี้กำลังมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนตลาดเนื้อสัตว์อย่างมาก
คนเจนแซดมากกว่าร้อยละ ๗๕ พยายามแสวงหาอาหารที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ และร้อยละ ๗๑ ยอมรับอาหารที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการผลิต
เปรียบเทียบกับคนยุคมิลลิเนียมที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เพียงร้อยละ ๖๗ ที่เปิดใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่สำหรับอาหาร และมีเพียงร้อยละ ๕๖ เท่านั้นที่ยอมรับอาหารทางเลือกใหม่
สำหรับคนรุ่นเจนเอ็กซ์ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และเบบี้บูเมอร์ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึง ๒๕๐๗ ไม่ค่อยยอมรับเทคโนโลยีการผลิตอาหารใหม่ๆ ร้อยละ ๕๑ และ ๕๘ ตามลำดับ
ตารางที่ ๑ สรุปผลการสำรวจพฤติกรรมการยอมรับสินค้าอาหารนวัตกรรมใหม่ของคนรุ่นต่างๆ โดยคนทั้งสองรุ่นให้ความสนใจแสวงหาอาหารที่มีที่มาจากการใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ ๖๗ และ ๕๘ ตามลำดับ
คนรุ่น
ช่วงเวลาที่เกิด
สัดส่วนการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตอาหารใหม่
เบบีบูม
พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึง ๒๕๐๗
ร้อยละ ๕๘
เจนเอ็กซ์
พ.ศ. ๒๕๐๘ ถึง ๒๕๒๒
ร้อยละ ๕๑
เจนวาย หรือยุคมิลลิเนียม
พ.ศ. ๒๔๒๓ ถึง ๒๕๓๗
ร้อยละ ๕๖
เจนแซด
พ.ศ. ๒๕๓๘ ขึ้นไป
ร้อยละ ๗๑

เนื้อสัตว์ทางเลือกใหม่
เนื้ออัลเตอร์เนทีฟ หรือเนื้อเทียมที่กำลังได้รับความสนใจมากจากคนรุ่นใหม่เป็นเนื้อสัตว์ที่เตรียมมาจากพืช นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ยอดจำหน่ายเนื้อสัตว์ทางเลือกใหม่อาจเพิ่มสูงถึง ๔.๒ ล้านล้านบาทภายในปี พ.ศ. ๒๕๘๓ หรืออีกยี่สิบปีข้างหน้า
การลงทุนของบริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์ทางเลือกใหม่โดยใช้พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และสูงทำลายสถิติในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้เอง การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเป็นเนื้อทางเลือกใหม่จากพืชกลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการเป็นส่วนใหญ่ ตามกระแสความนิยมลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และเพิ่มการบริโภคอาหารที่มาจากพืช

อีแวนเจลลิสด้านอาหาร
คนรุ่นใหม่เจนแซด และยุคมิลลิเนียมทั้งหลาย ชื่นชมอีแวนเจลลิสด้านอาหาร (Food eVangelists) เป็นกลุ่มผู้ทรงอิทธิพลในการสร้างกระแสทางเลือกอาหารทั้งอาหารทางเลือกใหม่ การบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่าย
อีแวนเจลลิสด้านอาหารเป็นผู้ทรงอิทธิพล ไม่เพียงต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า แต่ยังมีอิทธิพลต่อความคิดของคนรุ่นใหม่อีกด้วย ผู้ประกอบการบางรายได้ใช้เทคโนโลยีด้านวิธีไบโอเมทริก เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น อัตราการเต้นหัวใจ การแสดงออกของสีหน้า และการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า ควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสำรวจการศึกษาข้อมูลอีกด้วย  

เอกสารอ้างอิง

ภาพที่ ๑ กลุ่มผู้ซื้อใหม่ที่มีอิทธิพลในตลาดจะส่งผลต่ออนาคตของอาหารทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่าย (แหล่งภาพ Martinan | iStockPhoto.com)


วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การนำเข้า และตลาดภายในแอฟริกาใต้


การนำเข้าเนื้อไก่จากแอฟริกาใต้ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ ตลาดภายในประเทศได้รับผลกระทบจากราคาต้นทุนอาหารสัตว์สูง ขณะเดียวกัน รัฐบาลแอฟริกาใต้ยังคงประเมินข้อเรียกร้องของสมาคมสัตว์ปีกในแอฟริกาใต้ให้ตั้งกำแพงภาษีจากร้อยละ ๑๒ ถึง ๓๗ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘๒

ภายหลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก ผสมกับการระบาดของโรคไข้หวัดนก สับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘ และความวิตกกังวลต่อปัญหาโรคอาหารเป็นพิษจากลิสเทอริโอซิส อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เพิ่มการผลิตขึ้นร้อยละ ๖ จนมีไก่เนื้อเข้าเชือด ๙๘๓ ล้านตัวต่อปี ตามรายงานของ USDA-GAIN

ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศ

อุตสาหกรรมไก่เนื้อเป็นภาคเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงราว ๙ หมื่นล้านบาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมดราวร้อยละ ๑๗ ของผลิตภัณฑ์การเกษตรกรรม การผลิตไก่เนื้อเชิงพาณิชย์มีสัดส่วนร้อยละ ๙๐ของอุตสาหกรรมเนื้อไก่ ที่เหลืออีกร้อยละ ๑๐ เป็นการเลี้ยงของชาวบ้าน จากจำนวนไก่ ๙๘๓ ล้านตัว ผลิตเป็นเนื้อไก่ได้ราว ๑.๒๗ ล้านตัน ไม่รวมเครื่องใน หากรวมการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านไปด้วยก็จะมีปริมาณราว ๑.๔๑ ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ จากปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สำหรับปีนี้ การผลิตเนื้อไก่ลดลงราวร้อยละ ๑ เหลือ ๑.๔๐ ล้านตัน  

ต้นทุนอาหารสัตว์ร้อยละ ๗๐ ของการผลิตไก่เนื้อ จำกัดความต้องการผู้บริโภค และการส่งออกที่ลดลงสร้างแรงกดดันต่อราคาของผู้ผลิตเนื้อไก่ ส่งผลให้ผู้ผลิตไก่เนื้อเชื่อว่าจะลดการผลิตลงเหลือ ๙๗๐ ล้านตัวในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ และในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การผลิตเนื้อไก่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒ เป็น ๑.๔๒ ล้านตัน ภายใต้สมมติฐานว่าสภาวะอากาศเป็นปรกติ 

การบริโภคเนื้อไก่ในแอฟริกาใต้

แอฟริกาใต้บริโภคเนื้อสัตว์ราว ๓.๙ ล้านตันต่อปีจากเนื้อสัตว์ปีก เนื้อโค เนื้อแกะ และเนื้อสุกร ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แอฟริกาใต้นำเข้าเนื้อสัตว์ราว ๔.๕ แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๓๕ ของรายจ่ายอาหารทั้งหมด เนื้อสัตว์ปีกมีสัดส่วนร้อยละ ๖๐ ของเนื้อสัตว์ทั้งหมด การบริโภคเนื้อไก่ ไม่รวมเครื่องใน มีปริมาณราว ๑.๘๘ ล้านตัน

ความต้องการเนื้อไก่ ไม่รวมเครื่องใน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๑ ในปีนี้เป็น ๑.๙ ล้านตัน และคาดว่า ความต้องการจะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็น ๑.๙๓ ล้านตัน 

ตลาดเนื้อไก่แอฟริกาใต้

คุณลักษณะสำคัญของตลาดเนื้อไก่ในแอฟริกาใต้ ๓ ประการ ที่มาจากฐานผู้บริโภครายได้น้อย ได้แก่

๑. ความต้องการชิ้นส่วนเนื้อไก่ติดกระดูก (เนื้อสีน้ำตาล) มากกว่าเนื้ออก โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๖๐ ของความต้องการเนื้อไก่ทั้งหมด ส่วนใหญ่จำหน่ายเป็นชิ้นส่วนแช่แข็งแบบรวดเร็วบรรจุเป็น ๒ กิโลกรัม และ ๕ กิโลกรัม ในราคาถูก

๒. เนื้อไก่แช่แข็งที่ผลิตในท้องถิ่นทั้งหมด ประกอบด้วย น้ำเกลือ เพื่อถนอมอาหาร และคุณภาพของเนื้อไก่ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ได้นำกฏระเบียบควบคุมปริมาณน้ำเกลือระดับสูงที่สุดไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของน้ำหนักจำหน่าย ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นั้น ระดับของน้ำเกลือเคยสูงถึงร้อยละ ๔๓ 

๓. ความต้องการเนื้อสดค่อนข้างน้อย ไม่ถึงร้อยละ ๑๐ ของเนื้อไก่ในประเทศ

การนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แอฟริกาใต้นำเข้าเนื้อไก่เกือบ ๕๒๐,๐๐๐ ตัน เพื่อชดเชยการผลิตภายในประเทศ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๒ จากปี พ.ศ. ๒๕๖๐ คาดว่าจะสูงขึ้นร้อยละ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้เป็น ๕๔๕,๐๐๐ ตัน เนื่องจาก การผลิตในประเทศลดลงจากราคาต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ก็จะยิ่งสูงขึ้นอีกเล็กน้อยเป็น ๕๕๕,๐๐๐ ตัน เนื่องจาก คาดว่า กำลังการผลิตภายในประเทศเริ่มกลับมา เนื้อไก่ในกระดูกแช่แข็ง และเนื้อไก่ถอดกระดูกเป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญ

บราซิลเป็นผู้จำหน่ายเนื้อไก่รายใหญ่ให้กับแอฟริกาใต้โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่าร้อยละ ๖๐ ของตลาดนำเข้าเนื้อไก่ทั้งหมด ติดตามด้วยสหรัฐฯ มีสัดส่วนร้อยละ ๑๖ และอียู ร้อยละ ๑๒

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการด้านการค้าระหว่างประเทศแห่งแอฟริกาใต้ (International Trade Administration Commission of South Africa, ITAC) ประกาศรับข้อเสนอของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกภายในประเทศให้เพิ่มภาษีศุลากากรการนำเข้าเนื้อไก่แช่แข็ง โดยข้อเสนอนี้ได้เรียกร้องให้เพิ่มภาษีนำเข้าเนื้อไก่ไม่มีกระดูก และเนื้อไก่ติดกระดูกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากร้อยละ ๑๒ และ ๓๒ ตามลำดับเป็นร้อยละ ๘๒ โดยเป็นไปตามข้อตกลงทางการค้าขององค์การค้าโลก (WTO) ประเด็นนี้ได้รับความสนใจจากทั้งสื่อมวลชน และรัฐบาล อย่างไรก็ตามยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา

ประเด็นด้านตลาดส่งออกเนื้อไก่

ตลาดสำคัญสำหรับการส่งออกเนื้อไก่จากแอฟริกาใต้เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ หลายประเทศ รวมถึง บอสวานา มาลาวี โมเซมบิก นามิเบีย แซมเบีย และซิมบับเว ห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากแอฟริกาใต้

ผลจากการถูกห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากประเทศดังกล่าว ทำให้การส่งออกเนื้อไก่จากแอฟริกาใต้ตกลงมากกว่าร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เหลือเพียง ๕๑,๐๐๐ ตันเท่านั้น แอฟริกาใต้ยังคงติดกับดักปัญหาไม่สามารถกลับมาเปิดตลาดใหม่ได้ส่งผลให้ยอดการส่งออกยังคงต่ำลงต่อเนื่องในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เหลือเพียง ๔๕,๐๐๐ ตันเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2019. Case study: Imports dominate South African poultry market. [Internet]. [Cited 2019 Oct 28]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/10/Case-study-Imports-dominate-South-African-poultry-market-491074E/

ภาพที่ ๑ การนำเข้า และตลาดภายในแอฟริกาใต้ (แหล่งภาพ: Vladislav Vorotnikov)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...