วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566

แบคเทอริโอฝาจป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในอากาศ

 การใช้ยาปฏิชีวนะเคยเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา หรือเอเอ็มอาร์ แบคทีเรียที่พบได้ทั่วไป แพร่กระจายไปตามมูลสัตว์ น้ำ หรืออาหาร ยังสามารถปนเปื้อนอยู่ในอากาศ แบคเทอริโอฝาจเป็นมาตรการควบคุมเชื้อแบคทีเรียในอากาศที่มีประสิทธิภาพดี 

               ความกังวงต่อปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม แม้ว่าจะพยายามกำหนดมาตรการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มสัตว์ปีก แต่เชื้อดื้อยาก็เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว แซงหน้าการพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดใหม่เข้าสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม หนทางแก้ไขที่กำลังเป็นความหวัง ได้แก่ แบคเทอริโอฝาจ (ฝาจ) กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในการเป็นทางเลือกใหม่สำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ฝาจเป็นเชื้อไวรัสก่อโรคสำหรับแบคทีเรีย ปรากฏทั่วไปในสิ่งแวดล้อม รวมถึง ไมโครไบโอตาของมนุษย์

โรคโคไลบาซิลโลซิส

               โรคโคไลบาซิลโลซิสในสัตว์ปีกมีความสำคัญมากในการผลิตสัตว์ปีก โดยเฉพาะ เชื้อ อี.โคไล ก่อโรคในสัตว์ปีก หรือเอเพค ทำให้ไก่ป่วยได้ทุกอายุ และทุกระบบการผลิต เชื้อเอเพคสามารถพบได้ในระบบทางเดินอาหารของไก่ และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเชื้อฉวยโอกาสเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะไปเพิ่มจำนวนในเนื้อเยื่อและอวัยวะ โรคโคไลบาซิลโลซิสสามารถก่อโรคได้หลายทางทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด การอักเสบของถุงหุ้มหัวใจ โรคถุงลม การอักเสบของท่อนำไข่ และการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง นอกจากนั้น โรคโคไลบาซิลโลซิสมีสาเหตุจากเชื้อ อี.โคไล ที่ได้รับจีนกำหนดความรุนแรงหลายชนิด และมีที่มาจากหลากหลายแหล่ง

               ยาปฏิชีวนะทางสัตว์แพทย์สามารถผ่านระบบทางเดินอาหารของสัตว์โดยไม่ผ่านการแปรรูป แล้วขับออกมาทางมูลสัตว์ ยาปฏิชีวนะเหล่านี้สามารถถ่ายทอดจากมูลสัตว์ออกสู่ดินและน้ำ ระหว่างนั้นก็มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียแล้วพัฒนาภาวะดื้อยาปฏิชีวนะขึ้นภายในเซลล์ได้

จีนดื้อยาจากสิ่งแวดล้อม

                  แม้ว่า อาหารสัตว์จะไม่มีแบคทีเรียมีชีวิต แต่ก็อาจปนเปื้อนด้วยดีเอ็นเอของแบคทีเรีย เช่น จากดิน ที่มีจีนดื้อยาอยู่ จีนเหล่านี้มีโอกาสถูกเก็บโดยแบคทีเรีย เช่น อี. โคไล ที่พบในลำไส้ของไก่ หรือในอากาศภายในฟาร์มสัตว์ปีก เมื่อแบคทีเรียรับเอาจีนดื้อยาเข้าไปแล้ว ก็สามารถแบ่งปันกับเพื่อนๆแบคทีเรียต่อไปได้อีก แถมด้วยเชื้อแบคทีเรียต่างสปีชีส์อีกมากมาย

การลดเอเพคในอากาศ

               บริษัท โปรตีออน ฟาร์มาซูติคัล พัฒนาผลิตภัณฑ์ บาฟาคอล ซึ่งเป็นแบคเทอริโอฝาจที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ อี.โคไล ก่อโรค หรือเอเพค ได้ แบคเทอริโอฝาจเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศทั่วโลก มีบทบาทช่วยควบคุมแบคทีเรีย ยิ่งไปกว่านั้น แบคเทอริโอฝาจยังไม่มีฤทธิ์ตกค้าง ไม่เป็นพิษ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์นี้ออกฤทธิ์ควบคุมการตาย และได้ผลผลิตกลับมาเป็นปรกติ ช่วยรักษาไมโครไบโอมของสัตว์ปีก โดยเฉพาะ การเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการผลิต และผลการเลี้ยงโดยภาพรวม เหมาะสำหรับใช้ในสัตว์ปีกชนิดต่างๆ ไม่เพียงไก่อย่างเดียว ยังใช้ได้ดีในไก่งวง เป็ด นกพิราบอีกด้วย จากความร่วมมือกับสถาบันการผลิตสัตว์ในประเทศโปแลนด์ ในการศึกษาในสัตว์ แสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพของบาฟาคอลในไก่เนื้อ

               การศึกษาคุณภาพอากาศในโรงเรือนสัตว์ปีก เน้นไปที่เอเพคที่ดื้อยาปฏิชีวนะ ไก่เนื้ออายุ ๑ วัน สุ่มแบ่งกลุ่มเป็น ๓ กลุ่มๆละ ๑๖๐ ตัว ได้แก่ กลุ่มควบคุมลบ กลุ่มที่ให้ยาปฏิชีวนะเป็นเอนโรฟลอกซาซิน ขนาด ๑๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเป็นเวลา ๖ วัน และกลุ่มทดลองใช้บาฟาคอลขนาด ๑ × ๑๐ พีเอฟยูต่อตัวทุกวัน การทดลองสิ้นสุดในวันที่ ๓๖ บาฟาคอล และยาปฏิชีวนะผสมใส่น้ำให้ไก่กิน โดยให้ทุกวันตลอดการเลี้ยง และเอนโรฟลอกซาซินให้เพียง ๖ วันที่อายุ ๘ ถึง ๑๓ วัน เก็บตัวอย่างอากาศก่อนและหลังการให้ยาปฏิชีวนะสำหรับตรวจหาเชื้อก่อโรคเอเพคในวันที่ ๖ และ ๒๒ แล้วประเมินเชื้อดื้อยา

               ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ในวันที่ ๒๒ ของการทดลองภายหลังการให้ยาปฏิชีวนะสังเกตพบเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่เก็บในวันที่ ๖ นอกจากนั้น ในกลุ่มที่ให้ยาปฏิชีวนะเอนโรฟลอกซาซิน ระดับของเชื้อดื้อยาสูงที่สุดเทียบกับกลุ่มอื่นๆ สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากคือ ระดับของเชื้อดื้อยาต่ำลงอย่างมากในกลุ่มที่ให้แบคเทอริโอฝาจเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมลบ

สรุปการทดลอง

               การให้บาฟอคอลไม่ทำให้ระดับการดื้อยาในไก่เนื้อเพิ่มขึ้นแตกต่างจากการให้ยาปฏิชีวนะด้วยเอนโรฟลอกซาซิน และยังช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ทำให้เกิดการกระจายจีนดื้อยาในสิ่งแวดล้อม แบคเทอริโอฝาจเป็นสารเติมอาหารสัตว์ชนิดใหม่ที่พัฒนาโดยบริษัท โปรตีออน ฟาร์มาซูคิคอล ช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นในห่วงโซ่การผลิตอาหาร และช่วยให้สุขภาพสัตว์ดีขึ้นอีกด้วย     

เอกสารอ้างอิง

Proteon Pharmaceuticals. 2023. The role of bacteriophages in the prevention of airborne bacteria. [Internet]. [Cited 2023 Dec 13]. Available from: https://www.poultryworld.net/article/the-role-of-bacteriophages-in-the-prevention-of-airborne-bacteria/

ภาพที่ ๑ แบคเทอริโอฝาจป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในอากาศ  (แหล่งภาพ Shutterstock)




วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ไมโครฟลูอิด และระบบอัตโนมัติจะทรานส์ฟอร์มวัคซีนในโรงฟัก

 แพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีใหม่จะช่วยคัดเพศ และให้วัคซีนพร้อมกัน

แพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้เอไอ ร่วมกับกล้องจับภาพความเร็วสูง และไมโครฟลูอิด ช่วยเร่งความเร็วในการให้วัคซีนและการคัดเพศในโรงฟัก โดยบริษัททาร์แกน (Targan) ด้วยการนำเทคโนโลยีเอไอ เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก  แพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีใหม่ใช้เอไอในการเคลื่อนลูกไก่ไปตามสายพานขณะให้วัคซีน แล้วคัดเพศไปพร้อมกัน การให้วัคซีนดีขึ้น ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารดีกว่าเดิม ความสม่ำเสมอของฝูงในโรงเรือนก็ดี และลดแรงงานลงอีกด้วย

เทคโนโลยีนี้ใช้พารามิเตอร์ที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อเก็บข้อมูล ขณะที่ ลูกไก่เข้าสู่กระบวนการมากขึ้น ก็จะทำงานอย่างรวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น

การคัดเพศลูกไก่แบบอัตโนมัติ

               ปัจจุบัน การคัดเพศลูกไก่ในโรงฟักเป็นกระบวนการที่ใช้แรงงานมาก อย่างไรก็ตาม ก็ได้ประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะ เอฟซีอาร์ เมื่อเลี้ยงไก่เพศผู้ และเพศเมียแยกจากกัน ประสิทธิภาพการแปรรูป และผลผลิตในโรงเชือดก็ดีขึ้น เนื่องจาก ความสม่ำเสมอดีกว่า และลดการบาดเจ็บ การตายจากการจิกตีกัน อย่างไรก็ตาม แลกมาด้วยค่าแรงงานที่มีความชำนาญอย่างมาก เทคโนโลยีอัตโนมัติจะช่วยจัดการปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปได้ การคัดเพศลูกไก่แบบอัตโนมัติผ่านกล้องบันทึกภาพความเร็วสูง และเอไอ ช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นที่โรงฟัก  

เพิ่มประสิทธิภาพการให้วัคซีน

               ระบบการให้วัคซีนแบบอัตโนมัติสามารถช่วยให้ลูกไก่ได้รับวัคซีนบิด ไอบี และนิวคาสเซิลได้ในวันเดียวกันที่โรงฟัก ไก่จึงมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นต่อโรคต่างๆโดยไม่ต้องให้วัคซีน หรือยากันบิดอีกต่อไป แพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีใหม่นี้ช่วยในการหยอดตาวัคซีนเชื้อเป็นให้ลูกไก่ด้วยความเร็วสูงถึง ๑๐๐,๐๐๐ ตัวต่อชั่วโมง โดยมีความแม่นยำร้อยละ ๙๗

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2023. Microfluidics, automation could transform hatchery vaccinations. [Internet]. [Cited 2023 Dec 8]. Available from: https://www.wattagnet.com/poultry-future/poultry-tech-summit-news/article/15659914/microfluidics-automation-could-transform-hatchery-vaccinations

ภาพที่ ๑ ไมโครฟลูอิด และระบบอัตโนมัติจะทรานส์ฟอร์มวัคซีนในโรงฟัก  (แหล่งภาพ kharhan | BigStock.com)



วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อีโธมิเตอร์ ดวงตาพิเศษในโรงเรือนไก่เนื้อ

 รอยัล จีดี กำลังพัฒนาเครื่องมือ อีโธมีเตอร์ ระบบกล้องตาวิเศษที่ช่วยเตือนผู้เลี้ยงไก่เนื้อให้ทราบถึง พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในฝูงไก่ ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกจึงสามารถจัดการกับปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรค หรือสวัสดิภาพสัตว์ได้ก่อนจะเกิดขึ้นจริง ผลการใช้งานในขั้นต้นเป็นที่น่าพึงพอใจมาก  

               อีโธมีเตอร์ ตรวจจับภาพสัตว์แต่ละตัว แล้วเปลี่ยนเป็นไฟล์จีไอเอฟ สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ สามารถตรวจสอบกิจกรรมของไก่จาก ๔ หมื่นไฟล์ แล้ว สามารถจำแนกพฤติกรรม ๑๙ ชนิดได้ทั้งการกินน้ำ การคุ้ยเขี่ยพื้น จิกแกลบ ไซร้ขน อาบฝุ่น นั่งเงียบๆ และตีปีก การแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ถูกเรียกว่า อีโธแกรม ด้วยโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรก็จะติดเครื่องหมายจำแนกกลุ่มภาพถ่ายไว้ จึงเป็นการใช้อัลกอริธึมสำหรับประเมินพฤติกรรมไก่ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดการพัฒนาขึ้นหลายอย่างทั้งบิ๊กดาต้า และเอไอ ดังนั้น จีดีจึงต้องการที่จะอาศัยเทคโนโลยีเหล่านี้ปรับมาใช้ในฟาร์มบ้าง โครงการนี้ริเริ่มด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการสัตว์ปีกดัทช์ เอวิเนด จากการทดลองด้วยกล้องถ่ายภาพในสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีกของจีดีในดีเวนเตอร์ การวิจัยครั้งนี้ร่วมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น จึงขยายโครงการต่อไปอีก ๒ โรงเรือนในฟาร์มไก่เนื้อ และมีแผนจะทดลองต่อในช่วงฤดูร้อนปีหน้านี้ในฟาร์ม ๕ แห่ง

               อีโธมิเตอร์ ไม่ได้จะเข้ามาแทนที่ผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่คอยเดินตรวจความเรียบร้อยภายในโรงเรือน แต่จะเป็นดวงตาพิเศษที่ช่วยในการมองเห็นสิ่งผิดปรกติได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการแสดงออกทางพฤติกรรมของไก่ การตรวจพบสิ่งผิดปรกติอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถจัดการได้ก่อนเหตุการณ์เลวร้ายจะเกิดขึ้น

สวัสดิภาพสัตว์

               หลักสวัสดิภาพสัตว์ด้วย ๕ อิสรภาพ คิดค้นขึ้นโดยคณะกรรมาธิการแบรมเบลล์แห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ล่วงมาแล้วเกือบเจ็ดสิบปี สัตว์ต้องปลอดจากความหิว กระหาย ไม่สบายกาย ความเจ็บปวด อาการบาดเจ็บ และโรค รวมถึง ความกลัว และความเครียด หลักแนวคิดดังกล่าวยังเป็นหลักการพื้นฐานของเบทเทอร์ไลฟ์ ให้จัดพื้นที่การเลี้ยงอย่างเพียงพอ ของเล่น และแสงธรรมชาติ

               แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แสงธรรมชาติก็อาจสว่างมากจนเกินไป แล้วทำให้ไก่มีอาการเครียดจิกกัน การให้ของเล่นผ่อนคลาย เช่น ก้อนฟาง หินไว้จิกเล่น และถุงหญ้าอัลฟัลฟา ก็ถูกตั้งคำถามว่าเป็นประโยชน์ต่อสัตว์แล้วจริงๆหรือไม่ แม่ไก่ที่เสริมเมล็ดธัญพืช หรือหญ้าอัลฟัลฟา อาจเลือกกิน แล้วเกิดปัญหาระบบทางเดินอาหาร อีโธมิเตอร์สามารถช่วยตอบคำถามเหล่านี้ได้ 

พฤติกรรมธรรมชาติ

               แนวความคิดที่ว่าปศุสัตว์ควรสามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ ไม่ใช่ความคิดใหม่ ความจริงแล้วเป็นหนึ่งในอิสรภาพของคณะกรรมการแบรดเดลที่ค่อยเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และกลายเป็นหัวข้อสำคัญอีกครั้งในเนเธอร์แลนด์ ภายหลังจากรัฐบาลให้การยอมรับแก้ไขจากกลุ่มเพื่อสัตว์ โดยเอ็มพี ลีโอนี เวสเตอริง กำหนดให้ระบบการเลี้ยงปศุสัตว์ในเนเธอร์แลนด์ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของสัตว์ และจะถูกประมวลรวมเข้ากับกฏหมายว่าด้วยสัตว์

                  ประจวบเหมาะกับการพัฒนาอีโธมีเตอร์ อุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ ผู้เลี้ยงไก่เนื้อสามารถรับประกันสินค้าของตัวเองได้ว่าจะสามารถจำหน่ายในราคาพรีเมียมจากการตรวจสวัสดิภาพสัตว์ได้อย่างใกล้ชิด แทนที่จะใช้วิธีการแบบเก่าที่ใช้เวลาตลอดทั้งวันเดินตรวจตราภายในโรงเรือน ด้วยอีโธมีเตอร์ ผู้เลี้ยงสามารถดูแลสัตว์ได้อย่างใกล้ชิดด้วยการใช้ระบบเอไอจัดการแบบอัตโนมัติ

แอพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นพิเศษสำหรับตรวจติดตามกิจกรรมของสัตว์ตามเวลาจริง แล้วทำเป็นแดชบอร์ดแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน สามารถนำมาเปรียบเทียบกันภายในฟาร์ม ภายในบริษัท และภายในประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงแปลกๆ ก็จะส่งสัญญาณเตือนทางโทรศัทพ์ เช่น สัตว์จำนวนมากนั่งนิ่งอยู่เป็นเวลานานผิดปรกติ ผู้เลี้ยงไก่สามารถตั้งค่าความเบี่ยงเบนที่ให้ระบบส่งสัญญาณเตือนได้ เพื่อประมวลรายงานเข้าสู่ระบบให้กับผู้เลี้ยงไก่

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องบันทึกไก่แต่ละตัว แต่ไม่ได้ติดตามแยกจากกัน ระบบจะเก็บตัวอย่างจำนวนมาก แต่ละโรงเรือนติดตั้งกล้องเพียงตัวเดียวก็เพียงพอแล้ว สามารถบันทึกพฤติกรรมของสัตว์ได้หลายพันรูปแบบต่อชั่วโมง แต่ผู้พัฒนาระบบก็ยังยอมรับว่า หากมีสิ่งผิดปรกติที่มุมใดมุมหนึ่งของโรงเรือน ก็อาจพลาดได้ 

นักวิจัยพยายามทดลองใช้กล้องหลายๆตัวต่อฝูง อีโธมีเตอร์ไม่ได้บอกว่ามีอะไรเกิด อาจเกี่ยวข้องกับโรค หรือรู้สึกไม่ค่อยสบาย แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนับว่ามีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด ผู้เลี้ยงไก่เนื้อต้องตรวจสอบตัวเองว่า มีอะไรเกิดขึ้น ถ้าเป็นไปได้ควรปรึกษาสัตวแพทย์ นักวิชาการอาหารสัตว์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านฟาร์ม ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การติดตั้งอีโธมีเตอร์จะราคาแพงเท่าใด อีโธมีเตอร์พัฒนาขึ้นมาครั้งแรกสำหรับไก่เนื้อ เพราะถูกเลี้ยงในพื้นที่จำกัด และมีความสม่ำเสมอโดยธรรมชาติ แต่เชื่อว่า ก็ใช้ได้ผลสำหรับสัตว์ และโรงเรือนชนิดอื่นๆด้วย    

เอกสารอ้างอิง

van der Werff N. 2023. An extra pair of eyes in the broiler house. [Internet]. [Cited 2023 Nov 20]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/broilers/an-extra-pair-of-eyes-in-the-broiler-house/

ภาพที่ ๑ ระบบอีโธมิเตอร์สามารถจับภาพไก่แต่ละตัว แต่ไม่ได้ติดตามเป็นรายตัว ระบบแมชชีน เลิร์นนิ่ง อาศัยตัวอย่างจำนวนมาก (แหล่งภาพ Royal GD)



วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566

หวัดนกเอช ๕ เอ็น ๑ ระบาดเร็วกว่าเดิม

 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคุณลักษณะทางพันธุกรรมของโรคไข้หวัดนกที่ช่วยอธิบายถึงความสามารถของเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑ ระบาดได้เร็ว และติดเชื้อสิ่งมีชีวิตได้หลากหลายชนิดกว่าเดิมมาก

นักวิทยาศาสตร์พบว่า จีนของเชื้อไวรัสหลายตำแหน่ง กลายพันธุ์และวิวัฒนาการให้ร่วมกันปรับตัวให้เหมาะต่อการติดเชื้อ แพร่กระจาย และคงอยู่ในร่างกายสัตว์ปีก แต่ยังคงไม่สามารถติดเชื้อสู่มนุษย์ได้ คณะนักวิจัย ยังสังเกตพบว่า เชื้อไวรัสสามารถเคลื่อนที่ได้เพียงระยะทางสั้นๆไม่เกิน ๑๐ เมตร และยังไม่สามารถแพร่ข้ามระหว่างฟาร์มผ่านอากาศได้ ซึ่งเป็นผลการศึกษาของโครงการแปดสมาชิกฟลูแมป สำนักสุขภาพพืชและสัตว์สหราชอาณาจักร ด้วยการพัฒนาเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไก่ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในช่วงชีวิต และค้นพบว่า นกทะเลอย่างนกแกนเนต และแชก สามารถตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อโรคไข้หวัดนกได้

ผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ภูมิคุ้มกันอย่างจำเพาะต่อเอช ๕ เอ็น ๑ บ่งชี้ถึงการได้รับเชื้อ และหายเป็นปรกติได้ อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสยังพยายามกลายพันธุ์ และระดับแอนติบอดีจะลดลงตามเวลา ลูกที่ออกมาในปีถัดไป ไม่สามารถรับประกันได้ว่ามีภูมิคุ้มกัน จึงยังไม่มีภูมิคุ้มกันในระดับประชากรที่เพียงพอ

นักวิจัยกลุ่มใหม่ศึกษาวิวัฒนาการของเชื้อไวรัส

               กลุ่มนักวิจัยชั้นนำพยายามศึกษาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ตั้งแต่วิวัฒนาการของเชื้อไวรัส และการพยากรณ์การปรากฏของสายพันธุ์ใหม่ และการป้องกันโรคทั้งสัตว์และมนุษย์ โดยหวังว่าจะค้นพบแอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ และการพยากรณ์การปรากฏเชื้อไวรัสใหม่ที่มีการรวมกันของโปรตีนชนิดต่างๆในอนาคต นอกจากนั้น ยังพยายามศึกษาการแพร่กระจายระหว่างมนุษย์

 โดยมีศาสตราจารย์ เอียน บราวน์ ผู้อำนวยการ สำนักฯ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยนี้  

               งานวิจัยใหม่นี้จะช่วยให้การรับมือกับการวิวัฒนาการของโรคไข้หวัดนก และทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการแพร่กระจาย และการติดเชื้อในประชากรนกหลายๆชนิด รวมถึง การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากนกป่าไปยังฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ช่องโหว่ของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่ปล่อยให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ฟาร์ฒ บทบาทของภูมิคุ้มกันในนกป่าในการวิวัฒนาของเชื้อไวรัส และสุดท้าย มาตรการใช้วัคซีนจะรับมือกับการระบาดของโรคได้อย่างไร

 เอกสารอ้างอิง

Peys R. 2023. Current H5N1 avian influenza viruses can spread faster and wider. [Internet]. [Cited 2023 Nov 27]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/current-h5n1-ai-viruses-can-spread-faster-and-wider/  

ภาพที่ ๑ การศึกษานำร่องพบภูมิคุ้มกันต่อเอช ๕ เอ็น ๑ บ่งชี้ถึง การได้รับเชื้อและหายจากโรคในประชากรนก (แหล่งภาพ Canva)



วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ข้อมูลคุณภาพซากเป็นภาพสะท้อนสูตรอาหารสัตว์

 คุณภาพซากจากลักษณะภายในและภายนอกเป็นสิ่งที่สะท้อนภาพคุณภาพของเนื้อสัตว์ สุขภาพสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์ ข้อมูลคุณภาพซากที่ได้จากโรงเชือดจึงช่วยปรับรายละเอียดสูตรอาหารสัตว์ โดยเฉพาะ แร่ธาตุได้ 

ความสมดุลระหว่างการจัดการพันธุ์ไก่ที่มีผลผลิตสูง ขณะที่ ต้นทุนการผลิต และแรงงานยังสูงอีกด้วยเป็นประเด็นปัญหาทั่วทั้งห่วงโซ่การผลิตสัตว์ปีก บางครั้งก็กลับไปสร้างปัญหาคุณภาพซาก และการปลดทิ้งเพิ่มขึ้นอีกด้วย สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องป้องกัน และให้ความสำคัญ เนื่องจาก ปัญหาคุณภาพซากสัตว์ปีกสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อทั่วโลกนับหมื่นล้านบาท หมายความว่า สายพันธุ์ไก่โตเร็วต้องจัดการอย่างเหมาะสมระหว่างที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์มทั้งด้านสุขภาพ สวัสดิภาพ และคุณภาพเนื้อ 

หากความหนาแน่นการเลี้ยงสูงเกินไป อาจส่งผลต่อการเกิดรอยขีดข่วนเพิ่มขึ้น และหากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือการป้องกันโรคย่อหย่อนลงไป ซากสัตว์สามารถปนเปื้อนด้วยเชื้อก่อโรค เช่น อี.โคไล แคมไพโลแบคเตอร์ หรือ ซัลโมเนลลา ได้ แต่รอยโรคก็อาจมาจากเทคนิคการจับที่ไม่ดีเพียงพอ หรือเกิดการช้ำระหว่างกระบวนการแปรรูป

ยังไม่มีระบบการให้คะแนนที่มาตรฐาน

                กระบวนการตรวจสอบคุณภาพซากที่โรงเชือดไม่ได้ตรวจสอบรอยโรคอย่างละเอียดทั้งภายนอกและภายใน ทั้งที่เป็นคะแนนที่มีความสำคัญ ความจริงแล้ว สิ่งที่อยู่ในโรงเชือดทำเงินได้มากที่สุด ในเวลาเดียวกัน แต่ยังไม่มีใครให้ความสำคัญกับการให้คะแนนรอยโรคอย่างถูกต้อง และพยายามคิดว่า ทำไมจึงเกิดรอยโรค และเกิดขึ้นตั้งแต่ที่ไหนกันแน่ เพราะเมื่อทราบแล้ว เราก็จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้จากข้อมูลเชิงลึกของซากสัตว์ และต้นทุนที่เกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้ช่วยได้อย่างมากในการพัฒนากระบวนการผลิตทุกขั้นตอนจากมุมมองด้านเศรษฐกิจ และสวัสดิภาพสัตว์

               การจัดการดังกล่าวเปรียบเทียบได้กับงานนิติเวชที่ช่วยสืบหาปัญหาในกระบวนการผลิตและแปรรูป เมื่อนำข้อมูลรอยโรคทั้งภายในและภายนอก วิเคราะห์หาขั้นตอนที่เกิดรอยโรค และสาเหตุ จากนั้นกำหนดวิธีการควบคุมปัญหาต่อไป สิ่งที่สำคัญ ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องมีภาพที่สมบูรณ์ รอยโรคที่สังเกตเห็นจากภายในซากอาจจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมากกว่ารอยโรคภายนอก เมื่อหยิบยกขึ้นมาพิจารณาร่วมกันก็จะสามารถควบคุมปัญหาได้จริงๆ

การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน

               ข้อมูลคุณภาพซากเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันจากผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการผลิตทั้งผู้จัดการคุณภาพ ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านการเงิน ผู้จัดการฟาร์ม นักวิชาการอาหารสัตว์ และสัตวแพทย์ เมื่อนำผลจากการวิเคราะห์พิจารณาร่วมกัน แล้วประเมินความสูญเสียทางการเงิน จากนั้นวางแผนการแก้ไขปรับปรุงในรอบถัดไปทั้งการจัดการในฟาร์มและอาหารสัตว์ปีก หลังจากที่เลี้ยงไก่รุ่นถัดมาแล้วก็อาจจัดให้มีการตรวจประเมินติดตามผล แล้วมองหาปัจจัยที่แตกต่างระหว่างกลุ่มที่อาจส่งผลกระทบด้วย เช่น เพศ ความหนาแน่นการเลี้ยง หรือการใช้สารเติมอาหารสัตว์บางชนิด การตรวจประเมินเป็นระยะจะเป็นโอกาสให้เกิดการพัฒนาคุณภาพซากให้ดีขึ้นได้

การหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพซากและอาหารสัตว์

               ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ และคุณภาพซาก จะช่วยให้นักวิชาการอาหารสัตว์ปรับปรุงผลผลิต เช่น การจัดการสุขภาพทางเดินอาหาร และฟื้นฟูสุขภาพกลับเป็นปรกติอย่างรวดเร็ว หรือรีไซเลนส์ มีความสัมพันธ์สูงกับคุณภาพซาก การจัดการอาหารสัตว์ช่วยให้สุขภาพทางเดินอาหาร และภูมิคุ้มกันดีขึ้น ขณะเดียวกัน ยังช่วยลดรอยโรคที่ผิวหนัง และปัญหาขาพิการ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ส่งผลทางบวกต่อความสามารถของไก่ในการต้านทานโรค และผลผลิต เพิ่มกำไร และช่วยให้ผู้บริโภคปลอดภัย ด้วยอาหารที่มีคุณภาพดี

               การใช้แร่ธาตุรองอย่างเหมาะสมต่อสุขภาพ สวัสดิภาพสัตว์ และคุณภาพเนื้อ ธาตุสังกะสี มีอิทธิพลต่อความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ควบคุมการอักเสบ และการสมานบาดแผลของผิวหนัง แร่ธาตุรองอื่นๆในอาหารไก่เนื้อ เช่น แมงกานีส ทองแดง โครเมียม และซีลีเนียม ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญด้านโภชนาการที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพเนื้อ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึงจะช่วยให้ตัดสินใจเติมซีลีเนียมในอาหารระยะสุดท้ายได้ สอดคล้องกับหลักการสูตรอาหารสัตว์แม่นยำ และคำแนะนำที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และปัญหาในฟาร์ม                

เอกสารอ้างอิง

Koeleman E. 2023. Poultry carcass data helps to fine-tune diets. [Internet]. [Cited 2023 Nov 22]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/processing/poultry-carcass-data-helps-to-fine-tune-diets/

ภาพที่ ๑ ไก่เนื้อโตเร็วต้องจัดการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ที่ฟาร์ม เพื่อให้มั่นใจต่อคุณภาพเนื้อในโรงงานแปรรูปการผลิต



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...