รอยัล จีดี กำลังพัฒนาเครื่องมือ อีโธมีเตอร์ ระบบกล้องตาวิเศษที่ช่วยเตือนผู้เลี้ยงไก่เนื้อให้ทราบถึง พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในฝูงไก่ ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกจึงสามารถจัดการกับปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรค หรือสวัสดิภาพสัตว์ได้ก่อนจะเกิดขึ้นจริง ผลการใช้งานในขั้นต้นเป็นที่น่าพึงพอใจมาก
อีโธมีเตอร์ ตรวจจับภาพสัตว์แต่ละตัว แล้วเปลี่ยนเป็นไฟล์จีไอเอฟ สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ สามารถตรวจสอบกิจกรรมของไก่จาก ๔ หมื่นไฟล์ แล้ว สามารถจำแนกพฤติกรรม ๑๙ ชนิดได้ทั้งการกินน้ำ การคุ้ยเขี่ยพื้น จิกแกลบ ไซร้ขน อาบฝุ่น นั่งเงียบๆ และตีปีก การแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ถูกเรียกว่า “อีโธแกรม” ด้วยโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรก็จะติดเครื่องหมายจำแนกกลุ่มภาพถ่ายไว้ จึงเป็นการใช้อัลกอริธึมสำหรับประเมินพฤติกรรมไก่ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดการพัฒนาขึ้นหลายอย่างทั้งบิ๊กดาต้า และเอไอ ดังนั้น จีดีจึงต้องการที่จะอาศัยเทคโนโลยีเหล่านี้ปรับมาใช้ในฟาร์มบ้าง โครงการนี้ริเริ่มด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการสัตว์ปีกดัทช์ เอวิเนด จากการทดลองด้วยกล้องถ่ายภาพในสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีกของจีดีในดีเวนเตอร์ การวิจัยครั้งนี้ร่วมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น จึงขยายโครงการต่อไปอีก ๒ โรงเรือนในฟาร์มไก่เนื้อ และมีแผนจะทดลองต่อในช่วงฤดูร้อนปีหน้านี้ในฟาร์ม ๕ แห่ง
อีโธมิเตอร์
ไม่ได้จะเข้ามาแทนที่ผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่คอยเดินตรวจความเรียบร้อยภายในโรงเรือน
แต่จะเป็นดวงตาพิเศษที่ช่วยในการมองเห็นสิ่งผิดปรกติได้อย่างรวดเร็ว
โดยอาศัยการแสดงออกทางพฤติกรรมของไก่ การตรวจพบสิ่งผิดปรกติอย่างรวดเร็ว
ช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถจัดการได้ก่อนเหตุการณ์เลวร้ายจะเกิดขึ้น
สวัสดิภาพสัตว์
หลักสวัสดิภาพสัตว์ด้วย
๕ อิสรภาพ คิดค้นขึ้นโดยคณะกรรมาธิการแบรมเบลล์แห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๐๘ ล่วงมาแล้วเกือบเจ็ดสิบปี สัตว์ต้องปลอดจากความหิว กระหาย ไม่สบายกาย
ความเจ็บปวด อาการบาดเจ็บ และโรค รวมถึง ความกลัว และความเครียด
หลักแนวคิดดังกล่าวยังเป็นหลักการพื้นฐานของเบทเทอร์ไลฟ์
ให้จัดพื้นที่การเลี้ยงอย่างเพียงพอ ของเล่น และแสงธรรมชาติ
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แสงธรรมชาติก็อาจสว่างมากจนเกินไป แล้วทำให้ไก่มีอาการเครียดจิกกัน การให้ของเล่นผ่อนคลาย เช่น ก้อนฟาง หินไว้จิกเล่น และถุงหญ้าอัลฟัลฟา ก็ถูกตั้งคำถามว่าเป็นประโยชน์ต่อสัตว์แล้วจริงๆหรือไม่ แม่ไก่ที่เสริมเมล็ดธัญพืช หรือหญ้าอัลฟัลฟา อาจเลือกกิน แล้วเกิดปัญหาระบบทางเดินอาหาร อีโธมิเตอร์สามารถช่วยตอบคำถามเหล่านี้ได้
พฤติกรรมธรรมชาติ
แนวความคิดที่ว่าปศุสัตว์ควรสามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้
ไม่ใช่ความคิดใหม่
ความจริงแล้วเป็นหนึ่งในอิสรภาพของคณะกรรมการแบรดเดลที่ค่อยเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
และกลายเป็นหัวข้อสำคัญอีกครั้งในเนเธอร์แลนด์
ภายหลังจากรัฐบาลให้การยอมรับแก้ไขจากกลุ่มเพื่อสัตว์ โดยเอ็มพี ลีโอนี เวสเตอริง
กำหนดให้ระบบการเลี้ยงปศุสัตว์ในเนเธอร์แลนด์ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของสัตว์
และจะถูกประมวลรวมเข้ากับกฏหมายว่าด้วยสัตว์
ประจวบเหมาะกับการพัฒนาอีโธมีเตอร์
อุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์
ผู้เลี้ยงไก่เนื้อสามารถรับประกันสินค้าของตัวเองได้ว่าจะสามารถจำหน่ายในราคาพรีเมียมจากการตรวจสวัสดิภาพสัตว์ได้อย่างใกล้ชิด
แทนที่จะใช้วิธีการแบบเก่าที่ใช้เวลาตลอดทั้งวันเดินตรวจตราภายในโรงเรือน
ด้วยอีโธมีเตอร์
ผู้เลี้ยงสามารถดูแลสัตว์ได้อย่างใกล้ชิดด้วยการใช้ระบบเอไอจัดการแบบอัตโนมัติ
แอพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นพิเศษสำหรับตรวจติดตามกิจกรรมของสัตว์ตามเวลาจริง
แล้วทำเป็นแดชบอร์ดแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน สามารถนำมาเปรียบเทียบกันภายในฟาร์ม
ภายในบริษัท และภายในประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงแปลกๆ
ก็จะส่งสัญญาณเตือนทางโทรศัทพ์ เช่น สัตว์จำนวนมากนั่งนิ่งอยู่เป็นเวลานานผิดปรกติ
ผู้เลี้ยงไก่สามารถตั้งค่าความเบี่ยงเบนที่ให้ระบบส่งสัญญาณเตือนได้
เพื่อประมวลรายงานเข้าสู่ระบบให้กับผู้เลี้ยงไก่
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องบันทึกไก่แต่ละตัว
แต่ไม่ได้ติดตามแยกจากกัน ระบบจะเก็บตัวอย่างจำนวนมาก
แต่ละโรงเรือนติดตั้งกล้องเพียงตัวเดียวก็เพียงพอแล้ว
สามารถบันทึกพฤติกรรมของสัตว์ได้หลายพันรูปแบบต่อชั่วโมง
แต่ผู้พัฒนาระบบก็ยังยอมรับว่า หากมีสิ่งผิดปรกติที่มุมใดมุมหนึ่งของโรงเรือน
ก็อาจพลาดได้
นักวิจัยพยายามทดลองใช้กล้องหลายๆตัวต่อฝูง อีโธมีเตอร์ไม่ได้บอกว่ามีอะไรเกิด อาจเกี่ยวข้องกับโรค หรือรู้สึกไม่ค่อยสบาย แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนับว่ามีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด ผู้เลี้ยงไก่เนื้อต้องตรวจสอบตัวเองว่า มีอะไรเกิดขึ้น ถ้าเป็นไปได้ควรปรึกษาสัตวแพทย์ นักวิชาการอาหารสัตว์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านฟาร์ม ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การติดตั้งอีโธมีเตอร์จะราคาแพงเท่าใด อีโธมีเตอร์พัฒนาขึ้นมาครั้งแรกสำหรับไก่เนื้อ เพราะถูกเลี้ยงในพื้นที่จำกัด และมีความสม่ำเสมอโดยธรรมชาติ แต่เชื่อว่า ก็ใช้ได้ผลสำหรับสัตว์ และโรงเรือนชนิดอื่นๆด้วย
เอกสารอ้างอิง
van der
Werff N. 2023. An extra pair of eyes
in the broiler house. [Internet]. [Cited 2023 Nov 20]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/broilers/an-extra-pair-of-eyes-in-the-broiler-house/
ภาพที่
๑
ระบบอีโธมิเตอร์สามารถจับภาพไก่แต่ละตัว แต่ไม่ได้ติดตามเป็นรายตัว ระบบแมชชีน เลิร์นนิ่ง
อาศัยตัวอย่างจำนวนมาก (แหล่งภาพ Royal GD)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น