วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลกระทบของโควิด ๑๙ ระลอกสองต่อการผลิตสัตว์ปีกอินเดีย

รายงานราโบแบงค์ชี้ถึงความยากลำบากของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในอินเดีย

การระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในอินเดียกำลังสร้างความยากลำบากสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคครั้งนี้อาจจะไม่ร้ายแรง เนื่องจาก สถานการณ์การระบาดของโรคได้รับการจัดการได้ดีกว่าการระบาดระลอกแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา อ้างอิงตามรายงานไตรมาสที่ ๓ ของราโบแบงค์ สำหรับสัตว์ปีก 

              ความต้องการภาคธุรกิจต่อผู้บริโภคสำหรับสัตว์ปีก ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในอินเดีย แต่ความต้องการสำหรับสัตว์ปีกในภาคการผลิตอาหาร ที่มีท่าทีกำลังฟื้นตัวในช่วงสองไตรมาสที่ผ่านมา แต่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด เนื่องจาก การปิดร้านอาหาร และโรงแรม

              นอกจากนั้น โรโบแบงค์ คาดว่า ความต้องการเนื้อไก่จะลดลงในไตรมาสต่อมา เนื่องจากเทศกาลถือศีลอดอาหารตามความเชื่อทางศาสนา ราโบแบงค์ยังคาดต่อไปว่า ความต้องการเนื้อไก่ของผู้บริโภคจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในรอบปีนี้ แต่ความต้องการภาคบริการอาหารยังคงน้อยต่อเนื่อง

ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตสัตว์ปีกอินเดีย

              การขาดแคลนลูกไก่ประสบปัญหาในหลายรัฐของอินเดีย เนื่องจาก ความเสียหายของห่วงโซ่ซัพพลาย อย่างไรก็ตาม ราโบแบงค์ อ้างว่า สถานการณ์จะดีขึ้น เนื่องจาก การยกเลิกคำสั่งล็อคดาวน์

              ราคาอาหารสัตว์ในอินเดียก็ส่งมีผลกระทบต่อการผลิตสัตว์ปีกในอินเดีย เนื่องจาก ราคาถั่วเหลืองพุ่งทะยานในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และราคาข้าวโพดก็สุงขึ้นเล็กน้อย การจัดการผลิต และราคากากถั่วเหลืองจะเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการผลิตสัตว์ปีกในอินเดียในปีหน้า ราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกในอนาคตข้างหน้านี้  

              บริษัท ซูกูนา ฟู้ดส์ เป็นผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดในอินเดีย เชือดไก่เนื้อปีละ ๑๐๐ ล้านตัวต่อปี รายอื่นๆได้แก่ กลุ่มสกายลาร์ก และก๊อดเรจ อะโกรเวท ปีก่อนหน้านั้นเชือดไก่ได้ ๒๔ และ ๒๑ ล้านตัวต่อปี    

เอกสารอ้างอิง

Graber R. 2021. Second COVID-19 wave impacting India’s poultry sector. [Internet]. [Cited 2021 Jul 6]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/43170-second-covid-19-wave-impacting-indias-poultry-sector

ภาพที่ ๑ (แหล่งภาพ Andrea Gantz)



วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ส่งออกไก่อังกฤษลดลงร้อยละ ๗๐

 การส่งออกเนื้อสัตว์จากสหราชอาณาจักรให้กับสหภาพยุโรปลดต่ำลงตั้งแต่ต้นปีแล้ว

โดยภาพรวมการส่งออกสัตว์ปีกลดลงร้อยละ ๖๙ ในไตรมาสแรกของปีนี้ ส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจอย่างรุนแรง โดยเนื้อไก่ปริมาณลดลงร้อยละ ๖๒ และมูลค่าลดลงร้อยละ ๖๗ จากราว ๓.๔ ล้านบาทเหลือเพียง ๑.๑ ล้านบาทเท่านั้น

              สาเหตุของการตกต่ำเช่นนี้เป็นผลมาจากนโยบายเบร็กซิต นั่นเอง ปัจจุบัน เกาะอังกฤษถูกจัดเป็น ประเทศที่สามธุรกิจต่างๆในสหราชอาณาจักร ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดจำนวนมากว่าด้วยการนำเข้า รวมถึง มาตรการควบคุมด้านสุขอนามัยสำหรับพืช และสัตว์ระหว่างประเทศ หรือเอสพีเอส ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานให้การรับรองเอสพีเอส สภาสัตว์ปีกแห่งสหราชอาณาจักร หรือบีพีซี เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาผลกระทบที่รุนแรงในทางการค้า

๑.     เจรจาต่อรองข้อตกลงด้านสัตว์แพทย์ร่วมกันระหว่างอียู เพื่อคลี่คลายปัญหาการค้าอาหาร และอาหารสัตว์ระหว่างสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และไอร์แลน์เหนือ และสหภาพยุโรปสู่สหราชอาณาจักร เมื่อมาตรการควบคุมการนำเข้ามีผลบังคับใช้ การปรับเทียบระบบมาตรฐานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการค้าขายสินค้าที่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาการเก็บรักษา

๒.    ปรับปรุงระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ลดขั้นตอนตามระบบราชการ ลดระยะเวลา ความผิดพลาด และค่าใช้จ่าย ทั้งนี้รวมถึงการประยุกต์ใช้ระบบเอกสารอิเล็กโทรนิกส์อย่างบูรณาการ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ เพื่อลดความสับสน และความล่าช้าของระบบเอกสารที่ยังพึ่งพากระดาษ

๓.    ทบทวนข้อกำหนดด้านการตรวจสอบ และการให้การรับรอง เพื่อรักษาความยุติธรรม และความสามารถในการแข่งขัน ความเร่งด่วนดังกล่าวนี้ไม่สามารถมองข้ามได้ ในเวลานี้ บีพีซีได้เริ่มนับถอยหลังมาตรการควบคุมการนำเข้าของสหราชอาณาจักรอย่างเต็มรูปแบบ  

ระบบการจัดการแบบราชการของประเทศที่สามกำลังกัดกร่อนความสามารถ และโอกาสของสินค้าเนื้อสัตว์ส่งออกไปยังอียู หากภาคการส่งออก รวมถึง เนื้อสัตว์ปีก สามารถอยู่รอดได้ และประสบความสำเร็จภายใต้ข้อตกลงด้านการค้า และความร่วมมือ หรือทีซีเอ วิถีใหม่ของการจัดการระบบต้องจัดเตรียมรับมือไว้ เพื่อปกป้องความอยู่รอดของธุรกิจในสหราชอาณาจักรให้เดินหน้าต่อไปได้ รัฐบาลของสหราชอาณาจักรต้องเจรจาต่อรองกับสหภาพยุโรป เพื่อเตรียมสร้างระบบเพื่อประสานงานร่วมกันสำหรับการส่งออก หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการลงทุนทรัพยากร และระบบการจัดการอย่างเพียงพอ อาจเห็นผลกระทบที่สร้างความเสียหายต่อธุรกิจการผลิตเนื้อสัตว์ปีกของสหราชอาณาจักร และส่งผลร้ายแรงต่อความสามารถของประเทศต่อไปได้ ตั้งแต่ต้นปี สังเกตเห็นว่า สหราชอาณาจักรส่งออกได้เพียงร้อยละ ๑๙ ของการผลิตสัตว์ปีกทั้งหมดภายในประเทศ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ ๗๐ เป็นการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกไปยังสหภาพยุโรป มีมูลค่ารวม ๘.๗ พันล้านบาทในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยส่วนใหญ่เป็นเนื้อดาร์กมีท เนื่องจาก ส่วนใหญ่ผู้บริโภคสหราชอาณาจักรนิยมเนื้ออกมากกว่า

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2021. UK poultry exports to EU down 70% in value. [Internet]. [Cited 2021 Jul 1]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/7/UK-poultry-exports-to-EU-down-70-in-value-765652E/

ภาพที่ ๑ ปริมาณเนื้อไก่ลดลงร้อยละ ๖๒ และมูลค่าลดลงร้อยละ ๖๗ หรือจากราว ๔.๑ พันล้านบาทเหลือเพียง ๑.๓ พันล้านบาท ตามสถิติของรัฐบาลสหราชอาณาจักร (แหล่งภาพ Michel Zoeter







วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ส่งออกเนื้อไก่บราซิลแนวโน้มฟื้นตัว

บราซิลมีแนวโน้มฟื้นตัว และเริ่มส่งออกสูงขึ้นร้อยละ ๔.๖ นับถึงเดือนพฤษภาคมนี้

              การส่งออกเนื้อไก่บราซิลพลิกฟื้นตัวขึ้นร้อยละ ๔.๖ ในช่วงสองเดือนแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๔ สมาคมโปรตีนจากสัตว์แห่งบราซิล แจ้งว่า ได้ส่งออกเนื้อไก่ไปแล้ว ๑.๘๔๖ ล้านตันในห้าเดือนแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๔ สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ๘๒,๐๐๐ ตัน รายได้จากการส่งออกสะสมในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีมูลค่ารวม ๙.๒ หมื่นล้านบาท เทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๖๓ มูลค่า ๘.๗ หมื่นล้านบาท โดยจำนวนนี้รวมสินค้าทุกประเภททั้งเนื้อไก่สด และแปรรูป การจำหน่ายเนื้อไก่ไปยังตลาดต่างประเทศได้ช่วยสร้างความสมดุลของแรงกดดันที่เกิดจากต้นทุนการผลิตของบริษัทที่สามารถส่งออกสินค้าได้ โดยมีสัดส่วนร้อยละ ๗๐ ของโรงงานที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล

              ทั้งนี้ประเทศผู้นำเข้ายังคงรักษาระดับความต้องการไม่เปลี่ยนแปลง และสินค้าของบราซิล ยังคงสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ แม้ว่าราคาอาหารสัตว์จะค่อนข้างสูง ปัจจุบัน บราซิลส่งออกเนื้อไก่ไปในประเทศต่างๆมากกว่า ๑๔๓ ประเทศทั่วโลก ตลาดนำเข้าที่สำคัญในปีนี้เป็นฟิลิปปินส์ นำเข้าเพิ่มสูงขึ้น ๖๑.๙ ล้าน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๕) รัสเซีย ๔๒,๘๐๐ ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๔) และอังกฤติ ๔๑,๗๐๐ ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๑.๔) และชิลี ๓๙.๗ (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕๓) รัฐปาลานาส่งออกได้มากที่สุดในประเทศ ยอดส่งออก ๗๓๗ ตันในห้าเดือนแรกของปี เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๖.๕ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รัฐซานตากาตารินา ส่งออกได้เป็นลำดับสอง ยอดส่งออก ๔๐๐ ตัน (ลดลงร้อยละ ๕.๕) รัฐรีอูกรันดีดูซูล ส่งออกได้ ๒๘๘ ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๓) ทั้งสองแห่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ

ยอดจำหน่ายไข่ไก่ในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น

              นอกจากเนื้อสัตว์ปีกแล้ว ยอดจำหน่ายไข่ไก่บราซิลไปยังต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๑๖๒ ทั้งไข่ไก่สด และแปรรูป ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเมษายนนี้ การส่งออกไข่ไก่รวมแล้ว ๔,๖๓๘ ตัน หรือมากกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ๒,๘๐๗ ตัน รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๗๓ หรือเป็นเงินราวสองแสนล้านบาท โดยอาหรับเอมิเรตเป็นผู้นำเข้าสำคัญ นำเข้าไป ๓,๔๖๑ ตัน นอกจากนั้นก็ยังมีญี่ปุ่น ๑๓๓.๖ ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘.๕) และโอมาน ๒๗๐ ตัน  นอกจากนั้น ชิลี และอาร์เจนตินาได้อนุญาตให้บราซิลส่งออกไข่ไก่ไปยังประเทศได้ อาร์เจนตินาได้ยอมรับการนำเข้าจากหลายรัฐในประเทศบราซิล และชิลี ยอมรับการนำเข้าจากทุกโรงงานในอีกหลายรัฐของประเทศบราซิลอีกด้วย 

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2021. Brazil reverts trend and counts 4.6% higher exports till May. [Internet]. [Cited 2021 Jun 23]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/6/Brazil-reverts-trend-and-counts-46-higher-exports-till-May-761898E/

ภาพที่ ๑ บราซิลมีแนวโน้มฟื้นตัว และเริ่มส่งออกสูงขึ้นร้อยละ ๔.๖  ในระหว่างเดือนมกราคม และพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ (แหล่งภาพ Mark Pasveer)



วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ยักษ์ยูเครน MHP วางโปรเจคใหม่ในยุโรป และซาอุฯ

 ผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ในยูเครนกำลังวางแผนลงทุน ๑.๓ พันล้านบาทเพื่อขยายกำลังการผลิตในเซอร์เบีย จากการแถลงข่าวของ วิคตอเรีย คาเพลยุชนายา ซีเอฟโอของบริษัทเอ็มเอชพี ขณะนี้ บริษัทกำลังก่อสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่แล้ว หลังจากแล้วเสร็จมาแล้วแห่งหนึ่ง  

              โครงการขยายกำลังการผลิตในเซอร์เบียเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายธุรกิจในยุโรป นอกจากนั้น บริษัทยังตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมอีก ๓๘๑ ล้านบาท เพื่อขยายการผลิตเข้าไปในประเทศโครเอเชีย อีกด้วย บริษัท เอ็มเอชพี เพิ่งซื้อกิจการธุรกิจการผลิตสัตว์ปีกครบวงจรในสโลเวเนียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ มูลค่าหมื่นกว่าล้านบาท ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ บริษัทวางแผนที่จะลงทุนเพื่อปรับปรุงสร้างความทันสมัย และการขยายทรัพย์สินด้านการผลิตสัตว์ปีกที่มีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่าการลงทุนต่อไปอีก ๓ ถึง ๔ ปี การลงทุนส่วนหนึ่งของเอ็มเอชพีในประเทศยุโรปได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโดยตรง และกำลังให้ความสนใจในการซื้อกิจการในยุโรปอีกหลายแห่ง นอกจากนั้น เอ็มเอชพีก็กำลังเจรจากับซาอุฯเป็นครั้งแรก  เจ้าของเอ็มเอชพี นาย Yuri Kysyuk กำลังเพิ่มการลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสมากที่สุดในภูมิภาคยุโรป และตะวันออกกลาง

เดินหน้าเพิ่มกำไร แม้ต้นทุนสูง

              เอ็มเอชพีได้รับกำไรสุทธิ ๓๒ ล้านบาทในไตรมาสแรกของปี เปรียบเทียบกับปีที่แล้วขาดทุน ๕.๖ พันล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว รายได้ของเอ็มเอชพียังไม่เปลี่ยนแปลงรวมแล้ว ๑.๔ หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑ เปรียบเทียบกับปีเดียวกัน รายได้จากการส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้คิดเป็นร้อยละ ๔๙ ของรายได้ทั้งหมด และมีมูลค่าราว ๗ พันล้านบาท ในปีที่แล้วสูงกว่ายืนอยู่ที่ร้อยละ ๕๓ การระบาดของโรคไข้หวัดนกในยูเครนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่งผลต่อการส่งออกยูเครนให้กับอียูถูกระงับเป็นการชั่วคราว ราคาต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงก็เป็นปัจจัยที่ท้าทายสำหรับปีนี้

ในไตรมาสแรกของปีนี้ การผลิตสัตว์ปีกของ Perutnina Ptuj มียอดการผลิตเนื้อไก่ และเนื้อไก่งวงรวม ๒๔,๖๖๒ ตัน สูงขึ้นร้อยละ ๓ เทียบปีต่อปี ขณะที่ยอดการจำหน่ายสัตว์ปีกรวมแล้ว ๑๖,๐๔๒ ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖ เทียบปีต่อปี โดยได้รับแรงบวกจากการผลิตเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึง การขยายธุรกิจในโครเอเชีย และเซอร์เบีย โรงงานแปรรูปการผลิตเนื้อสัตว์ Perutnina Ptuj สามารถผลิตสินค้าได้หลายชนิดรวมแล้ว ๙.๓๙๓ ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔ เทียบปีต่อปี ขณะที่ ยอดจำหน่ายรวมแล้ว ๙,๒๐๖ ตัน ไม่เปลี่ยนแปลงเทียบปีต่อปี

เอกสารอ้างอิง

Vorotnikov V. 2021. MHP invests in new projects in Europe and Saudi Arabia. [Internet]. [Cited 2021 Jun 15]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/6/MHP-invests-in-new-projects-in-Europe-and-Saudi-Arabia-759623E/

ภาพที่ ๑ ผู้ผลิตสัตว์ปีกยูเครน เอ็มเอชพี ตั้งเป้าลงทุน ๑.๓ พันล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตในเซอร์เบีย (แหล่งภาพ Michel Zoeter)



นักวิจัยถกประเด็นความเครียดจากความร้อนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก

 นักวิจัยด้านสารเติมอาหารสัตว์ร่วมแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน การอักเสบ ไมโครไบโอตาในลำไส้ สุขภาพสัตว์ และผลการผลิตสัตว์ โดยความเครียดจากความร้อนเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสรีรวิทยา สวัสดิภาพ และผลการผลิต

              ผลกระทบของความร้อนต่อสุขภาพทางเดินอาหารในปศุสัตว์เป็นสิ่งที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง ความเครียดจากความร้อนต่อสัตว์สามารถส่งผลต่อการทำลายผนังลำไส้ได้ สัตว์จะแสดงอาการหอบหายใจจนกระทั่งไม่สามารถรักษาอุณหภูมิใจกลางร่างกายไว้ได้อีก สัตว์แต่ละชนิดก็จะมีความไวรับต่อความร้อนได้แตกต่างกัน สำหรับมนุษย์ยังสามารถขับเหงื่อ เพื่อบรรเทาความร้อนภายในร่างกายได้ แต่สุกร และสัตว์ปีกไม่ได้มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์ ดังนั้น วิธีการขับความร้อนออกจากร่างกายก็ต้องใช้กลไกที่แตกต่างกันออกไป ถึงกระนั้น กลไกการควบคุมความร้อนของร่างกายสุกร และสัตว์ปีกก็มีประสทธิภาพต่ำ จนเกิดผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง เมื่อระบบการควบคุมควมร้อนที่มีความจำเป็นสำหรับชีวิตสัตว์เกินกว่าจะรับมือให้สามารถทำหน้าที่ได้เป็นปรกติ ช่วงตั้งครรภ์ และให้นมลูกก็มีการสร้างความร้อนขึ้นปริมาณมาก สัตว์จะมีความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นได้น้อยลง สัตว์ที่กำลังตั้งท้อง หรือให้นมลูกจะมีความไวต่อความร้อนสูงกว่าปรกติ แม่โคที่กำลังให้นมจึงมีความไวรับต่อความร้อนสูงขึ้น เมื่อมีการผลิตน้ำนมปริมาณมาก แต่ร่างกายที่ใหญ่ก็ยังเก็บกักความร้อนได้มากกว่าสัตว์ที่มีร่างกายขนาดเล็ก

ผลกระทบต่อพฤติกรรม และสรีรวิทยาของความร้อนที่สามารถสังเกตเห็นได้

              การตอบสนองทางพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้ในปศุสัตว์คือ การหอบหายใจ โดยทำงานคล้ายคลึงกับการขับเหงื่อโดยการระเหยเป็นไอน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ผ่านน้ำลาย ความร้อนจะลดความอยากอาหาร และการกินอาหาร จึงแน่ชัดว่าส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิต สัตว์ที่เกิดความเครียดจากความร้อนยังมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลง เนื่องจาก ระบบทางเดินอาหารที่บกพร่องจากปรกติ ดังนั้น ระหว่างที่สัตว์ร้อน จึงพยายามปั๊มความร้อนย้อนเลือดจากทางเดินอาหารไปยังผิวหนัง เพื่อให้ความร้อนแผ่รังสีออกไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น และลดการไหลเวียนเลือดไปยังทางเดินอาหาร

ภาวะอัลคัลโลซิสในระบบหายใจ ในช่วงอากาศร้อน

              ภาวะอัลคัลโลซิสในระบบหายใจ (respiratory alkalosis) เปรียบเทียบกับความรู้สึกหัวเบาลงภายหลังการเป่าลูกโป่ง ภาวะดังกล่าวเป็นผลมาจากการหายใจเอาอากาศออกเพิ่มขึ้น คล้ายกับการหอบหายใจของสัตว์ ภาวะอัลคาโลซิส เป็นการเพิ่มขึ้นของระดับพีเอช เนื่องจาก การสูญเสียแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดจากการหายใจออกเพิ่มขึ้น ระดับพีเอชในเลือดถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจาก มีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางชีวเคมีทุกปฏิกิริยาในร่างกาย มีกลไกที่ควบคุมภาวะอัลคาโลซิสหลายอย่างขณะสัตว์หอบหายใจ แต่กลไกเหล่านี้มีราคาที่ต้องจ่าย และทำให้ประสิทธิภาพลดลง

ความเชื่อมโยงระหว่างการอักเสบ และความเครียดจากความร้อน

              หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของลำไส้คือ การเป็นด่านป้องกันภายในร่างกายต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกในช่องทางเดินอาหาร ความร้อนส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของลำไส้ให้ลดลง และปล่อยให้เชื้อจุลินทรีย์ และแอนติเจนชนิดต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบ

              การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของต่อมไร้ท่อด้วยความเครียดจากความร้อน เนื่องจาก ต่อมไร้ท่อเป็นศูนย์กลางการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย จึงได้รับอิทธิพลอย่างมากโดยความเครียดจากความร้อน โดยเฉพาะ ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ที่มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายโดยการปรับอัตราการเผาผลาญพื้นฐานภายในร่างกาย เมื่อสัตว์ประสบกับปัญหาความร้อนก็จะลดระดับของฮอรโมนจากต่อมไทรอยด์ และการสร้างความร้อนลง แม้ว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระยะสั้น เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกาย ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ก็ยังมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ และอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลงในสภาวะอุณหภูมิอบอุ่น การตอบสนองของต่อมไร้ท่ออื่นๆก็สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างความเครียดจากความร้อน เช่น คอร์ติซอล

ผลกระทบของความร้อนต่อสุขภาพสัตว์ปีกพันธุ์      

              ผลกระทบต่อของความร้อนต่ออวัยวะสืบพันธุ์ของสุขภาพสัตว์ปีกพันธุ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ประกอบการผลิตในฟาร์ม ทั้งเรื่องคุณภาพไข่ อัตราการผสมติด และการรอดชีวิตของตัวอ่อน ส่งผลให้จำนวนลูกไก่ที่ได้น้อยลง นอกเหนือนั้น ยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของลูกสัตว์ต่อไปได้ด้วย 

              การป้องกันการผลกระทบของความเครียดจากความร้อน ๓ ประการ ได้แก่ โครงสร้างโรงเรือน พันธุกรรม และอาหารสัตว์ แต่ละวิธีการก็จะมีข้อดี และข้อเสีย แตกต่างกัน ความจริงแล้วก็ควรปฏิบัติให้ครบถ้วน การควบคุมโครงสร้างโรงเรือนอย่างง่ายๆก็จะเป็นการใช้ผ้าบังเป็นร่มเงาเพิ่มขึ้น แล้วติดตั้งสเปรย์หมอก พัดลม เพื่อระบายความร้อนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แม้ว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีมาก แต่ก็เป็นต้นทุนสูงเช่นเดียวกัน สำหรับการปรับปรุงพันธุกรรม สัตว์บางชนิด เช่น โค และแกะ สามารถเลือกใช้สายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อความร้อน แต่ก็ต้องยอมรับว่า ประสิทธิภาพการผลิตก็อาจจะลดลง หรือมีปัญหาด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ยังมีข้อเสียบ้างในการปรับปรุงด้านโภชนาการ เมื่อตัดสินใจเพิ่มต้นทุนอย่างเหมาะสมก็ควรจได้รับผลตอบแทนในทางบวกจากการลงทุน

              มุมมองด้านความเครียดจากความร้อนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ แม้ว่าเป้าหมายที่ท้าทายส่วนใหญ่สำหรับการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ แต่อุณหภูมิโลกก็ยังเพิ่มสูงขึ้น นั่นหมายถึงว่า ไม่ใช่เพียงอุบัติการณ์คลื่นความร้อนจะเพิ่มขึ้น แต่ยังพบว่า ฤดูร้อนยาวนานกว่าปรกติ และผู้ผลิตจำเป็นต้องบริหารจัดการความเครียดจากความร้อนในการเลี้ยงสัตว์ การปรับตัวกลับยุคสมัยนิวนอร์มัลต้องผสมผสานร่วมกัน ปรับแต่งระบบการผลิตสัตว์ที่เหมาะสม และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเผชิญหน้ากับปัญหาความร้อน 

เอกสารอ้างอิง

Cottrell  JJ. 2021. A really hot topic: Heat stress. [Internet]. [Cited 2021 Jun 1]. Available from: https://www.allaboutfeed.net/animal-feed/feed-additives/a-really-hot-topic-heat-stress/

ภาพที่ ๑ นักวิจัยถกประเด็นความเครียดจากความร้อนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก (แหล่งภาพ Phytobiotics)




วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ และอัลตราซาวด์ เพื่อฆ่าเชื้อในโรงเชือด

 การใช้เทคโนโลยีที่ปราศจากสารเคมีนี้ ยังไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพผิวหนัง หรือเนื้อสัตว์อีกด้วย

              เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโดยไม่ใช้สารเคมี สามารถลดการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ปีกได้ ในขั้นตอนการผลิต คลื่นอัลตราซาวด์จะทำงานภายใต้แรงลมที่หมุนเวียนอย่างทั่วถึงรอบผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ปีก ผ่านการสั่นสะเทือนด้วยความถี่สูง ดังนั้นจึงง่ายต่อการปล่อยให้ไอน้ำเข้าไปฆ่าเชื้อโครงสร้างที่ลึกลงไปภายในอย่างละเอียดส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังลงไป

              หลายทศวรรษแล้วที่นักวิทยาศาสตร์พยายามใช้ไอน้ำฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์อาหาร แต่สองสิ่งที่มักเกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าจะเป็นไอน้ำ หรือความเข้มข้นที่ใช้จะเพียงพอหรือไม่ ผู้ผลิตไม่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้หมด หรือต้องใช้เวลานาน ส่งผลต่อความร้อนต่อผลิตภัณฑ์อาหาร และเกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ กลุ่มเทคโนโลยี ซาโนโว ได้พัฒนาเทคโนโลยีในการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ โดยใช้เวลาเพียง ๑ หรือ ๒ วินาที นั่นหมายความว่า การฆ่าเชื้อจะหยุดก่อนที่จะเกิดความร้อนแทรกซึมเข้าไปจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผิวหนัง หนือเนื้อสัตว์ปีกต่อไป

วิธีการฆ่าเชื้อโดยปราศจากคลอรีน

              ปัญหาการดื้อต่อสารต้านจุลินทรีย์ ยา และสารเคมีต่างๆเป็นสิ่งท้าทายใหญ่สำหรับการแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก จำนวนสายพันธุ์ของเชื้อ ซัลโมเนลลา และ แคมไพโลแบคเตอร์ ที่ดื้อยาหลายชนิดเพิ่มมากขึ้น อ้างอิงตามรายงานจากรายงานเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคยุโรป หรืออีซีดีซี และองค์การความปลอดภัยอาหารยุโรป หรืออีเอฟเอสเอ สิ่งที่ ซาโนโว กำลังเฝ้ามองคือ หลายกระบวนการเริ่มต้นด้วยความเข้มข้นที่แนะนำไว้ และเชื้อแบคทีเรียก็พัฒนาความทนทาน หรือต้านทานเพิ่มขึ้นจนกระทั่ง ผู้ประกอบการต้องปรับความเข้มข้นของสารเคมีให้เพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นวงจรแห่งความโชคร้าย และเลวร้ายลงได้ในที่สุด ประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้คือ ไม่ได้ใช้สารเคมีเลย ชาวอเมริกันป่วยจากโรคอาหารเป็นพิษมากกว่า ๔๘ ล้านคนต่อปี และเสียชีวิต ๓,๐๐๐ คน ตามรายงานของศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค หรือซีดีซี เนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อนเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตถึงร้อยละ ๑๙ จากโรคอาหารเป็นพิษ  

การทดสอบประสิทธิภาพการลดเชื้อก่อโรค

              เทคโนโลนีนี้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพจากการติดตั้งระบบให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพใน ๖ โรงงานที่มีการแปรรูปซากสัตว์มาหลายปีแล้ว โดยไม่พบความเสียหาย หรือผลกระทบต่อคุณภาพเนื้อสัตว์เลย นอกจากนั้น การฆ่าเชื้อด้วยระบบไอน้ำร้อน และอัลตราซาวด์ ยังช่วยลดเชื้อก่อโรคสำคัญ เช่น แคมไพโลแบคเตอร์ และจำนวนแบคทีเรียรวมร้อยละ ๙๐ ถึง ๙๕ บนซากสัตว์ปีก ตามรายงานผลการวิจัยทางวิชาการ เมื่อเร็วๆนี้ ยังมีรายงานการศึกษาเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อ เพื่อลดเชื้อ ซัลโมเนลลา และ เอนเทอโรแบคเทอเรียซีอีได้ร้อยละ ๘๕ บนสันในอกไก่งวง การใช้เทคโนโลยีระบบการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ และอัลตราซาวด์ ช่วยลดเชื้อแบคทีเรียลงร้อยละ ๙๕ เมื่อพ่นลงบนชิ้นส่วนไก่ติดผิวหนังสดชิ้นส่วนไก่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ เนื่องจาก ต้องผ่านการแปรรูป และตัดแต่งในห้องคัตอัพ จึงมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนข้าม เนื่องจาก ผ่านสายพานตลอดกระบวนการผลิตทั้งหมด 

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2021. Steam-ultrasound technology targets poultry pathogens. [Internet]. [Cited 2021 Jun 15]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/42953-steam-ultrasound-technology-targets-poultry-pathogens

ภาพที่ ๑ เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ และอัลตราซาวด์ เพื่อฆ่าเชื้อในโรงเชือด   (แหล่งภาพ Ahmet Naim | BigStock.com)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...