วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

นักวิจัยถกประเด็นความเครียดจากความร้อนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก

 นักวิจัยด้านสารเติมอาหารสัตว์ร่วมแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน การอักเสบ ไมโครไบโอตาในลำไส้ สุขภาพสัตว์ และผลการผลิตสัตว์ โดยความเครียดจากความร้อนเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสรีรวิทยา สวัสดิภาพ และผลการผลิต

              ผลกระทบของความร้อนต่อสุขภาพทางเดินอาหารในปศุสัตว์เป็นสิ่งที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง ความเครียดจากความร้อนต่อสัตว์สามารถส่งผลต่อการทำลายผนังลำไส้ได้ สัตว์จะแสดงอาการหอบหายใจจนกระทั่งไม่สามารถรักษาอุณหภูมิใจกลางร่างกายไว้ได้อีก สัตว์แต่ละชนิดก็จะมีความไวรับต่อความร้อนได้แตกต่างกัน สำหรับมนุษย์ยังสามารถขับเหงื่อ เพื่อบรรเทาความร้อนภายในร่างกายได้ แต่สุกร และสัตว์ปีกไม่ได้มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์ ดังนั้น วิธีการขับความร้อนออกจากร่างกายก็ต้องใช้กลไกที่แตกต่างกันออกไป ถึงกระนั้น กลไกการควบคุมความร้อนของร่างกายสุกร และสัตว์ปีกก็มีประสทธิภาพต่ำ จนเกิดผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง เมื่อระบบการควบคุมควมร้อนที่มีความจำเป็นสำหรับชีวิตสัตว์เกินกว่าจะรับมือให้สามารถทำหน้าที่ได้เป็นปรกติ ช่วงตั้งครรภ์ และให้นมลูกก็มีการสร้างความร้อนขึ้นปริมาณมาก สัตว์จะมีความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นได้น้อยลง สัตว์ที่กำลังตั้งท้อง หรือให้นมลูกจะมีความไวต่อความร้อนสูงกว่าปรกติ แม่โคที่กำลังให้นมจึงมีความไวรับต่อความร้อนสูงขึ้น เมื่อมีการผลิตน้ำนมปริมาณมาก แต่ร่างกายที่ใหญ่ก็ยังเก็บกักความร้อนได้มากกว่าสัตว์ที่มีร่างกายขนาดเล็ก

ผลกระทบต่อพฤติกรรม และสรีรวิทยาของความร้อนที่สามารถสังเกตเห็นได้

              การตอบสนองทางพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้ในปศุสัตว์คือ การหอบหายใจ โดยทำงานคล้ายคลึงกับการขับเหงื่อโดยการระเหยเป็นไอน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ผ่านน้ำลาย ความร้อนจะลดความอยากอาหาร และการกินอาหาร จึงแน่ชัดว่าส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิต สัตว์ที่เกิดความเครียดจากความร้อนยังมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลง เนื่องจาก ระบบทางเดินอาหารที่บกพร่องจากปรกติ ดังนั้น ระหว่างที่สัตว์ร้อน จึงพยายามปั๊มความร้อนย้อนเลือดจากทางเดินอาหารไปยังผิวหนัง เพื่อให้ความร้อนแผ่รังสีออกไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น และลดการไหลเวียนเลือดไปยังทางเดินอาหาร

ภาวะอัลคัลโลซิสในระบบหายใจ ในช่วงอากาศร้อน

              ภาวะอัลคัลโลซิสในระบบหายใจ (respiratory alkalosis) เปรียบเทียบกับความรู้สึกหัวเบาลงภายหลังการเป่าลูกโป่ง ภาวะดังกล่าวเป็นผลมาจากการหายใจเอาอากาศออกเพิ่มขึ้น คล้ายกับการหอบหายใจของสัตว์ ภาวะอัลคาโลซิส เป็นการเพิ่มขึ้นของระดับพีเอช เนื่องจาก การสูญเสียแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดจากการหายใจออกเพิ่มขึ้น ระดับพีเอชในเลือดถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจาก มีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางชีวเคมีทุกปฏิกิริยาในร่างกาย มีกลไกที่ควบคุมภาวะอัลคาโลซิสหลายอย่างขณะสัตว์หอบหายใจ แต่กลไกเหล่านี้มีราคาที่ต้องจ่าย และทำให้ประสิทธิภาพลดลง

ความเชื่อมโยงระหว่างการอักเสบ และความเครียดจากความร้อน

              หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของลำไส้คือ การเป็นด่านป้องกันภายในร่างกายต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกในช่องทางเดินอาหาร ความร้อนส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของลำไส้ให้ลดลง และปล่อยให้เชื้อจุลินทรีย์ และแอนติเจนชนิดต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบ

              การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของต่อมไร้ท่อด้วยความเครียดจากความร้อน เนื่องจาก ต่อมไร้ท่อเป็นศูนย์กลางการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย จึงได้รับอิทธิพลอย่างมากโดยความเครียดจากความร้อน โดยเฉพาะ ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ที่มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายโดยการปรับอัตราการเผาผลาญพื้นฐานภายในร่างกาย เมื่อสัตว์ประสบกับปัญหาความร้อนก็จะลดระดับของฮอรโมนจากต่อมไทรอยด์ และการสร้างความร้อนลง แม้ว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระยะสั้น เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกาย ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ก็ยังมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ และอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลงในสภาวะอุณหภูมิอบอุ่น การตอบสนองของต่อมไร้ท่ออื่นๆก็สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างความเครียดจากความร้อน เช่น คอร์ติซอล

ผลกระทบของความร้อนต่อสุขภาพสัตว์ปีกพันธุ์      

              ผลกระทบต่อของความร้อนต่ออวัยวะสืบพันธุ์ของสุขภาพสัตว์ปีกพันธุ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ประกอบการผลิตในฟาร์ม ทั้งเรื่องคุณภาพไข่ อัตราการผสมติด และการรอดชีวิตของตัวอ่อน ส่งผลให้จำนวนลูกไก่ที่ได้น้อยลง นอกเหนือนั้น ยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของลูกสัตว์ต่อไปได้ด้วย 

              การป้องกันการผลกระทบของความเครียดจากความร้อน ๓ ประการ ได้แก่ โครงสร้างโรงเรือน พันธุกรรม และอาหารสัตว์ แต่ละวิธีการก็จะมีข้อดี และข้อเสีย แตกต่างกัน ความจริงแล้วก็ควรปฏิบัติให้ครบถ้วน การควบคุมโครงสร้างโรงเรือนอย่างง่ายๆก็จะเป็นการใช้ผ้าบังเป็นร่มเงาเพิ่มขึ้น แล้วติดตั้งสเปรย์หมอก พัดลม เพื่อระบายความร้อนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แม้ว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีมาก แต่ก็เป็นต้นทุนสูงเช่นเดียวกัน สำหรับการปรับปรุงพันธุกรรม สัตว์บางชนิด เช่น โค และแกะ สามารถเลือกใช้สายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อความร้อน แต่ก็ต้องยอมรับว่า ประสิทธิภาพการผลิตก็อาจจะลดลง หรือมีปัญหาด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ยังมีข้อเสียบ้างในการปรับปรุงด้านโภชนาการ เมื่อตัดสินใจเพิ่มต้นทุนอย่างเหมาะสมก็ควรจได้รับผลตอบแทนในทางบวกจากการลงทุน

              มุมมองด้านความเครียดจากความร้อนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ แม้ว่าเป้าหมายที่ท้าทายส่วนใหญ่สำหรับการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ แต่อุณหภูมิโลกก็ยังเพิ่มสูงขึ้น นั่นหมายถึงว่า ไม่ใช่เพียงอุบัติการณ์คลื่นความร้อนจะเพิ่มขึ้น แต่ยังพบว่า ฤดูร้อนยาวนานกว่าปรกติ และผู้ผลิตจำเป็นต้องบริหารจัดการความเครียดจากความร้อนในการเลี้ยงสัตว์ การปรับตัวกลับยุคสมัยนิวนอร์มัลต้องผสมผสานร่วมกัน ปรับแต่งระบบการผลิตสัตว์ที่เหมาะสม และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเผชิญหน้ากับปัญหาความร้อน 

เอกสารอ้างอิง

Cottrell  JJ. 2021. A really hot topic: Heat stress. [Internet]. [Cited 2021 Jun 1]. Available from: https://www.allaboutfeed.net/animal-feed/feed-additives/a-really-hot-topic-heat-stress/

ภาพที่ ๑ นักวิจัยถกประเด็นความเครียดจากความร้อนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก (แหล่งภาพ Phytobiotics)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...