รายงานราโบแบงค์ชี้ถึงความยากลำบากของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในอินเดีย
การระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในอินเดียกำลังสร้างความยากลำบากสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคครั้งนี้อาจจะไม่ร้ายแรง เนื่องจาก สถานการณ์การระบาดของโรคได้รับการจัดการได้ดีกว่าการระบาดระลอกแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา อ้างอิงตามรายงานไตรมาสที่ ๓ ของราโบแบงค์ สำหรับสัตว์ปีก
ความต้องการภาคธุรกิจต่อผู้บริโภคสำหรับสัตว์ปีก ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในอินเดีย
แต่ความต้องการสำหรับสัตว์ปีกในภาคการผลิตอาหาร ที่มีท่าทีกำลังฟื้นตัวในช่วงสองไตรมาสที่ผ่านมา
แต่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด เนื่องจาก การปิดร้านอาหาร และโรงแรม
นอกจากนั้น โรโบแบงค์ คาดว่า ความต้องการเนื้อไก่จะลดลงในไตรมาสต่อมา เนื่องจากเทศกาลถือศีลอดอาหารตามความเชื่อทางศาสนา ราโบแบงค์ยังคาดต่อไปว่า ความต้องการเนื้อไก่ของผู้บริโภคจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในรอบปีนี้ แต่ความต้องการภาคบริการอาหารยังคงน้อยต่อเนื่อง
ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตสัตว์ปีกอินเดีย
การขาดแคลนลูกไก่ประสบปัญหาในหลายรัฐของอินเดีย เนื่องจาก ความเสียหายของห่วงโซ่ซัพพลาย
อย่างไรก็ตาม ราโบแบงค์ อ้างว่า สถานการณ์จะดีขึ้น เนื่องจาก การยกเลิกคำสั่งล็อคดาวน์
ราคาอาหารสัตว์ในอินเดียก็ส่งมีผลกระทบต่อการผลิตสัตว์ปีกในอินเดีย
เนื่องจาก ราคาถั่วเหลืองพุ่งทะยานในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
และราคาข้าวโพดก็สุงขึ้นเล็กน้อย การจัดการผลิต และราคากากถั่วเหลืองจะเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการผลิตสัตว์ปีกในอินเดียในปีหน้า
ราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกในอนาคตข้างหน้านี้
บริษัท ซูกูนา ฟู้ดส์
เป็นผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดในอินเดีย เชือดไก่เนื้อปีละ ๑๐๐ ล้านตัวต่อปี
รายอื่นๆได้แก่ กลุ่มสกายลาร์ก และก๊อดเรจ อะโกรเวท ปีก่อนหน้านั้นเชือดไก่ได้ ๒๔
และ ๒๑ ล้านตัวต่อปี
เอกสารอ้างอิง
Graber R. 2021. Second COVID-19 wave impacting India’s poultry sector.
[Internet]. [Cited 2021 Jul 6]. Available
from: https://www.wattagnet.com/articles/43170-second-covid-19-wave-impacting-indias-poultry-sector
ภาพที่ ๑ (แหล่งภาพ Andrea Gantz)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น