วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

รัสเซียถกเครียดปัญหายาปฏิชีวนะในฟาร์มไก่ไข่



ตรวจพบอาหารสำหรับไก่ไข่ในรัสเซียมียาปฏิชีวนะในระดับสำหรับการรักษา แม้ว่า กฏหมายรัสเซียจะห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสำหรับแม่ไก่ไข่แล้วก็ตาม
                กรมตรวจสอบความปลอดภัยอาหารสัตว์ และสารเติมอาหารสัตว์ ศูนย์ควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยา และอาหารสัตว์ รัสเซีย ตรวจพบการใช้ยาปฏิชีวนะผิดกฏหมายในอาหารที่ระดับสูงหลายแห่ง โดยเฉพาะใน Primorsky Territory เจ้าหน้าที่ตรวจพบยาปฏิชีวนะสูงถึงระดับการรักษา นอกจากนั้น อาหารสำเร็จรูปสำหรับแม่ไก่ไข่ก็มักตรวจพบยาปฏิชีวนะในระดับสำหรับการรักษาเป็นประจำ แม้ว่าจะเป็นสิ่งผิดกฏหมายก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญอ้างว่า ปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องตามกฏหมายยังคงที่ อย่างไรก็ตาม มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผิดกฏหมายจำนวนมากเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็นสองเท่าของปีที่ผ่านมา ขณะนี้มีความพยายามในการค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างหน่วยงานสัตวแพทย์ และภาคธุรกิจ  ขณะนี้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ และจำเป็นต้องใช้กฏหมายพิเศษ
 แหล่งที่มา:          Vladislav Vorotnikov (26/3/14)    

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

จีนให้ห้าบริษัทบราซิลส่งไก่ขาย



บริษัทผู้เลี้ยงไก่ในบราซิลห้าบริษัทได้รับอนุญาตให้ส่งเนื้อไก่ไปขายในจีนแล้ว ภายหลังความพยายามที่ต้องได้รับความร่วมมือทางด้านเทคนิคหลายๆด้าน นับเป็นกุญแจสำคัญสำหรับความสำเร็จของอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการแข่งขันสูงของบราซิล
                 บริษัทห้าแห่งดังกล่าวเพิ่มเติมจากผู้ส่งออกทั้งหมด ๒๔ รายที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีน สมาคม และกระทรวงการเกษตรบราซิล รวมถึงกระทรงอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศต่อรองกับรัฐบาลจีนเป็นเวลาหลายเดือนจนกระทั่งได้รับการรับรองผู้ผลิตดังกล่าว นับว่าเป็นงานหนักที่ต้องได้รับความร่วมมือทางด้านเทคนิคหลายๆด้าน และเป็นกุญแจสำคัญสำหรับความสำเร็จของอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการแข่งขันสูงของบราซิลที่สามารถผลิตเนื้อไก่ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดค้าไก่ระหว่างประเทศ และจะยังคงมีการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีโรงงานผู้ผลิตสัตว์ปีกจากบราซิลได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น ประเทศจีนนับเป้นประเทศผ็นำเข้าเนื้อไก่จากบราซิลเป็นลำดับที่ ๖ มีมูลค่าการส่งออกรวมเป็นสัดส่วน ๕ เปอร์เซ็นต์ของยอดการส่งออกทั้งหมด รวมแล้วมีปริมาณ ๑๙๐,๓๐๐ ตัน มีมูลค่ารวมกว่าหนึ่งหมื่นสี่พันล้านบาท เพียงสองเดือนแรกของปีนี้ ผู้ผลิตในบราซิลสามารถส่งออกไปแล้ว ๓๒,๓๐๐ ตัน มูลค่ากว่า ๒,๓๐๐ ล้านบาท
แหล่งที่มา: World Poultry (25/3/14)    

รณรงค์ใช้แมลงให้ไก่เลี้ยงอิสระ



 การวิจัยใช้ตัวอ่อนแมลงปีกแข็งผสมในสูตรอาหารแม่ไก่ และวางไว้ทั้งเป็นๆในสนามหญ้าเลี้ยงไก่ วิเคราะห์กระเพาะพักว่าแม่ไก่กินแมลงมากหรือไม่ รวมถึง พฤติกรรมการจิกขน อัตราการหักของกระดูกหน้าอก คุณภาพไข่ไก่ เช่น ความหนาของเปลือกไข่ ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-๓ และโอเมก้า-๔ และสีของไข่แดง วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตไข่ไก่จากไก่เลี้ยงอิสระอย่างยั่งยืนในอนาคต รวมถึง การคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพทางโภชนาการของไก่ และส่งเสริมมาตรฐานการผลิตอินทรีย์   
                การทดลองนี้จะเริ่มต้นไปจนถึงเดือนสิงหาคม โดยใช้ตัวอ่อนแมลงปีกแข็งผสมในสูตรอาหารแม่ไก่ และวางไว้ทั้งเป็นๆในสนามหญ้าเลี้ยงไก่ เป็นอาหารเสริมจากอาหารสูตรมาตรฐาน มีการติดเครื่องหมาย และบันทึกให้สังเกตได้ง่ายว่า การใช้แมลงจะดึงดูดให้ไก่ออกมาสนามหญ้าหรือไม่ นอกจากนี้ นักวิจัยยังวิเคราะห์กระเพาะพักเพื่อตรวจดูว่า แม่ไก่กินแมลงมากหรือไม่ รวมถึง ตรวจสอบพฤติกรรมการจิกขน และอัตราการหักของกระดูกหน้าอก เก็บไข่แบบสุ่ม แล้วตรวจคุณภาพ เช่น ความหนาของเปลือกไข่ ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-๓ และโอเมก้า-๔ และสีของไข่แดง นับจำนวนไข่ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตไข่ไก่จากไก่เลี้ยงอิสระอย่างยั่งยืนในอนาคต รวมถึง การคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ ลดการกินอาหาร (และต้นทุน) และเพิ่มคุณภาพทางโภชนาการของไก่ ตลอดจนเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอินทรีย์   
                โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์การกินแมลงของไก่ไข่ที่เลี้ยงอิสระ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานให้การรับรองอินทรย์ในสหราชอาณาจักร ภายใต้สมาคมดิน
 แหล่งที่มา:            Poultry World (25/3/14)    
 

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

FAO ตัดข้อสงสัยหวัดนก H7N9 คนสู่สัตว์



องค์การอาหารโลก รายงานว่า ไม่มีหลักฐานว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกชนิด เอ สับไทป์ เอช ๗ เอ็น ๙ ที่เป็นเชื้อไวรัสไม่รุนแรงในสัตว์ปีก สามารถติดต่อต่อสู่สัตว์ รวมถึง ไก่
                FAO อ้างถึง ผู้ป่วยรายแรกของ H7N9 นอกประเทศจีน ที่พึ่งตรวจพบในประเทศมาเลเซีย ผู้ป่วยมาจากจังหวัดกวางตุ้งในประเทศจีนที่เชื่อว่าเธอติดเชื้อมาจากที่นั่น ต่อมาได้มาเที่ยวมาเลเซีย และนำส่งโรงพยาบาลที่นั่น กวางตุ้งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศจีนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส H7N9 ในปีนี้นาย Juan Lubroth หัวหน้างานด้านสัตวแพทย์แห่งองค์การอาหารโลก ให้ความเห็นว่า ผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้ทำให้เราแปลกใจไม่น่าวิตกกังวลแต่อย่างใด แต่ก็ทำให้โลกต้องจับตาด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดนก H7N9 จะไม่ถ่ายทอดเชื้อไปยังสัตว์ปีก ความจริงแล้ว ยังไม่มีหลักฐานใดๆแสดงให้เห็นว่า ผู้ติดเชื้อสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสไปยังสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมถึง สัตว์ปีก ความเสี่ยงสูงที่สุดคือ การค้าขายสัตว์ปีกมีชีวิตระหว่างพื้นที่ระบาด และพื้นที่ไม่มีการระบาดของโรค คนสามารถติดเชื้อไวรัสได้ภายหลังการทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ปีกมีชีวิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต หรือขณะฆ่าสัตว์ปีกที่บ้าน การประเมินความเสี่ยงขององค์การอนามัยโลก แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้ติดเชื้อจากพื้นที่ระบาดมีการเดินทางระหว่างประเทศ ก็แพร่กระจายเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจาก เชื้อไวรัสไม่สามารถถ่ายทอดระหว่างคนได้ง่ายๆ ตัวอย่างที่พึ่งเกิดขึ้นที่มาเลเซียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และก่อนหน้านั้นในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ระบาด อย่างจังหวัด Guizhou ในไต้หวัน และฮ่องกง ก็ไม่เห็นว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรค จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก H7N9 นอกประเทศจีนแต่อย่างใด สัตว์ปีกที่ติดเชื้อ H7N9 จะไม่แสดงอาการทางคลินิกทำให้การเฝ้าระวังโรคในฟาร์มได้ยากมาก ดังนั้น FAO จึงกระตุ้นให้ประเทศต่างๆมีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการเฝ้าระวังโรคโดยรวมถึงเชื้อไวรัสอุบัติใหม่นี้ด้วย โดยเฉพาะเป้าหมายสำคัญคือ ตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต และการลดการสัมผัสโรคสัตว์สู่คนด้วยมาตรการควบคุมโรคทางชีวภาพที่ตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต การทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อบ่อยๆ จัดวันพักตลาดที่ไม่มีการค้าขายสัตว์ปีกมีชีวิต และทำความสะอาดอย่างเป็นพิเศษ ด้วยการสนับสนุนจาก USAID ช่วยให้ FAO สามารถให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการเตรียมมาตรการควบคุมการนำโรคไข้หวัดนก H7N9 เข้าสู่ฟาร์ม โดยมุ่งเน้นไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงสูง โดยใช้กลยุทธ์ได้แก่ การประเมินความเสี่ยง แผนฉุกเฉิน การเพิ่มขีดความสามารถในการวินิจฉัยโรค และการเฝ้าระวังโรคโดยอาศัยความเสี่ยง
แหล่งที่มา:            World Poultry (20/2/14)    

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

มาเลเซียผลิตไก่ได้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศแล้ว



มาเลเซียสามารถผลิตเนื้อสัตว์ปีกปริมาณมากได้ด้วยตนเองแล้ว แม้ว่า การขยายตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ ไปตามความต้องการของตลาดภายในประเทศ
                การผลิตเนื้อสัตว์ปีกเกือบทั้งหมดเป็นไก่เนื้อ คาดว่า จะเติบโตในอัตราปานกลางประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ โดยคาดหมายว่า ปริมาณการผลิต ๑.๔๔ ล้านตัน แม้ว่า ยังเชื่อว่าอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มเจริญเติบโตต่อไป แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้ เนื่องจาก นโยบายการลดการอุดหนุนด้านพลังงาน การลดค่าเงินมาเลเซีย และการแข่งขันใจตลาด ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นในปีนี้ โดยต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นจาก ๑.๔๕ เหรียญต่อกิโลกรัมในปี พ.ศ.๒๕๕๕ เป็น ๑.๖๐ เหรียญต่อกิโลกรัมในปี พ.ศ.๒๕๕๖ และคาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น ๑.๖๘ เหรียญต่อกิโลกรัม  
อาหารสัตว์
                ขณะที่การนำเข้ากากถั่วเหลือง และข้าวโพด มีสัดส่วนประมาณ ๖๕ เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิต ราคาข้าวโพดลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจาก ปัญหาค่าเงินมาเลเซียต่ำ บรรเทาลง ภาคสัตว์ปีกมีการใช้อาหารสัตว์ประมาณ ๔ ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการสำหรับอาหารสัตว์ตามที่คาดไว้ประมาณ ๒ ถึง ๓ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ต้นทุนอาหารสัตว์เกือบทั้งหมดมาจากการนำเข้า โดยกากถั่วเหลือง และข้าวโพดนำเข้ามาจากประเทศอาร์เจนตินา
การผลิต
                เกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของการผลิตเกิดขึ้นในแหลมมาลายู ส่วนที่เหลือผลิตในแถบตะวันออก จำนวนไก่ที่เลี้ยง ไก่เนื้อประมาณ ๖๗ เปอร์เซ็นต์ ไก่ไข่ ประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ และไก่พันธุ์ ประมาณ ๘ เปอร์เซ็นต์ของประชากรสัตว์ปีกทั้งหมด แหลมมาลายูมีฟาร์มไก่ทั้งหมด ๓,๒๐๐ ฟาร์ม รวมถึง ฟาร์มไก่ประกัน และฟาร์มอิสระ และฟาร์มบริษัทครบวงจรขนาดใหญ่
                การเจริญเติบโตของภาคสัตว์ปีก คาดว่า การผลิตไข่ไก่จะเติบโตขึ้นที่อัตรา ๓ เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ มีปริมาณการผลิต ๖๗๙,๘๐๓ ตัน
การบริโภค
                ไก่เป็นแหล่งโปรตีนหลักสำหรับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ อัตราการบริโภคต่อคนสูงมาก การบริโภคคาดว่าจะมีการเจริญเติบโตจาก ๑.๔ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๕๖ เป็น ๑.๔๓ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ที่อัตรา ๔๐ กิโลกรัมต่อปีต่อคนเป็นหนึ่งในประเทศที่บริโภคสูงที่สุดในโลก และคงเพิ่มมากไปกว่านี้ได้ยาก การเติบโตของการบริโภคที่น้อยสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ช้าลง เนื้อสัตว์ปีกเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญสำหรับทุกชาติพันธุ์ และเป็นเนื้อสัตว์ที่โดดเด่นในร้านค้า เนื้อไก่มีราคาถูกกว่าเนื้อวัว และเนื้อหมู และราคาไก่ก็มีความคงเส้นคงวามากกว่า การนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกทั้งหมด ต้องดำเนินการโดยรัฐบาลมาเลเซีย (GOM) ที่ให้การรับรองโรงงานที่เป็นไปตามหลักการฆ่าแบบฮาลาล การนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกมีการควบคุมอย่างเข้มงวด โดยมีประเทศจีน ตามมาด้วย ไทย เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้ส่งออกรายสำคัญ
แหล่งที่มา:            World Poultry (24/3/14)    

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...