อาหารโปรตีนต่ำสำหรับไก่พันธุ์เนื้อส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกาย
ระหว่างการเลี้ยงในระยะรุ่น ส่งผลดีต่อการฟักระหว่างช่วงแรกของการให้ผลผลิต
และผลผลิตไข่ในช่วงที่สองของการวางไข่
นักวิจัยด้านปศุสัตว์ในเนเธอร์แลนด์
ได้ศึกษาผลของการใช้อาหารโปรตีนสองสูตร ได้แก่ สูตรอาหารโปรตีนสูง
และต่ำระหว่างการเลี้ยงในระยะรุ่นต่อการกินอาหาร
โครงสร้างร่างกายเมื่อสิ้นสุดระยะการเลี้ยงไก่รุ่น
และประสิทธิภาพการให้ผลผลิตในไก่พันธุ์เนื้อเพศเมีย โดยใช้ลูกไก่พันธุ์รอส ๓๐๘ ใช้เพศเมียทั้งหมด
๒,๘๘๐ ตัว แบ่งเป็น ๓๖ กรง เลี้ยงจนถึงอายุ ๖๐ สัปดาห์
ผลของการใช้อาหารโปรตีนต่ำ
การทดลองเลี้ยงไก่ตามน้ำหนักให้เป็นไปตามมาตรฐานอายุไก่ที่
๒๒ สัปดาห์ การกินอาหารเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ๑๒.๘
เปอร์เซ็นต์สำหรับไก่รุ่นที่ให้อาหารสูตรโปรตีนต่ำ ที่อายุ ๒๒ สัปดาห์
ไก่ที่ให้อาหารสูตรโปรตีนต่ำมีน้ำหนักกล้ามเนื้อหน้าอกน้อยลง ๑๕ เปอร์เซ็นต์
แต่มีไขมันช่องท้องมากขึ้น ๘๖ เปอร์เซ็นต์
เปรียบเทียบกับไก่ที่ใช้สูตรอาหารโปรตีนสูง ส่งผลให้อัตราการฟักเพิ่มขึ้น ๑.๓
เปอร์เซ็นต์ เนื่องจาก อัตราการตายตัวอ่อนในระยะแรกที่ลดลง (อายุ ๒๓ ถึง ๔๕
สัปดาห์) นอกเหนือจากนั้น การใช้สูตรอาหารโปรตีนต่ำ สามารถเพิ่มผลผลิตไข่ ๓.๖
ฟองระหว่างการไข่ระยะที่สอง (๔๖ ถึง ๖๐ สัปดาห์) เมื่อคำนวณแล้ว แสดงให้เห็นว่า
การให้อาหารสูตรโปรตีนต่ำ ช่วยเพิ่มกำไร ๐.๕๓ ปอนด์ต่อไก่พันธุ์ ๑ ตัว หรือประมาณ
๑๒,๕๐๐ ปออนด์สำหรับไก่พันธุ์เนื้อ ๑ ฟาร์ม
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกาย
และระบบสืบพันธุ์
นักวิจัยยังสังเกตพบว่า
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ศักยภาพทางพันธุกรรมของไก่พันธุ์เนื้อดีขึ้น เนื่องจาก
การคัดเลือกอัตราการเจริญเติบโตของรุ่นลูก การเจิญเติบโตของไก่เนื้อลดลงจาก ๘๔
วันลงเหลือ ๓๓ วัน เพื่อให้ได้น้ำหนัก ๑.๘ กิโลกรัม ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารลดลงในช่วงเวลาเดียวกันจาก
๓.๒๕ เหลือเพียง ๑.๕ เท่านั้น และอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเพิ่มขึ้นจาก ๒๑ กรัมเป็น
๕๕ กรัม การคัดเลือกทางพันธุกรรมได้เพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร
การเจริญเติบโต และสัดส่วนไขมันในร่างกาย มิได้ส่งผลต่อลูกไก่เท่านั้น แต่ส่งผลดีต่อไก่พ่อแม่พันธุ์
(พันธุ์เนื้อ) ด้วย โดยช่วยปรับความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย มีไขมันมากขึ้น
แต่กล้ามเนื้อหน้าอกน้อยลงในแม่ไก่ระยะรุ่น ซึ่งส่งผลดีต่อระบบสืบพันธุ์
แหล่งที่มา: World Poultry (24/3/14)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น