การวิจัยใช้ตัวอ่อนแมลงปีกแข็งผสมในสูตรอาหารแม่ไก่
และวางไว้ทั้งเป็นๆในสนามหญ้าเลี้ยงไก่ วิเคราะห์กระเพาะพักว่าแม่ไก่กินแมลงมากหรือไม่
รวมถึง พฤติกรรมการจิกขน อัตราการหักของกระดูกหน้าอก คุณภาพไข่ไก่ เช่น
ความหนาของเปลือกไข่ ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-๓
และโอเมก้า-๔ และสีของไข่แดง วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตไข่ไก่จากไก่เลี้ยงอิสระอย่างยั่งยืนในอนาคต
รวมถึง การคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพทางโภชนาการของไก่ และส่งเสริมมาตรฐานการผลิตอินทรีย์
การทดลองนี้จะเริ่มต้นไปจนถึงเดือนสิงหาคม
โดยใช้ตัวอ่อนแมลงปีกแข็งผสมในสูตรอาหารแม่ไก่ และวางไว้ทั้งเป็นๆในสนามหญ้าเลี้ยงไก่
เป็นอาหารเสริมจากอาหารสูตรมาตรฐาน มีการติดเครื่องหมาย
และบันทึกให้สังเกตได้ง่ายว่า การใช้แมลงจะดึงดูดให้ไก่ออกมาสนามหญ้าหรือไม่
นอกจากนี้ นักวิจัยยังวิเคราะห์กระเพาะพักเพื่อตรวจดูว่า แม่ไก่กินแมลงมากหรือไม่
รวมถึง ตรวจสอบพฤติกรรมการจิกขน และอัตราการหักของกระดูกหน้าอก เก็บไข่แบบสุ่ม
แล้วตรวจคุณภาพ เช่น ความหนาของเปลือกไข่ ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-๓
และโอเมก้า-๔ และสีของไข่แดง นับจำนวนไข่ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตไข่ไก่จากไก่เลี้ยงอิสระอย่างยั่งยืนในอนาคต
รวมถึง การคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ ลดการกินอาหาร (และต้นทุน) และเพิ่มคุณภาพทางโภชนาการของไก่
ตลอดจนเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอินทรีย์
โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์การกินแมลงของไก่ไข่ที่เลี้ยงอิสระ
ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานให้การรับรองอินทรย์ในสหราชอาณาจักร ภายใต้สมาคมดิน
แหล่งที่มา: Poultry World (25/3/14)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น