มูลค่าสินค้าจากเนื้อสัตว์ทั่วโลกมูลค่าหลายพันล้านเหรียญต่อปี
ทั้งการเลี้ยง การเชือด และการแปรรูป ทำให้มีผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ (By-products)
จากสินค้าทั้งหัว เท้า เครื่องใน และขน ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้เหล่านี้มักปนเปื้อน
และบูดเน่า ส่งกลิ่นเหม็น
จุลชีพจากผิวหนัง ลำไส้
อุปกรณ์การแปรรูป และสิ่งแวดล้อม มักปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากการผลิต
เนื่องจาก กระบวนการผลิตที่เร่งรีบ และอุณหภูมิแวดล้อม
การบูดเน่ามักร่วมกับการผลิตกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจาก จุลชีพบางชนิดมีการผลิตแก๊สไข่เน่าขึ้นมา
โดยเฉพาะในโรงเรนเดอริง ปริมาณแก๊สอาจสูงจนถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อคนงาน
เนื่องจาก ความเป็นพิษตามธรรมชาติของแก๊ส
การควบคุมการบูดเน่า
และเชื้อโรคในเนื้อดิบเป็น มีการประยุกต์ใช้วิธีการถนอมอาหารด้วยวิธีต่างๆ เช่น การหีบห่อภายใต้สุญญากาศ
แบคทีเรียผลิตกรดแล็กติก น้ำมันระเหยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เกลือไนไตรต
กรดอินทรีย์ และยาปฏิชีวนะ แต่การใช้วิธีการทางชีวภาพอย่างแบคเทอริฝาจ
ในผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากเนื้อดิบ ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน
แบคเทอริโอฝาจค้นพบในปี ค.ศ. ๑๙๑๕ สำหรับการควบคุมเชื้อโรคในมนุษย์มาแล้วเป็นเวลานาน
แม้ว่า มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการบำบัดด้วยฝาจ ได้แก่
อุณหภูมิ ความชื้น และคุณสมบัติการจับกันระหว่างฝาจ และเซลล์แบคทีเรีย การใช้แบคเทอริโอฝาจในการควบคุมจุลชีพที่เป็นสาเหตุของการบูดเน่า
และยืดอายุผลิตภัณฑ์เนื้อมีรายงานว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยใช้แบคเทอริโอฝาจรวมเป็นคอคเทลในการควบคุมแก๊สไข่เน่ากับผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากสัตว์ปีกในห้องปฏิบัติการ
และระบบเรือนกระจก แล้วสร้างสภาวะจำลองระหว่างการขนส่ง และภายในโรงเรนเดอริง ในห้องปฏิบัติการ
การบำบัดด้วยฝาจกับเนื้อไก่สด เนื้อไก่บูดเสีย ลำไส้ไก่
และขนไก่ช่วยลดการผลิตแก๊สไข่เน่าลงได้ประมาณ ๒๕ ถึง ๖๙
เปอร์เซ็นต์ที่อุณหภูมิระหว่าง ๒๐ ถึง ๓๗ องศาเซลเซียส ในห้องเรือนกระจก การบำบัดด้วยฝาจประสบความสำเร็จในการลดแก๊สเน่าลงได้
๓๐ ถึง ๘๕ เปอร์เซ็นต์ในเครื่องในไก่ และขน ผลการทดลองครั้งนี้ แสดงว่า ฝาจคอคเทล
สามารถลดการผลิตแก๊สไข่เน่าลงได้อย่างมีนัยสำคัญในเนื้อดิบที่อุณภูมิห้อง ช่วยสร้างความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน
และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่สูงขึ้น โดยเสียคุณค่าทางโภชนการน้อยลงสำหรับอุตสาหกรรมเรนเดอริง
แหล่งที่มา: World Poultry (11/3/14)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น