วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

FAO ตัดข้อสงสัยหวัดนก H7N9 คนสู่สัตว์



องค์การอาหารโลก รายงานว่า ไม่มีหลักฐานว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกชนิด เอ สับไทป์ เอช ๗ เอ็น ๙ ที่เป็นเชื้อไวรัสไม่รุนแรงในสัตว์ปีก สามารถติดต่อต่อสู่สัตว์ รวมถึง ไก่
                FAO อ้างถึง ผู้ป่วยรายแรกของ H7N9 นอกประเทศจีน ที่พึ่งตรวจพบในประเทศมาเลเซีย ผู้ป่วยมาจากจังหวัดกวางตุ้งในประเทศจีนที่เชื่อว่าเธอติดเชื้อมาจากที่นั่น ต่อมาได้มาเที่ยวมาเลเซีย และนำส่งโรงพยาบาลที่นั่น กวางตุ้งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศจีนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส H7N9 ในปีนี้นาย Juan Lubroth หัวหน้างานด้านสัตวแพทย์แห่งองค์การอาหารโลก ให้ความเห็นว่า ผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้ทำให้เราแปลกใจไม่น่าวิตกกังวลแต่อย่างใด แต่ก็ทำให้โลกต้องจับตาด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดนก H7N9 จะไม่ถ่ายทอดเชื้อไปยังสัตว์ปีก ความจริงแล้ว ยังไม่มีหลักฐานใดๆแสดงให้เห็นว่า ผู้ติดเชื้อสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสไปยังสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมถึง สัตว์ปีก ความเสี่ยงสูงที่สุดคือ การค้าขายสัตว์ปีกมีชีวิตระหว่างพื้นที่ระบาด และพื้นที่ไม่มีการระบาดของโรค คนสามารถติดเชื้อไวรัสได้ภายหลังการทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ปีกมีชีวิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต หรือขณะฆ่าสัตว์ปีกที่บ้าน การประเมินความเสี่ยงขององค์การอนามัยโลก แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้ติดเชื้อจากพื้นที่ระบาดมีการเดินทางระหว่างประเทศ ก็แพร่กระจายเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจาก เชื้อไวรัสไม่สามารถถ่ายทอดระหว่างคนได้ง่ายๆ ตัวอย่างที่พึ่งเกิดขึ้นที่มาเลเซียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และก่อนหน้านั้นในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ระบาด อย่างจังหวัด Guizhou ในไต้หวัน และฮ่องกง ก็ไม่เห็นว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรค จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก H7N9 นอกประเทศจีนแต่อย่างใด สัตว์ปีกที่ติดเชื้อ H7N9 จะไม่แสดงอาการทางคลินิกทำให้การเฝ้าระวังโรคในฟาร์มได้ยากมาก ดังนั้น FAO จึงกระตุ้นให้ประเทศต่างๆมีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการเฝ้าระวังโรคโดยรวมถึงเชื้อไวรัสอุบัติใหม่นี้ด้วย โดยเฉพาะเป้าหมายสำคัญคือ ตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต และการลดการสัมผัสโรคสัตว์สู่คนด้วยมาตรการควบคุมโรคทางชีวภาพที่ตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต การทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อบ่อยๆ จัดวันพักตลาดที่ไม่มีการค้าขายสัตว์ปีกมีชีวิต และทำความสะอาดอย่างเป็นพิเศษ ด้วยการสนับสนุนจาก USAID ช่วยให้ FAO สามารถให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการเตรียมมาตรการควบคุมการนำโรคไข้หวัดนก H7N9 เข้าสู่ฟาร์ม โดยมุ่งเน้นไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงสูง โดยใช้กลยุทธ์ได้แก่ การประเมินความเสี่ยง แผนฉุกเฉิน การเพิ่มขีดความสามารถในการวินิจฉัยโรค และการเฝ้าระวังโรคโดยอาศัยความเสี่ยง
แหล่งที่มา:            World Poultry (20/2/14)    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...