วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หมดยุคเชื้อเพลิงชีวภาพแย่งแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์



คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอร่างนโยบายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากอาหารต้องไม่เกินครึ่งหนึ่งของเป้าหมาย ๑๐ เปอร์เซ็นต์ภายใต้กฏระเบียบว่าด้วยพลังงานทางเลือก
        ซับพลายส่วนที่เหลือจะถูกจำกัดเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพช่วงหน้าที่รู้จักกันในชื่อ เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สอง (Second generation biofuels)” คณะกรรมาธิการยังนำเสนอให้มีการเพิ่มเป้าหมายว่า เชื้อเพลิงชีวภาพต้องเป็นไปตามเป้าหมายก่อนจะได้รับงบสนับสนุน
      เชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบันต้องลดผลกระทบปัญหากรีนเฮาส์ให้ได้ประมาณ ๓๕ เปอร์เซ็นต์เทียบกับเชื้อเพลิงปรกติ กฏระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยแก๊สกรีนเฮาส์ทางอ้อมจากเชื้อเพลิงชีวภาพกำลังส่งให้คณะกรรมการด้านสภาวะอากาศแห่งสหภาพยุโรปที่กำลังเรียกร้องว่า เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่หนึ่งไม่ใช่ความหวังสำหรับอนาคตของยุโรปอีกต่อไปนั่นหมายความว่า เชื้อเพลิงชีวภาพที่ใช้ในสหภาพยุโรปจะต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน  เชื้อเพลิงชีวภาพบางชนิดที่ยังได้รับงบสนับสนุนจากสหภาพยุโรปยังเลวร้ายกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลเสียอีก ร่างกฏระเบียบที่จะเป็นการแก้ไขกฏระเบียบว่าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ และคุณภาพของพลังงาน ประกอบด้วย มาตรการมากมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันสหภาพยุโรปจ่ายเงินให้กับแหล่งเชื้อเพลิงที่กำลังแย่งแหล่งวัตถุดิบอาหาร
v  สัดส่วนเชื้อเพลิงชีวภาพของสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ มีมูลค่าการตลาดประมาณ ๔ เปอร์เซ็นต์
v  ยกเลิกการชดเชยเชื้อเพลิงชีวภาพภายหลังปี ค.ศ. ๒๐๒๐ แม้ว่า จะสามารถแสดงให้เห็นว่า ช่วยลดแก๊สกรีนเฮาส์ลงได้ก็ตาม
v  เพิ่มเครดิตชดเชยสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สองเป็นสี่เท่า
v  ทบทวนนโยบาย และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางอ้อมที่จะมีผลในปี ค.ศ. ๒๐๑๗  
สำหรับขั้นตอนถัดไป
v  ในวันที่ ๑ กรกฏาคม ค.ศ.๒๐๑๗ การติดตั้งเชื้อเพลิงชีวภาพใหม่ต้องบรรลุ ๖๐ เปอร์เซ็นต์สำหรับการลดแก๊สกรีนเฮาส์
v  ในวันที่ ๑ ธันวาคม  ค.ศ.๒๐๑๗ การติดตั้งเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่ ๑ กรกฏาคม ค.ศ.๒๐๑๔ ต้องสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการลดแก๊สกรีนเฮาส์ลงได้ ๓๕ เปอร์เซ็นต์
v  ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๑๗ คณะกรรมาธิการจะส่งผลการทบทวนนโยบาย และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางอ้อมต่อรัฐสภา และสภาสหภาพยุโรป   
v  ในวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๒๐๑๘ การติดตั้งเชื้อเพลิงชีวภาพใหม่ก่อนวันที่ ๑ กรกฏาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ ต้องบรรลุ ๕๐ เปอร์เซ็นต์สำหรับการลดแก๊สกรีนเฮาส์
v  ในวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๒๐๒๐ เป็นเส้นตายกำหนดให้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งในยุโรป สัดส่วน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ต้องมาจากแหล่งพลังงานใหม่
v  ปี ค.ศ. ๒๐๒๐ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปจะไม่ให้เงินอุดหนุนสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพจนกว่าจะสามารถแสดงให้เห็นว่า สามารถลดแก๊สกรีนเฮาส์ลงได้

แหล่งที่มา             All about Feed (25/10/12)  
 

กระเทียมสามารถยับยั้งพิษจากซีราลีโนน



นักวิจัยตูนิเซียศึกษาการป้องกันความเป็นพิษจากซีราลีโนนโดยใช้สารสกัดจากกระเทียม (Allium sativum) โดยอาศัยกลไกของ Oxidative stress
                สารพิษจากเชื้อราซีราลีโน (ZEN) เป็นสารพิษจากเชื้อราที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ผลิตโดยเชื้อรากลุ่มฟูซาเรียม (Fusarium) ในข้าวโพด และวัตถุดิบอาหารสัตว์หลายชนิด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อทั้งสัตว์ และมนุษย์  
                รายงานวิจัยหลายฉบับ แสดงให้เห็นว่า ความเป็นพิษของ ZEN เกิดจากกลไกการทำลายของ Oxidative damage ทั้งในห้องทดลอง และสัตว์ทดลอง จึงเป็นที่มาของการวิจัย เพื่อประเมินผลการป้องกันความเป็นพิษโดยใช้สารสกัดของ Allium sativum (AEA) ต่อความเป็นพิษต่อเซลล์ที่เหนี่ยวนำโดย ZEN รวมถึง การสร้าง Reactive oxygen spexies (ROS) และการแตกหักของดีเอ็นเอในเซลล์เพาะเลี้ยง Vero cells สำหรับความเป็นพิษต่อเซลล์อาศัยเทคนิค MTT viability assay การตรวจวัดการสร้าง ROS และการเหนี่ยวนำปฏิกิริยา catalase activity เพื่อตรวจสอบว่า การเหนี่ยวนำ oxidative stress เกี่ยวข้องกับความเสียหายของดีเอ็นเอหรือไม่ นักวิจัยใช้เทคนิค Comet test สำหรับการตรวจสอบการแตกหักของดีเอ็นเอ   
ผลการวิจัย
                ผลการทดลอง บ่งชี้ว่า ZEN เหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษหลายชนิด และยังเปลี่ยนแปลงกลไกของ oxidative stress อีกด้วย การใช้สารสกัดจากกระเทียม ที่ขนาดต่ำที่สุด ๒๕๐ ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรก็เพียงพอที่จะสามารถลดความเสียหายจากความเป็นพิษของ ZEN โดยเฉพาะลดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ
สรุปผลการวิจัย
                สารสกัดจากกระเทียมมีประสิทธิภาพต่อการป้องกันอันตรายจากสารพิษ ZEN ได้ การวิจัยนี้ เป็นหนึ่งในการแสวงหาผลิตภัณฑ์จากสารธรรมชาติเพื่อต่อสู้กับความเป็นพิษจากกระบวนการ oxidative stress ซึ่งสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้สำหรับการป้องกันโรคหลายชนิดในมนุษย์ได้อีกด้วย
แหล่งที่มา             All about Feed (24/10/12)  
 

สั่งทำลายสัตว์ปีกในฟาร์มรัสเซียจากปัญหาภาระหนี้สิน



ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซีย Kirovhleb ได้รับคำสั่งให้ทำลายสัตว์ปีกที่เหลือทั้งหมดในฟาร์มห้าแห่ง เนื่องจาก หนี้สินก้อนโต และไม่มีกำลังซื้ออาหารสัตว์อีกต่อไป
                ผลสืบเนื่องมาจากการตายของสัตว์ปีกตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมเป็นต้นมา บริษัทได้สูญเสียสัตว์ปีกพันธุ์สูงถึง ๑๗ เปอร์เซ็นต์หรือกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว ปัจจุบัน ยังมีสัตว์ปีกเหลืออยู่อีกราว ๕๐๐,๐๐๐ ตัว เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สถานะหนี้สินของบริษัทสูงขึ้น และเลวร้ายลง จำเป็นต้องจ่ายเงินสำหรับค่าไฟฟ้าราว ๒๑๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ หนี้สินก้อนนี้ส่งผลต่อเม็ดเงินที่จะต้องใช้ซื้ออาหารสัตว์ไม่เพียงพอ จึงมีรายงานข่าวออกมาว่า สาเหตุที่สัตว์ปีกตายเป็นผลมาจากการอดอาหารที่ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องภายในบริษัท โดยเฉพาะที่ฟาร์ม Falenskay ไม่มีอาหารให้สัตว์มาแล้วสามวัน ปัจจุบัน บริษัทมีความสามารถในการซื้ออาหารได้เพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของปริมาณความต้องการทั้งหมด หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอีก พนักงานนายสัตวแพทย์รัฐจะพิจารณาขอคำสั่งศาลให้ Kirovhleb ทำลายสัตว์ทั้งหมดในฟาร์ม
  

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บัลกาเรียเกรงอียูแบนตับห่าน



ผู้ผลิตฟัวกรา หรือตับห่านในบัลกาเรียกำลังวิตกว่า สหภาพยุโรปจะแบนการผลิต และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
                บริษัท Balkan country เป็นประเทศผู้ผลิตฟัวกรา หรือตับห่านที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรป มีพนักงานร่วม ๕ พันคน แม้ว่า ขณะนี้ ห่าน และเป็ดในบัลกาเรียจะไม่ได้เลี้ยงให้มีชีวิตในกรงอีกแล้ว และได้แต่หวังว่า การแบนการผลิตจะไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม นักสวัสดิภาพสัตว์ก็ได้พยายามกดดันอย่างหนักหน่วงโดยอ้างว่า กระบวนการให้บังคับให้อาหารห่าน และเป็ดเป็นวิธีการที่ทรมานสัตว์ จึงเรียกร้องให้มีการแบนการผลิต และการจำหน่ายฟัวกราในสหภาพยุโรปทั้งหมด ในปัจจุบัน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์สำหรับผลิตฟัวกราได้ถูกแบนไปแล้ว ๒๒ ประเทศในสหภาพยุโรป
แหล่งที่มา             Sofia News Agency (23/10/12)

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พบซัลโมเลลาในผลิตภัณฑ์ไข่เหลวที่สหราชอาณาจักร

หน่วยงาน Health Protection Agency (HPA) แห่งสหราชอาณาจักร รายงานการตรวจพบเชื้อ Salmonella Enteritidis PT11 ภายหลังการบริโภคผลิตภัณฑ์ไข่เหลวพาสเจอไลส์
                FSA เรียกคืนผลิตภัณฑ์ชื่อว่า Myprotein ที่เป็นไข่ขาวเหลวจากฟาร์มไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ทำให้บริษัทผู้ผลิตไม่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์นี้ได้อีก ขณะนี้ FSA กำลังสืบหาแหล่งต้นตอของไข่ที่ใช้ในการผลิต
                Dr. Bob Adak หัวหน้าภาควิชาโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้ที่ HPA กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ไข่นี้ได้ถูกเรียกคืน และเราหวังว่าจะไม่มีการหมุนเวียนของเชื้อในวงจรการผลิตเพิ่มเติมอีก เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ หากมีใครที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไว้ที่บ้าน ก็ควรทิ้งไปเสียดีกว่า จนถึงปัจจุบัน ยังมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มเติม และยังคงมีการเฝ้าระวังว่าจะไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ ขณะนี้ ได้มีการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับอาหาร ในอดีตเคยมีการระบาดของเชื้อซัลโมเนลลาที่เชื่อมโยงกับไข่ขาวเหลวมาแล้วในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น ๗๐ ราย
แหล่งที่มา World Poultry (23/10/12)

ต้นทุนไก่เนื้อไทยสูงขึ้น หลังราคาตกต่ำ



อุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อในประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจาก ราคากากถั่วเหลือง และข้าวโพดสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาของไก่มีชีวิต และเนื้อไก่ก็กำลังลดลง เนื่องจาก การผลิตไก่เนื้อเกินความต้องการมากเกินไป
                USDA คาดว่า การผลิตไก่เนื้อในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ตัวเลขอย่างเป็นทางการประมาณ ๑.๔ เมตริกตัน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการคาดว่าจะสูงถึง ๑.๕๕ ล้านตัน และ ๑.๔๕ ล้านตัน
                ตัวเลขอย่างเป็นทางการสำหรับการส่งออกมีการเติบโต ๑๕ เปอร์เซ็นต์เป็น ๕๔๐,๐๐๐ เมตริกตันในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ เนื่องจาก สหภาพยุโรป และหลายประเทศยกเลิกการห้ามการนำเข้าเนื้อไก่สด การบริโภคภายในประเทศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก การขยายตัวของร้านอาหารจานด่วน (Quick serving restaurants, QSR) และตลาดอาหารพร้อมบริโภค (RTE) จากเนื้อไก่ที่มีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ 
                การขยายกำลังการผลิตในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ และต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ประกอบกับอุบัติการณ์โรคระบาดที่ลดลง ส่งผลทำให้มีการผลิตเนื้อไก่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดการณ์ว่า ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะค่อยๆลดการผลิตเนื้อไก่ลงในไตรมาสสุดท้ายของ ค.ศ. ๒๐๑๒ และตลอดปี ค.ศ.๒๐๑๓ เนื่องจาก การตกต่ำของราคาเนื้อไก่ และการเพิ่มสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะ กากถั่วเหลือง และข้าวโพด
                ต้นทุนไก่มีชีวิตเฉลี่ยในเจ็ดเดือนแรกของปี ค.ศ. ๒๐๑๒ (มกราคม ถึงกรกฏาคม) ประมาณ ๓๖ ถึง ๓๘ บาทต่อกิโลกรัม ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ ผลกระทบจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นทำให้มีราคาลูกไก่ลดลงอย่างรุนแรงในครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ราคาลูกไก่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ลดต่ำลงเป็น ๖ ถึง ๑๓ บาทต่อตัว เทียบกับราคาเฉลี่ยในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ ราคา ๑๖ ถึง ๑๘ บาทต่อตัว เป็นผลมาจากการผลิตลูกไก่ออกมามากเกินความต้องการของตลาด
                การผลิตเนื้อไก่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๓ การส่งออกเนื้อไก่ของประเทศไทยจะยังคงเติบโตต่อไปอีก ๗ เปอร์เซ็นต์เป็น ๕๘๐,๐๐๐ ตัน การเจริญเติบโตส่วนใหญ่คาดว่าจะมาจากตลาดนอกสหภาพยุโรป รวมถึง กลุ่มประเทศอาเซียน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ยูเออี และแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นจะเป็นตลาดหลัก มีสัดส่วนราว ๗๕ ถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ประเทศไทยจะเพิ่มการส่งออกไก่สด หลังประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อไก่สด จนถึงปัจจุบัน มีประเทศที่ยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อไก่สดจากประเศไทยแล้ว ได้แก่ สหภาพยุโรป ฮ่องกง แอฟริกาใต้ บาเรน และรัสเซีย
แหล่งที่มา World Poultry (24/10/12)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...