อุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อในประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น
เนื่องจาก ราคากากถั่วเหลือง และข้าวโพดสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาของไก่มีชีวิต
และเนื้อไก่ก็กำลังลดลง เนื่องจาก การผลิตไก่เนื้อเกินความต้องการมากเกินไป
USDA
คาดว่า การผลิตไก่เนื้อในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ตัวเลขอย่างเป็นทางการประมาณ
๑.๔ เมตริกตัน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการคาดว่าจะสูงถึง ๑.๕๕ ล้านตัน
และ ๑.๔๕ ล้านตัน
ตัวเลขอย่างเป็นทางการสำหรับการส่งออกมีการเติบโต ๑๕
เปอร์เซ็นต์เป็น ๕๔๐,๐๐๐ เมตริกตันในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ เนื่องจาก สหภาพยุโรป
และหลายประเทศยกเลิกการห้ามการนำเข้าเนื้อไก่สด
การบริโภคภายในประเทศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก
การขยายตัวของร้านอาหารจานด่วน (Quick
serving restaurants, QSR) และตลาดอาหารพร้อมบริโภค (RTE) จากเนื้อไก่ที่มีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ
การขยายกำลังการผลิตในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ และต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๒
ประกอบกับอุบัติการณ์โรคระบาดที่ลดลง ส่งผลทำให้มีการผลิตเนื้อไก่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดการณ์ว่า ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะค่อยๆลดการผลิตเนื้อไก่ลงในไตรมาสสุดท้ายของ
ค.ศ. ๒๐๑๒ และตลอดปี ค.ศ.๒๐๑๓ เนื่องจาก การตกต่ำของราคาเนื้อไก่
และการเพิ่มสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะ กากถั่วเหลือง และข้าวโพด
ต้นทุนไก่มีชีวิตเฉลี่ยในเจ็ดเดือนแรกของปี
ค.ศ. ๒๐๑๒ (มกราคม ถึงกรกฏาคม) ประมาณ ๓๖ ถึง ๓๘ บาทต่อกิโลกรัม
ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ ผลกระทบจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นทำให้มีราคาลูกไก่ลดลงอย่างรุนแรงในครึ่งปีแรกของปี
ค.ศ. ๒๐๑๒ ราคาลูกไก่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ลดต่ำลงเป็น ๖ ถึง ๑๓ บาทต่อตัว
เทียบกับราคาเฉลี่ยในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ ราคา ๑๖ ถึง ๑๘ บาทต่อตัว เป็นผลมาจากการผลิตลูกไก่ออกมามากเกินความต้องการของตลาด
การผลิตเนื้อไก่ในปี
ค.ศ. ๒๐๑๓ การส่งออกเนื้อไก่ของประเทศไทยจะยังคงเติบโตต่อไปอีก ๗ เปอร์เซ็นต์เป็น
๕๘๐,๐๐๐ ตัน การเจริญเติบโตส่วนใหญ่คาดว่าจะมาจากตลาดนอกสหภาพยุโรป รวมถึง
กลุ่มประเทศอาเซียน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ยูเออี และแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรป
และญี่ปุ่นจะเป็นตลาดหลัก มีสัดส่วนราว ๗๕ ถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ประเทศไทยจะเพิ่มการส่งออกไก่สด หลังประเทศญี่ปุ่น
และเกาหลีใต้ยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อไก่สด จนถึงปัจจุบัน มีประเทศที่ยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อไก่สดจากประเศไทยแล้ว
ได้แก่ สหภาพยุโรป ฮ่องกง แอฟริกาใต้ บาเรน และรัสเซีย
แหล่งที่มา World Poultry (24/10/12)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น