นักวิจัยเกาหลี
และสหรัฐฯ
ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการควบคุมโรคบิดร่วมกับการใช้สารส่งเสริมการเจริญเติบโต (AGPs) ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ
และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
โปรแกรมการควบคุมโรคบิด ได้แก่
การใช้วัคซีนป้องกันโรคบิดโดยการฉีดเข้าไข่ฟัก (In ovo coccidiosis vaccination, CVAC) โดยใช้ Inovocox
หรือการให้ยากันบิดในอาหาร ได้แก่ ไดคลาซูริล (คลินาค๊อก, CLIN) หรือซาลิโนมัยซิน (SAL) และการใช้สารส่งเสริมการเจริญเติบโต
ได้แก่ เวอร์จิเนียมัยซิน (Virginiamycin) หรือ บาซิทราซิน
เมธิลลีน ไดซาลิซัยเลต (Bacitracin methylene disalicylate)
ผสม รอกซาร์โซน (Roxarsone)
กลุ่มควบคุมลบ ไก่ไม่ได้รับวัคซีน และได้รับอาหารที่ไม่มีการเสริมสิ่งใด
(NONE) ไก่ทดลองทั้งหมดได้รับวัสดุรองพื้นที่ที่ใช้แล้วจากฟาร์มไก่เนื้อที่ได้รับการยืนยันว่า
มีการปนเปื้อนด้วยเชื้อบิด เพื่อเป็นการจำลองการได้รับเชื้อบิดในฟาร์มจริง
ไก่เนื้อที่ได้รับวัคซีน CVAC มีน้ำหนักมากกว่าทั้งที่อายุ ๑๔
และ ๓๒ วัน ยกเว้นที่อายุ ๔๒ วัน เปรียบเทียบกับกลุ่ม NONE, CLIN และ SAL
ที่อายุ ๑๔ วัน ไก่ทดลองกลุ่ม SAL มีน้ำหนักลดลง
และมีการตอบสนองของ ConA-stimulated spleen cell proliferation ลดลงเปรียบเทียบกับ CLIN และ SAL ในทางตรงกันข้าม ที่อายุ ๓๔ และ ๔๓ วัน การเพิ่มจำนวนของเซลล์ม้ามเพิ่มสูงมากขึ้นในกลุ่ม
CVAC และ CLIN เปรียบเทียบกับ NONE
และ SAL นอกจากนั้น Lymphocyte
subpopulations และ cytokine mRNA expression levels ในลำไส้ และม้ามก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มการทดลองต่างๆ
ผลการทดลองครั้งนี้
แสดงให้เห็นว่า การให้วัคซีนป้องกันโรคบิดผ่านไข่ หรือการใช้ยากันบิดในอาหารสัตว์
ร่วมกับการใช้สารส่งเสริมการเจริญเติบโต ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ และสภาวะภูมิคุ้มกันในสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนเชื้อบิด
แหล่งที่มา Meat
Science (15/10/12)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น