นักวิจัยตูนิเซียศึกษาการป้องกันความเป็นพิษจากซีราลีโนนโดยใช้สารสกัดจากกระเทียม
(Allium sativum) โดยอาศัยกลไกของ Oxidative
stress
สารพิษจากเชื้อราซีราลีโน (ZEN) เป็นสารพิษจากเชื้อราที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน
ผลิตโดยเชื้อรากลุ่มฟูซาเรียม (Fusarium) ในข้าวโพด และวัตถุดิบอาหารสัตว์หลายชนิด
ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อทั้งสัตว์ และมนุษย์
รายงานวิจัยหลายฉบับ แสดงให้เห็นว่า ความเป็นพิษของ ZEN เกิดจากกลไกการทำลายของ
Oxidative damage ทั้งในห้องทดลอง และสัตว์ทดลอง จึงเป็นที่มาของการวิจัย
เพื่อประเมินผลการป้องกันความเป็นพิษโดยใช้สารสกัดของ Allium sativum (AEA)
ต่อความเป็นพิษต่อเซลล์ที่เหนี่ยวนำโดย ZEN รวมถึง
การสร้าง Reactive oxygen spexies (ROS) และการแตกหักของดีเอ็นเอในเซลล์เพาะเลี้ยง
Vero cells สำหรับความเป็นพิษต่อเซลล์อาศัยเทคนิค MTT
viability assay การตรวจวัดการสร้าง ROS และการเหนี่ยวนำปฏิกิริยา
catalase activity เพื่อตรวจสอบว่า การเหนี่ยวนำ oxidative
stress เกี่ยวข้องกับความเสียหายของดีเอ็นเอหรือไม่ นักวิจัยใช้เทคนิค
Comet test สำหรับการตรวจสอบการแตกหักของดีเอ็นเอ
ผลการวิจัย
ผลการทดลอง บ่งชี้ว่า ZEN เหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษหลายชนิด
และยังเปลี่ยนแปลงกลไกของ oxidative stress อีกด้วย การใช้สารสกัดจากกระเทียม
ที่ขนาดต่ำที่สุด ๒๕๐ ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรก็เพียงพอที่จะสามารถลดความเสียหายจากความเป็นพิษของ
ZEN โดยเฉพาะลดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ
สรุปผลการวิจัย
สารสกัดจากกระเทียมมีประสิทธิภาพต่อการป้องกันอันตรายจากสารพิษ
ZEN ได้ การวิจัยนี้
เป็นหนึ่งในการแสวงหาผลิตภัณฑ์จากสารธรรมชาติเพื่อต่อสู้กับความเป็นพิษจากกระบวนการ
oxidative stress ซึ่งสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้สำหรับการป้องกันโรคหลายชนิดในมนุษย์ได้อีกด้วย
แหล่งที่มา All
about Feed (24/10/12)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น