ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยดัทช์พบว่าแมลงสามารถใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ทั้งสุกร และสัตว์ปีก
ในทางวิชาการ การใช้แมลงเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนในสุกร และสัตว์ปีกมีความเป็นไปได้สูง แต่อุปสรรคสำคัญคือ กฏระเบียบ และกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร อัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ
โปรตีนที่นิยมใช้ในอาหารสุกร และสัตว์ปีกคือ ปลาป่น กากถั่วเหลืองป่น เมล็ดทานตะวันป่น และเรปซีดป่น แต่ความต้องการแหล่งอาหารโปรตีนสำหรับสัตว์ปศุสัตว์กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก และส่งผลให้ราคาของสินค้าอาหารแพงมากขึ้น ดังนั้น โปรตีนทางเลือกใหม่สำหรับสินค้าปศุสัตว์จึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก แมลงสามารถใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนสูง โดยเฉพาะ หากมีการเพาะแมลงเหล่านี้ในขยะอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์พลอยได้ เนื่องจาก แมลงเป็นสัตว์เลือดเย็น จึงมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนชีวมวลที่มีคุณค่าต่ำให้กลายเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงได้
ในประเทศเนเธอร์แลนด์ บริษัท ๑๘ แห่งผลิตแมลงสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ในสวนสัตว์ และสัตว์เลี้ยง โดยผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้เป็นแป้งแมลง หรือโปรตีนที่ไม่ละลายน้ำ โดยแมลงที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพิ่มจำนวนปริมาณมาก ได้แก่ แมลงวัน Black soldier fly แมลงวันบ้าน และหนอนแมลงปีกแข็งชนิดเหลือง (yellow mealworm) โปรตีนรวมของแมลงมีความแตกต่างกันระหว่างชนิดของแมลง และระยะการเจริญเติบโต โดยระดับโปรตีนรวมสูงที่สุดในดักแด้ของแมลงวัน ประมาณ ๖๕.๗ เปอร์เซ็นต์ของมวลแห้ง และระดับโปรตีนรวมต่ำที่สุดในตัวหนอนของแมลงวัน Black soldier fly ประมาณ ๓๘.๙ เปอร์เซ็นต์
การขยายกำลังการผลิต เมื่อแมลงสามารถใช้ทดแทนอาหารสำหรับไก่เนื้อได้ประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์ในเนเธอร์แลนด์ ดังนั้น จำเป็นต้องใช้แมลงราว ๗๕,๐๐๐ ตัน การผลิตแมลงมีชีวิตมีกำลังการผลิตได้ ประมาณ ๑ ตันต่อวัน (๓๖๕ ตันต่อปี) ดังนั้น ปริมาณการผลิตดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องมีการสร้างบริษัทเพาะพันธุ์แมลงขนาดเล็กอีก ๒๐๐ แหล่ง
อุปสรรคสำหรับการใช้แมลงเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์คือ กฏระเบียบ และกฏเกณฑ์การผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจาก แมลงเป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์ และกฏระเบียบ และกฏเกณฑ์เกี่ยวกับโรคโรควัวบ้า (BSE) จึงยังไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหารสัตว์สุกร และสัตว์ปีก นอกจากนั้น ต้องมีการผลิตภายใต้ระบบ GMP และการรับรองมาตรฐานการผลิต
แหล่งที่มา All About Feed (17/10/12)
โจทย์วิจัยสำหรับนักโภชนาการอาหารสัตว์ในอนาคต
ตอบลบ