ถั่วเหลืองหมักอาจใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารลูกสุกร
เนื่องจาก อุดมไปด้วยโปรตีน ต้นทุนต่ำ และปราศจากปัจจัยที่มีผลลบต่อโภชนะ
นักวิจัยมหาวิทยาลัยอิลินอยด์
พบว่า สุกรสามารถย่อยฟอสฟอรัสใน FSBM
ได้ดีกว่าถั่วเหลืองที่ไม่ได้หมัก เนื่องจาก
ฟอสฟอรัสในกากถั่วเหลืองส่วนใหญ่จับกับสารไฟเตต (Phytate) โดยความสามารถในการย่อยฟอสฟอรัสใน
FSBM ประมาณ ๖๕.๕
เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับกากถั่วเหลืองทั่วไป ๔๖.๑ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น
สุกรจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ผลงานวิจัยล่าสุดยังพบว่า
สุกรสามารถย่อยฟอสฟอรัสในข้าวโพดหมักได้ง่ายกว่าข้าวโพดที่ไม่ผ่านการหมัก
การหมักจะช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกจากโมเลกุลของไฟเตตได้
เมื่อผสมเอนไซม์ไฟเตสลงไปในสูตรอาหารสัตว์
ความสามารถในการย่อยฟอสฟอรัสใน FSBM
ยิ่งสูงขึ้นอีกเป็น ๗๙.๑ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ กากถั่วเหลืองทั่วไป
๗๑.๔ เปอร์เซ็นต์ เนื่องจาก
เอนไซม์ไฟเตสจะช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัสที่จับอยู่กับไฟเตตออกมา แต่ใน FSBM การหมักได้ช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกจากไฟเตตได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น
การไปเติมไฟเตสจึงช่วยเพิ่มความสามารถในการย่อยได้ไม่มากเท่าที่ควร
การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การหมักเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับการใช้เอนไซม์ไฟเตสในการปลดปล่อยฟอสฟอรัส
ผู้ผลิตสามารถประหยัดต้นทุนธาตุอาหารฟอสฟอรัสได้โดยการหมักกากถั่วเหลือง
หากผู้ผลิตสุกรใช้กากถั่วเหลืองหมัก โดยไม่ผสมเอนไซม์ไฟเตส จะช่วยให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยฟอสฟอรัสได้ดีกว่าการใช้กากถั่วเหลืองปรกติ
ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเสริมธาตุอาหารฟอสฟอรัสจากแหล่งอื่นๆเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการทางโภชนะของสุกรต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น