วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สตาร์ตอัพอิสราเอล พัฒนาเทคนิคแปลงเพศตัวอ่อนลูกไก่

เหนือชั้นกว่าการแยกเพศ ไม่ต้องดูขนปีกแยกเพศกันอีกแล้ว อยากได้เพศไหนก็แปลงกันไปเลยตั้งแต่ในไข่ฟัก อุตสาหกรรมไก่ไข่ก็ไม่ต้องคัดลูกไก่เพศผู้กันอีกต่อไปฟักออกได้เป็นตัวเมียล้วนๆ สตาร์ตอัพอิสราเอล Soos พัฒนาเทคนิคการกระตุ้นด้วยเสียงเพื่อแปลงเพศตัวอ่อนลูกไก่จากผู้เป็นเมียในโรงฟักแล้ว 

ในทุกปี อุตสาหกรรมการผลิตไข่ทั่วโลกผลิตลูกไก่มากกว่า ๑.๕ หมื่นล้านตัว ครึ่งหนึ่งเป็นตัวเมีย และเติบโตเป็นแม่ไก่ไข่ผลิตไข่ไก่ให้เราได้รับประทาน แต่อีกครึ่งหนึ่ง ๗.๕ พันล้านตัวเป็นลูกไก่เพศผู้ ที่ต้องถูกคัดทิ้งไปเฉยๆ แต่ในเวลานี้ ประเด็นด้านจริยธรรม และสวัสดิภาพเป็นเรื่องใหญ่โต นอกเหนือจาก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่คุ้นเคยจนเป็นความเคยชินมาตลอด

ปัจจุบัน หลายประเทศกำลังแบนการทำลายลูกไก่เพศผู้ และการผลิตไข่ไก่ทั่วโลกมีแนวโน้มความต้องการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตจึงคิดหาทางออกสำหรับประเด็นร้อนที่กำลังโต้เถียงกันแรงขึ้นๆทุกวันสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก สตาร์ตอัพ อิสราเอล Soos จึงนำเสนออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตไข่ไก่


สตาร์ตอัพ Soos คิดเปลี่ยนโฉมหน้าโลกการผลิตไก่ไข่  

นักวิจัยเสนอขอทุนวิจัยครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สามปีที่แล้ว วางแผนกันระยะยาวครบทั้งกระบวนการผลิต ตั้งแต่โรงฟักขนาดเล็กผลิตไข่ไก่ได้ ๕๐๐๐ ฟอง แล้วสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่รุ่นขนาด ๘๐,๐๐๐ ตัว จนกระทั่ง กระบวนการผลิตครบทั้งวงจร  

เนื่องจาก การมุ่งความสนใจต่อการสั่นสะเทือนจากเสียง ตู้บ่มของ Soos จึงออกแบบมาให้ทำงานอย่างเงียบเชียบ สิ่งแรกที่นักวิจัยค้นพบคือ หากนั่งข้างตู้บ่มตามปรกติ เสียงการทำงานของตู้บ่มจะดังมาก จึงไม่เป็นการดีเลยต่อสุขภาพของผู้ที่ทำงานใกล้กับเครื่องจักรที่คำรามส่งเสียงดังตลอดเวลาเช่นนี้ แต่ใน Soos มีตู้บ่มสามเครื่องที่ทำงานเงียบมาก 

ผู้วิจัยได้พัฒนาเซลล์อะคูสสิก เพื่อตรวจวัดเสียงภายในตู้บ่ม โดยมีเป้าหมายถัดไปในการนำร่องธุรกิจนอกอิสราเอล เพื่อออกจากข้อจำกัดในการขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น


คิดใหม่ในการเลือกเพศลูกไก่ไข่ 

บริษัทนวัตกรรมส่วนใหญ่เล็งเป้าไปที่เทคโนโลยีการคัดลูกไก่เพศผู้โดยการสแกนตรวจเพศตั้งแต่ตัวอ่อนในช่วงสองวันแรก ในมุมมองด้านสวัสดิภาพสัตว์ ยังคงต้องทำลายไข่ก่อนอายุตัวอ่อนได้ ๗ วัน กำลังเป็นสิ่งท้าทายต่อนักวิจัย แต่แทนที่จะคอยตรวจสอบลูกไก่เพศผู้ หรือเมีย เทคโนโลยีของ Soos จะแปลงพันธุกรรมของเพศผู้ให้กลายเป็นลูกไก่เพศเมีย นอกจากหมดปัญหาเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ แต่ยังเป็นการได้จำนวนลูกไก่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๕๐ แทนที่จะคัดทิ้งไปเฉยๆก็แปลงเพศก่อนเลย

นอกเหนือจากนั้น นวัตกรรมบางแง่มุมที่หวังดัดแปลงพันธุกรรมของพ่อแม่พันธุ์ ยังไม่เป็นที่ยอมรับในหลายแห่งทั่วโลก เทคโนโลยีของ Soos ไม่ได้ใช้สารเคมีที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อตัวอ่อน แต่ใช้วิธีการกระตุ้นด้วยเสียง และปรับสภาพแวดล้อมในตู้ เป็นที่ยอมรับกันว่า เสียงส่งผลต่อเซลล์ ขณที่ เทคโนโลยีนี้ยังใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็ง นักวิจัยพยายามบอกให้เห็นภาพว่า เทคโนโลยีชั้นสูงนี้มีอยู่จริง และใช้กันอยู่แล้วในทางการแพทย์ ไม่ใช่อยู่ในความฝัน เทคโนโลยีนี้สร้างการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ เพื่อกำหนดทิศทางการเลือกเพศของตัวอ่อนลูกไก่ เวลานี้ Soos ประสบความสำเร็จแล้วร้อยละ ๖๐ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘๐ ภายในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ 

 ผู้วิจัยใช้การทดสอบระดับดีเอ็นเอในการพิสูจน์หลักทฤษฎี และอธิบายปรากฏการณ์ที่กำลังวิจัย พบว่า มีตัวเมียที่มีโครโมโซม ZZ (เพศผู้) อยู่ เป้าหมายสำหรับปีหน้า มีหุ้นส่วนในใจอยู่แล้วในมหาวิทยาลัย เพราะยังมีข้อจำกัดด้านความพร้อมของห้องวิจัยเพาะเลี้ยงเซลล์ ผู้วิจัยต้องการทดลองใช้การสั่นสะเทือนของเสียงในระดับเซลล์เพาะเลี้ยง 


แผนในอนาคต

บังเอิญช่วงนี้โควิด ๑๙ ระบาด แผนการขยายธุรกิจนอกอิสราเอลยังชะลอไว้ก่อน แต่ในอนาคตจะก้าวเข้าไปในยุโรป ติดตามด้วยสหรัฐฯ เป้าหมายสำคัญในอนาคตคือ นำร่องกิจกรรมภายนอกอิสราเอล เพื่อยกระดับโปรโตคอลการฟักไข่ เพื่อให้ได้ผลที่ดีขึ้นกว่าเดิมกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในอนาคต เทคโนโลยีของ Soos จะต้องใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก เชื่อว่า เทคโนโลยีการแปลงเพศตัวอ่อนลูกไก่จะเปลี่ยนโลกได้ หากประสบความสำเร็จ ก้าวต่อไปอาจเป็นการเลือกเพศทารก และสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ป่าที่มีค่าได้   


เอกสารอ้างอิง

Kwakman R. 2020. Israeli start-up Soos tackles culling of male chicks. [Internet]. [Cited 2020 Oct 6]. Available from: https://www.poultryworld.net/Eggs/Articles/2020/10/Israeli-start-up-Soos-tackles-culling-of-male-chicks-650864E/ 

ภาพที่ ๑  เทคโนโลยีของ Soos ใช้เซลล์อะคูสติกตรวจวัดเสียงภายในตู้บ่ม แล้วแปลงเพศตัวอ่อนโดยการกระตุ้นด้วยความสั่นสะเทือนจากเสียง และการปรับสิ่งแวดล้อมในตู้ฟัก (แหล่งภาพ Jordan Kastrinsky, Soos )



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...