วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

โอไออีทบทวนการใช้วัคซีนไข้หวัดนก

 การระบาดของโรคไข้หวัดนกเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ทำให้องค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) หรือโอไออี กำลังพิจารณาใหม่ในการให้วัคซีนสัตว์ปีก

จนถึงปัจจุบัน การป้องกันโรคในสัตว์ปีกที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์โดยใช้วัคซีนยังไม่เป็นที่ยอมรับ ด้วยเหตุผลหลายประการ เนื่องจาก สัตว์ปีกที่ให้วัคซีนยังสามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์ปีกตัวอื่นๆด้วย และการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็วกว่าปรกติ ทำให้การให้วัคซีนเกิดประโยชน์น้อยลง

สาเหตุประการอื่นๆ รวมถึง การฉีดสัตว์ปีกหลายตัว ไม่สะดวกในทางปฏิบัติ วัคซีนยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การจำแนกระหว่างสัตว์ที่ติดเชื้อจากสัตว์ที่ให้วัคซีนยังยากลำบาก สวัสดิภาพสัตว์จากการจับสัตว์ฉีดวัคซีน ความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้เลี้ยงจนทำให้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพหละหลวมลงไป และประเด็นด้านการค้าขายสัตว์ปีกระหว่างประเทศ

ภาครัฐบาลกำลังพิจารณาการให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก

              ศาตราจารย์ คริสทีน มิดเดิลมิส หัวหน้าสำนักงานกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และชนบท (Department for Environment Food & Rural Affairs, Defra) อ้างว่า การระบาดกว้างขวางออกไปหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ ยุโรป เกิดการระบาดมากกว่า ๒,๓๐๐ ครั้ง และอเมริกาเหนือ รัฐบาลหลายประเทศกำลังพิจารณาการให้วัคซีน ในสหราชอาณาจักร ฟาร์มมากกว่า ๑๖๐ แห่งเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑ ในปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่พบในอังกฤษมากกว่า ๑๓๕ ครั้ง ครึ่งหนึ่งของฟาร์มเหล่านี้เป็นฟาร์มสัตว์ปีกขนาดใหญ่ ร้อยละ ๒๕ เป็นฝูงสัตว์ปีกหลีงบ้าน และร้อยละ ๒๐ เป็นฟาร์มขนาดเล็ก ดีฟรายังอ้างถึงสมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกปล่อยอิสระแห่งสหราชอาณาจักร (British Free Range Egg Producers Association, Bfrepa) เรียกร้องให้องค์การสุขภาพสัตว์โลก พิจารณาทบทวนมาตรการให้วัคซีน อย่างไรก็ตาม ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติมมากกว่านี้

เติมเต็มสิ่งที่ยังไม่รู้

              ขณะนี้ โครงการของศาตราจารย์ เอียน บราวน์ จากหน่วยสุขภาพสัตว์และพืช (Animal and Plant Health Agency) แห่งสหราชอาณาจักร กำลังค้นคว้าวิจัยช่องว่างของความรู้เกี่ยวกับการวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสสับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ และวิธีที่เชื้อไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่ฟาร์มสัตว์ปีก

              เมื่อโครงการนี้ไม่ได้มองไปที่วัคซีนไข้หวัดนก งานวิจัยบางส่วนเป็นการศึกษาวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑ สามารถช่วยในการพัฒนาวัคซีนในอนาคตได้ เป็นสิ่งที่สหภาพยุโรปกำลังให้ความสนใจ

              กระทรวงเกษตรแห่งสหภาพยุโรป บรรลุข้อตกลงเมื่อเดือนพฤษภาคมในการตัดสินใจใช้กลยุทธ์นำวัคซีนไข้หวัดนกสำหรับควบคุมโรค เนื่องจาก ทั่วยุโรปทำลายสัตว์ปีกไปแล้วจำนวนมาก รัฐมนตรีเกษตรสเปน อ้างว่า การทำลายสัตว์ปีกจำนวนมากขนาดนั้น เริ่มไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนแล้ว นอกเหนือจาก ความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล

                สภาอุตสาหกรรมไข่ไก่สหราชอาณาจักร (British Egg Industry Council, BEIC) อ้างถึงคณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมปรึกษาหารือถึงข้อดีของการใช้วัคซีน และเริ่มพิจารณากันแล้ว ประเด็นสำคัญในการถกเถียงกันคือ ประเทศคู่ค้าในยุโรปเริ่มยอมรับลูกสัตว์ปีก หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ปีก จากฝูงสัตว์ที่ให้วัคซีนหรือไม่ ทั้งนี้ BEIC ก็คาดหวังว่าผลการพิจารณาจะยอมรับการใช้วัคซีน

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2022. Vaccinating for avian influenza on the OIE agenda. [Internet]. [Cited 2022 Oct 10]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/45962-broiler-breeder-flock-arkansas-first-hpai-case-of-2022

ภาพที่ ๑ เป็ดตายจำนวนมากกำลังถูกเคลื่อนย้ายโดยรถขนสัตว์ปีกตายที่ฟาร์ม ภายใต้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ เนื่องจาก การติดโรคไข้หวัดนกสับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ (แหล่งภาพ Jo-Anne McArthur, 2022)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...