วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อินเดียเตือนเชื้อดื้อยาจากฟาร์มไก่



การศึกษาในประเทศอินเดียเผยให้เห็นผลเสียของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ทำให้เกิดภาวะดื้อยาในชาวอินเดียจนกระทั่งไม่สามารถใช้สำหรับการรักษาทางการแพทย์ได้
                การศึกษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมแห่งอินเดีย (CSE) ในห้องปฏิบัติการตรวจติดตามมลภาวะโดยใช้ตัวอย่างจากไก่จำนวน ๗๐ ตัวอย่างจากแถบ Delhi-NCR สำหรับยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้กัน ได้แก่ อ๊อกซีเตตราซัยคลิน คลอเตตราซัยคลิน ด๊อกซีซัยคลิน เอ็นโรฟล็อกซาซิน ซิโปรฟล๊อกซาซิน และนีโอมัยซิน พบยาตกค้างในตัวอย่างเนื้อไก่
                ปัจจุบัน ยาปฏิชีวนะที่จำเป็น และมีความสำคัญทางการแพทย์ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ในประเทศอินเดียจึงเกิดปรากฏการณ์เชื้อดื้อยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เช่น ซิโปรฟล็อกซาซิน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การรักษาโรคติดเชื้อ ปอดอักเสบ และวัณโรคด้วยยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจาก เชื้อจุลชีพที่เป็นสาเหตุของโรคมีการพัฒนาความต้านทานต่อยากลุ่มนี้ จึงมีการศึกษาผลของการใช้ยาปฏิชีวนะโดยปราศจากการควบคุมโดยอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของไก่ และการเพิ่มน้ำหนัก จนถึงตอนนี้ โรคติดเชื้อทั่วไปยังยากต่อการรักษา และยาปฏิชีวนะไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป เนื่องจาก เชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น การศึกษาพบว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่ตรวจสารตกค้างเป็นบวก นอกจากนั้น ๑๗ เปอร์เซ็นต์ยังพบการตกค้างของยามากกว่าหนึ่งชนิด ขณะนี้ CSE ได้เสนอให้รัฐบาลอินเดียแบนการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกแล้ว ในปัจจุบัน ประเทศอินเดียไม่มีกฏระเบียบเพื่อควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก หรือควบคุมการจำหน่ายยาปฏิชีวนะในอุตสาหกกรม      
แหล่งที่มา:            WORLD POULTRY (1/8/14)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...