รายการสารคดี BBC ได้สำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของฟาร์มปศุสัตว์
พบว่า การผลิตสัตว์ปีกเป็นเนื้อสัตว์ที่สีเขียว หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
แต่ก็แนะนำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งหมดลง
รายการ “Horizon” ที่ดำเนินรายการโดย ดร. ไมเคิล มอสลีย์ เริ่มต้นจากการประเมินผลกระทบของการบริโภคเนื้อต่อสุขภาพมนุษย์
ก่อนจะหันมาสนใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตปศุสัตว์ ดร.มอสลีย์
อุตสาหะเดินทางไปยังอเมริกาที่มีการเลี้ยงโคเนื้อในทุ่งหญ้าเปรียบเทียบกับการเลี้ยงในคอกสัตว์
หลังจากนั้น ก็แวะเยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อนอร์ฟอล์กของ ไนเจน
จอยซ์ที่เลี้ยงไก่ ๕๘,๐๐๐ ตัว ดร.มอสลีย์ ประหลาดใจมากที่ไม่มีกลิ่น และสะดวกสบายสำหรับไก่
ผู้เลี้ยงไก่ก็มีความตระหนักถึงการเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในสภาวะที่สงบ
ปราศจากสิ่งรบกวน เพื่อให้สัตว์รู้สึกสบาย สำหรับมุมมองด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื้อสัตว์ปีกเป็นโปรตีนที่ดีที่สุด
นอกจากนั้น รายการยังได้เชิญ ดร. ทารา การ์เน็ต จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารวงจรการผลิตเกี่ยวกับต้นทุนสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมของปศุสัตว์แต่ละชนิด
โดยประเมินจากพลังงานทั้งหมดที่ใส่ลงไป ดร.การ์เน็ต มีความเห็นว่า สัตว์ปีกเป็นเนื้อสัตว์ที่มีความเขียวที่สุดที่ผู้บริโภคสามารถซื้อหาได้
โดยการเลี้ยงสัตว์ปีกภายในโรงเรือนจะมี Footprint ต่ำกว่าการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ
อย่างไรก็ตาม เนื้อสัตว์ปีกก็ยังพ่ายแพ้หอย ในด้านการผลิตโปรตีนที่มีประสิทธิมากที่สุด
มนุษย์เพียงแขวนเชือกไว้กลางท้องทะเลเป็นเวลา ๓ ปี เพื่อให้หอยมากเกาะและเจริญเติบโต
แล้วใส่ปัจจัยเข้าไปเพิ่มเข้าไปคือ น้ำมันให้เรือสำหรับการเก็บเกี่ยวหอยขึ้นมาบริโภค
แหล่งที่มา: Poultry World (26/8/14)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น