วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

ยากันบิดเป็นยาปฏิชีวนะ หรือสารเติมอาหารสัตว์?

การใช้ยากันบิดสำหรับป้องกันโรคนิยมใช้กันทั่วโลก เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์ปีกที่ดีมาเป็นเวลาหลายสิบปี บางครั้วก็มีข้อถกเถียงว่า ความจริงแล้วยากันบิดคืออะไรกันแน่ วัตถุเติมอาหารสัตว์ หรือยาปฏิชีวนะ ในปัจจุบัน ยากันบิดยังถือเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์ในรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้ได้ในสหภาพยุโรป
               การใช้ยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ได้แก่ โมเนนซิน เป็นครั้งแรกในทศวรรษที่ ๑๙๗๐ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการต่อสู้กับโรคบิด ก่อนหน้านั้น การเกิดโรคบิดพบได้บ่อย และโรคนี้รักษาได้ยากกว่าการป้องกัน เนื่องจาก ยากันบิดที่ไม่ใช่กลุ่มไอโอโนฟอร์เท่านั้นที่มีการใช้กัน แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก เพราะเชื้อโปรโตซัวสามารถดื้อยาได้อย่างรวดเร็ว
               ฟาร์มไก่เนื้อในสหภาพยุโรปนิยมใช้ยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ในอาหารสัตว์ปีกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจาก สามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจากปรสิตเซลล์เดียวที่ชื่อว่า ไอเมอเรีย (Eimeria) ในปัจจุบัน สหภาพยุโรปได้จัดยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ไว้เป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เรื่องนี้กลับมาเป็นประเด็นถกเถียงกัน บางกลุ่มคิดว่า จะเป็นการดีกว่าที่จะติดฉลากให้ยากันบิดเป็นยากันบิด ขณะที่ บางกลุ่มคิดว่า ยากันบิดควรจัดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์เหมือนเดิม

ทำไมสหภาพยุโรปต้องการให้ยากันบิดยังเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์
               ด้วยเหตุผลหลายประการที่สหภาพยุโรปเลือกที่จะจัดยากันบิดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์ โรคบิดเป็นโรคประจำถิ่น ปรสิตพบได้ทั่วไป และทนทานต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก นอกเหนือจากนั้น ยังปรากฏในทุกระบบโรงเรือน สัตวแพทย์ไม่จำเป็นต้องเข้าฟาร์มเมื่อปรากฏปรสิตขึ้น เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มต้นทุนที่ไม่จำเป็นสำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจเยี่ยม การจำแนกให้เป็นยาปฏิชีวนะหมายความว่าจะไปตรงเข้ากับความต้องการด้านการผลิตในการจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะ และกลายเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็นอีก นอกจากนั้น การกำหนดให้ยากันบิดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์เป็นหลักประกันว่าจะมีการให้ยาในขนาดที่ถูกต้อง โดยแบ่งให้ในสูตรอาหารสัตว์ และป้องกันมิให้ขนาดยาสูง หรือต่ำเกินไป  

การพัฒนาเชื้อบิดดื้อยา
               การพัฒนาเชื้อบิดดื้อยา เมื่อเชื้อบิดดื้อต่อยากลุ่มไอโอโนฟอร์แล้วจะดื้อยาในมนุศย์ด้วยหรือไม่ การวิจัยด้านความเสี่ยงจากการใช้ยากันบิดกลุ่มไอโนฟอร์ โดยคณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์จากนอร์เวย์สำหรับประเด็นความปลอดภัยอาหาร บ่งชี้ว่า การใช้ยากันบิดสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการพัฒนาเชื้อดื้อยากลุ่มไอโอโนฟอร์ และยาปฏิชีวนะกลุ่มแบซิทราซิน และแวนโคไมซินได้ ยาดังกล่าวถูกใช้ในทางการแพทย์ นักวิจัยจากนอร์เวย์ระบุว่า ผลการวิจัยนี้อาจมีข้อมูลค่อนข้าน้อย และรัฐบาลนอร์เวย์ก็ไม่ได้จำกัดการใช้ยากันบิด
 ถึงกระนั้นก็ไม่พบการดื้อยากันบิด
               ยากันบิดกลุ่มไอโนฟอร์นิยมใช้กันทั่วโลกเป็นเวลานานหลายปีแล้ว จนกระทั่งทุกวันนี้ การดื้อยาของเชื้อบิดต่อยากันบิดกลุ่มไอโนฟอร์ก็ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน กลไกการทำงานของยากันบิดกลุ่มไอโนฟอร์มเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในทางเภสัชกรรมแตกต่างจากยาปฏิชีวนะในมนุษย์ และสัตว์ หมายความว่า ยากันบิดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะในมนุษย์เลย
               ความปลอดภัยของยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ถูกตอกย้ำโดยข้อเท็จจริงที่ว่า ยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์มิได้อยู่ในรายชื่อยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีความสำคัญขั้นวิกฤติทางการแพทย์โดยองค์การอนามัยโลก หรือองค์การโรคระบาดสัตว์โลกที่จะต้องมีการเฝ้าระวัง การป้องกันโรคบิดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพทางเดินอาหารที่ดี และมีความสำคัญต่อสุขภาพสัตว์ที่ดี สวัสดิภาพสัตว์ การป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดี นั่นคือ เป็นการผลิตสัตว์ปีกอย่างยั่งยืน ที่มีความต้องการสูงมากสำหรับเนื้อสัตว์ปีก

นอร์เวย์ และสหรัฐฯเลิกใช้ยากันบิดแล้ว
                หลายประเทศที่ไม่ใช้ยากันบิดแล้วโดยยกเลิกการกำหนดมาตรฐาน โดยเฉพาะ นอร์เวย์ และสหรัฐฯ ในสหรัฐฯ การผลิตสัตว์ปีกในห่วงโซ่การผลิตที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก สหรัฐฯกำหนดให้ยากับนิดเป็นยาปฏิชีวนะ จึงไม่ถูกใช้ในห่วงโซ่การผลิตเหล่านี้ ผู้เลี้ยงไก่เนื้อยุโรปไม่ต้องการให้มีมาตรการที่ไม่อนุญาตให้ใช้ยากันบิดในอาหารสัตว์ โดยชี้ให้เห็นถึงต้นทุนที่ผู้เลี้ยงไก่เนื้อสหรัฐฯต้องจ่ายเมื่อไม่ใช้ยากันบิด
               การห้ามใช้ยากันบิดเป็นอุปสรรคต่อการผลิตอาหารสัตว์อย่างยั่งยืน การผลิตอย่างยั่งยืนไม่ได้หมายถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ความสำคัญต่อเศรฐกิจ และสวัสดิภาพมนุษย์ และสัตว์ก็มีความจำเป็นไม่ยิ่งหย่อยต่อกัน ในสหรัฐฯ การผลิตสัตว์ปีกเนื้อโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะห้ามใช้ยากันบิด ตอนนี้เกือบครึ่งหนึ่งของการผลิตสัตว์ปีกในสหรัฐไม่ใช้ยากันบิด

สวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ
               การตายของสัตว์จำนวนมากเป็นเครื่องบ่งชี้อยู่แล้วว่า สวัสดิภาพสัตว์ในโรงเรือนสัตว์ปีกเป็นอย่างไร เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกได้เห็นอัตราการตายของสัตว์ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นมา อัตราการตายค่อยๆสูงขึ้นอย่างช้าๆจากการรณรงค์ให้ผลิตสัตว์ปีกโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ฟาร์มเหล่านี้มักมีอัตราการตายเฉลี่ยร้อยละ ๕.๕ ขณะที่ การผลิตสัตว์ปีกทั่วไป อัตราการตายเฉลี่ยเพียงร้อยละ ๓ ถึง ๓.๕ เท่านั้น
               ปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นมากในห่วงโซ่ของการผลิตไก่โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยกตัวอย่างเช่น กระจกตาของไก่เนื้อเกิดความเสียหายมากกว่าปรกติ ๓.๕ เท่า เนื่องจาก แอมโมเนียในอากาศ รอยโรคที่โรงฆ่ามากขึ้น ๑.๔ เท่า และปัญหาระบบหายใจมากขึ้น ๑.๕ เท่า สภาวะทั้งสามประการนี้ไม่ได้พบในโรงเรือนที่เลี้ยงสัตว์ปีกแบบไม่ใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังร้ายแรงขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

มุมมองด้านสิ่งแวดล้อม
               เนื่องจาก ต้องเลี้ยงไก่นานขึ้น และประสิทธิภาพการแลกเนื้อที่ด้อยลงในห่วงโซ่การผลิตไก่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ประสิทธิภาพการผลิตจึงน้อยลงไปไกล ยิ่งอัตราการตายที่สูงขึ้น ยิ่งห่างเหินจากความต้องการเนื้อสัตว์ปีกสำหรับการบริโภค ถ้าการเลี้ยงไก่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะทั้งหมดเกิดขึ้นจริง ผู้เลี้ยงไก่เนื้อต้องผลิตไก่เป็นพิเศษอีก ๖๘๐ ถึง ๘๘๐ ล้านตัว เพื่อให้มีเนื้อเพียงพอสำหรับผู้บริโภคชาวอเมริกัน หมายความว่า ต้องมีอาหารสัตว์ น้ำ และพื้นที่เลี้ยงไก่เหล่านี้มากมายมหาศาล กลายเป็นเพิ่มวิกฤติการณ์ด้านอื่นๆขึ้นอีกมาก ในสถานการณ์ที่ความต้องการอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทวีคูณนับจากนี้

ผู้ประกอบการที่เลือกเลี้ยงไก่ปลอดยาปฏิชีวนะต้องคิดว่าคุ้มหรือไม่
               การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนย่อมสูญเสียไป ผู้ประกอบการที่ผลิตสัตว์ปีกโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะได้รับราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับต้นทุนที่ต้องจ่ายมากขึ้น ความแตกต่างระหว่างราคาจำหน่ายเนื้อไก่ปรกติ และเนื้อไก่จากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะลดลงเรื่อยๆตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมถึง ความยากลำบากต่อการจัดการคุณภาพซากของเนื้อไก่จากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ  

ผู้บริโภคต้องการสัตว์ปีกจากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะมีมากอย่างชัดเจน
ยังคงเป็นคำถามว่า ผู้บริโภคต้องการแบบนี้จริงๆหรือ ผู้บริโภคอีกจำนวนมากก็ไม่ได้ต้องการจากผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคอีกมากที่คิดว่าเนื้อไก่ปรกติมียาปฏิชีวนะ และฮอร์โมน นั่นเป็นเหตุผลที่พวกเขาเลือกเนื้อไก่ที่ติดฉลากบ่งชี้ว่าไม่มียาปฏิชีวนะ แต่การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์ป่วยไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดเนื้อสัตว์ปีก จะดีกว่าหรือเปล่าที่จะให้ผู้บริโภคเลือกสวัสดิภาพสัตว์ และการผลิตอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรผู้ผลิตไก่เนื้อสามารถทำได้จริง ท่ามกลางข่าวลือว่า ยากันบิดจะถูกเลิกใช้ โดยไม่แน่ชัดว่า ข่าวลือนี้มีที่มาจากไหน หรือเป็นจริงหรือเท็จเพียงใด สหภาพยุโรปกำหนดให้ใช้ยากันบิดได้ตามกฏระเบียบหมายเลข ๑๘๓๑/๒๐๐๓ โดยมีการปรับแก้ไขเกี่ยวกับการใช้วัตถุเติมอาหารสัตว์ และการใช้ยากันบิด
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ผู้เลี้ยงไก่เนื้อในสหภาพยุโรปยังใช้ยากันบิดได้ในอาหารสัตว์ เมื่อร่างแผนปฏิบัติการหนึ่งสุขภาพในยุโรปต่อปัญหาเชื้อดื้อยา (ARM) ถูกเขียนขึ้น ได้มีการเสนอให้แก้ไขในเดือนกันยายนเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมียาสำหรับควบคุมเชื้อโปรโตซัว เช่น บิด ได้ ร่างแก้ไขดังกล่าวได้รับการรับรองโดยสภายุโรป การไม่เข้าไปควบคุมยากันบิดเป็นความคิดที่ไม่สร้างสรรค์ เนื่องจาก การเลี้ยงไก่เนื้อโดยไม่ใช้ยากันบิดในอาหารสัตว์ทำให้สัตว์ป่วยได้บ่อย แล้วยังทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียอันตราย เช่น ซัลโมเนลลา จากการกินเนื้อไก่ สหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับการป้องกันเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะอยู่แล้ว เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในทางการแพทย์ก่อนที่จะห้ามใช้วัตถุเติมอาหารสัตว์
ในเวลานี้ไม่มีสัญญาณว่า สภายุโรป วางแผนที่จะถอนยากันบิดออกจากรายชื่อวัตถุเติมอาหารสัตว์ โดยกำหนดคณะทำงานเฉพาะสำหรับภารกิจนี้ เช่น สหพันธ์สัตวแพทย์แห่งยุโรป (FVE) องค์กรนี้เชื่อว่า การใช้ยากันบิดไม่ควรจัดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์อีกต่อไป ตามความเห็นของ FVE เชื่อว่าจะสมเหตุสมผลกว่าที่จะให้การใช้ยากันบิดต้องมีใบสั่งยาจากสัตวแพทย์ เช่นเดียวกับ ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยลดการดื้อยาของเชื้อบิด FVE ให้เหตุผลว่า ยากันบิดในกลุ่มไอโอโนฟอร์อาจจำเป็นต้องนำมาใช้ในทางการแพทย์ในอนาคต สำหรับควบคุมโรคมะเร็ง การศึกษาบ่งชี้ว่า ยากันบิด เช่น โมเนนซินมีฤทธิ์ควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากไตได้
     
เอกสารอ้างอิง
Swormink BK. 2019 Coccidiostats: Antibiotic or feed additive?. [Internet]. [Cited 2019 Mar 8]. Available from: https://www.poultryworld.net/Nutrition/Articles/2019/3/Coccidiostats-Antibiotic-or-feed-additive-401585E/


ภาพที่ ๑ ปัจจุบัน สหภาพยุโรปยังกำหนดให้ยากันบิดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์ (แหล่งภาพ Fabian Brockötter)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...