วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แก๊สแอมโมเนียในฟาร์มเลี้ยงไก่เลี้ยงสาหร่ายเป็นอาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ

สาหร่ายพระเอกคนใหม่ในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ผลงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยรัฐไอโอวา
                มูลสัตว์ปีกสร้างแก๊สแอมโมเนีย เมื่อแอมโมเนียแพร่เข้าสุ่บรรยากาศ แก๊สสามารถกลับลงไปสู่ระบบสิ่งแวดล้อมในรูปของฝนกรดเป็นสาเหตุให้สาหร่ายเจริญเติบโตในบ่อน้ำ และทะเลสาบ ปัญหาที่เรียกว่า ยูโทรฟิเคชัน (Eutrophication) เพื่อจำกัดการปลดปล่อยแก๊สแอมโมเนียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก และป้องกันมิให้สาหร่ายเจริญเติบโตในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์ คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบ และพัฒนาเครื่องทำปฏิกิริยาชีวภาพ (Bioreactor) ที่สามารถควบคุมแอมโมเนียมิให้ปลดปล่อยออกจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก และป้องกันการเจริญเติบโตของสาหร่ายในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์ แต่จะนำแก๊สเหล่านี้มาใช้สำหรับเพาะสาหร่ายให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้จะเป็นการจับคู่ที่สมบูรณ์แบบ เมื่อเราสามารถกำจัดแก๊สแอมโมเนียที่ปลดปล่อยสู่อากาศจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก และนำมาใช้เลี้ยงสาหร่าย  สาหร่ายที่ได้สามารถนำมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และสารเสริมสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ นอกเหนือจากประโยชน์พึงได้จากการคัดกรองแก๊สอันตรายที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น แอมโมเนีย และคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ แต่นำมาใช้สำหรับการผลิตสาหร่าย จึงสามารถลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ เนื่องจาก แก๊สแอมโมเนียที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของสาหร่ายมีอยู่เหลือเฟือในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก ขณะนี้ ผู้วิจัยกำลังทดลองใช้เครื่องทำปฏิกิริยาชีวภาพขนาดเล็กปริมาตร ๕ ลิตร เพื่อขยายกำลังการผลิตในเชิงพาณิชน์ต่อไป สาหร่ายที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ และแหล่งพลังงานเชื้อเพิงชีวภาพได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นสถานการณ์แบบ Win-Win เลยทีเดียว นั่นคือ ขว้างหินก้อนเดียวได้นกสองตัว
 แหล่งที่มา            Iowa State Daily (12/12/12)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...