ผลการวิจัยของเนเธอร์แลนด์ พบว่า ลมเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของไข้หวัดนกราว ๑๘ เปอร์เซ็นต์
ตำนานเรื่อง การกระจายของสิ่งติดเชื้อทางลมเป็นที่เชื่อถือกันมาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัด การศึกษาครั้งนี้ใช้หลักฐานทางสถิติในการศึกษา พบว่า ทิศทางการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สับไทป์ H7N7 มีความสัมพันธ์กับทิศทางของลมในวันที่ติดเชื้อ นักวิจัยได้ทดลองสร้างแผนภูมิการระบาดของเชื้อจากข้อมูลการระบาดครั้งใหญ่ทั้งทางพันธุกรรม และระบาดวิทยา ในเนเธอร์แลนด์เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๓ พบว่า การระบาดจากลมเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อประมาณ ๑๘ เปอร์เซ็นต์
ฟาร์มปลดปล่อยอณูฝุ่นละอองต่างๆจำนวนมากที่สามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสที่มีชีวิต การใช้ระบบการป้องกันบางชนิด เช่น ระบบกรองอากาศ การพ่นละอองน้ำ หรือน้ำมัน การปรับอัตราการระบายอากาศ และการใช้ระบบไอออนไนเซชัน ที่ช่วยลดความเข้มข้นของฝ่าน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการหยุดการแพร่กระจายของอนุภาคที่ติดเชื้อลงได้ทั้งที่เข้ามาภายใน และออกสู่ภายนอก นอกจากนั้น กลไกอื่นๆที่สัมพันธ์กับลม ก็ไม่ควรมองข้าม เช่น นกป่า หรือแมลงที่เป็นพาหะสำคัญของโรคก็ชอบที่จะบินไปตามทิศทางของลม และจำเป็นต้องใช้ยุทธศาสตร์ในการควบคุมแตกต่างกันไป
นอกเหนือจากนั้น ยุทธศาสตร์การฆ่าทำลายสัตว์ป่วยเองก็อาจมีบทบาทสำคัญต่อการระบาดทางลมได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ประการแรก ควรตระหนัก และให้ความสำคัญกับการป้องกันมิให้สิ่งปนเปื้อนแพร่กระจายไปตามสิ่งแวดล้อม ระหว่างการทำลายสัตว์ป่วย ประการต่อมาให้ใส่ใจกับทิศทางลม เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายไปยังฟาร์มข้างเคียง รวมถึง การให้ความรู้ และการพยากรณ์สถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคตโดยคำนึงถึงทิศทางลม จะช่วยให้มาตรการควบคุมโรคโดยการกำจัดสัตว์ป่วยมีประสิทธิภาพดีขึ้น
แหล่งข้อมูล World Poultry (17 Dec 2012)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น