วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

สาหร่ายทะเลใต้มหาสมุทรหยุดไวรัสนิวคาสเซิล

รายงานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นเสาะแสวงหาสารประกอบยับยั้งเชื้อไวรัสจากแหล่งธรรมชาติ สารสกัดจากสิ่งมีชีวิตใต้มหาสมุทรลึกมากมายที่แยกออกมาได้ และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา รวมถึง การต่อต้านเชื้อไวรัส ผ่านการพิสูจน์แล้วทั้งในห้องทดลอง และสัตว์ทดลอง
                ฟูคอยแดน (Fucoidan) เป็นสารประกอบ Sulfated polysaccharide ได้จากผนังเซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาล มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้ม โดยมีความเป็นพิษต่อสัตว์ต่ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัส และกลไกการทำหน้าที่ของฟูคอยแดนที่สกัดมาจากสาหร่ายทะเลชื่อว่า Cladosiphon okamuranus ต่อเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดต่อเนื่องมีนามว่า เวโร่
                ความเป็นพิษต่อเซลล์ทดสอบโดยเทคนิค MTT assay และการทดสอบฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสด้วยเทคนิค fusion and plaque-forming unit (PFU) inhibition assays โดยใช้เกณฑ์การประเมินได้แก่ ระยะเวลาการผสม การยับยั้งกระบวนการฟิวชัน และการทดสอบการแทรกผ่าน
                เชื้อไวรัสที่ใช้ในการทดสอบ Fusion inhibition assays คือ สายเชื้อลาโซต้า ส่วนการทดลอง PFU และ Western blot ใช้เชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดอ่อนจากท้องถิ่น พบว่า ฟูคอยแดน มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสสายเชื้อลาโซต้าได้ โดยมีค่า IS50 > 2000
                 การศึกษาระยะเวลาผสม พบว่า สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ในระยะแรกของการติดเชื้อตั้งแต่ ๐ ถึง ๖๐ นาทีภายหลังการติดเชื้อ การยับยั้งการแทรกผ่านของเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดอ่อน พบว่า การติดเชื้อไวรัสลดลง ๔๘ เปอร์เซ็นต์ และลดการแสดงออกของโปรตีน HN ลงได้
                ยาไรบาวิริน (Ribavirin) ใช้เป็นยาต่อต้านเชื้อไวรัสควบคุม พบว่า ยังมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสได้ต่ำกว่าฟูคอยแดน ในการทดสอบการยับยั้งกระบวนการฟิวชัน พบว่า จำนวนของเซลล์ซินซัยเทีย (synsytia) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเติมฟูคอยแดนก่อนกระบวนการคลีเวจ (cleavage) ของโปรตีนฟิวชัน บ่งชี้ถึง ปฏิสัมพันธ์ที่จำเพาะระหว่างฟูคอยแดน และโปรตีน F0  
                ผลการวิจัยครั้งนี้ บ่งชี้ว่า ฟูคอยแดน จากสาหร่ายทะเล C. okamuranus เป็นสารประกอบที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสที่มีความเป็นพิษต่ำ สามารถนำมาใช้สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก และช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อกลไกของสารประกอบ sulfated polysaccharides ได้ดียิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูล          World Poultry (17 Dec 2012)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...