นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ กำลังสนใจความเป็นไปได้ที่เชื้อซัลโมเนลลาจะแพร่กระจายทางอากาศ และประยุกต์ใช้เทคนิคในการตรวจติดตามจากตัวอย่างหลอดคอของสัตว์ปีก
นักวิจัยนามว่า Guillermo Tellez กำลังทำการวิจัยร่วมกับคณะผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลผลการวิจัยใน International Scientific Forum ว่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเชื้อซัลโมเนลลาสามารถแพร่กระจายทางอากาศเป็นที่มาของการติดเชื้อข้ามกันในสัตว์ปีก
การทดลอง 2 ชุด สำหรับการประเมินวิธีการตรวจสอบเชื้อซัลโมเนลลาในหลอดคอ ในการทดลองที่ ๑ ลูกไก่เนื้ออายุ ๗ วัน ให้เชื้อ SE ทางหลอดคอขนาด 10E5 cfu พบว่า สามารถพบเชื้อได้จากตัวอย่างทอนซิลไส้ตัน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ หลอดคอ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ และตับม้าม ๕๐ เปอร์เซ็นต์
ในการทดลองที่ ๒ หลอดคอ และไส้ตัน ถูกตัดออกจากไก่งวงอายุ ๑๖ สัปดาห์เพื่อประเมินความชุกของเชื้อ จากตัวอย่างเหล่านี้ พบว่า หลอดคอ ๙๗ เปอร์เซ็นต์ให้ผลเป็นบวกต่อเชื้อ อี. โคลัย และ ๓๔ เปอร์เซ็นต์ให้ผลเป็นบวกต่อเชื้อซัลโมเนลลา
นักวิจัยสรุปว่า การตรวจพบเชื้อซัลโมเนลลาที่หลอดคอที่เป็นอวัยวะสำหรับการตรวจสอบขณะมีชีวิต และการเคลื่อนที่ไปตามอากาศของเชื้อซัลโมเนลลาในโรงเรือนสัตว์ปีก สามารถจัเป็นจุดควบคุมสำหรับการแพร่กระจายของเชื้อภายในฝูงได้
ใครอยากฟังรายละเอียดเชิญไปร่วมงาน IPPE2013 ที่แอตแลนตา สหรัฐอเมริกาครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น