วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

นักวิชาการยังขาดองค์ความรู้เรื่องกรดอะมิโนสำหรับเป็ด

การผลิตเป็ดทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอน่างต่อเนื่อง ตอกย้ำความจำเป็นสำหรับการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความต้องการด้านโภชนะสำหรับสูตรอาหารเป็ด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเนื้อเป็ด ข้อมูลจากการวิจัยสำหรับไก่เนื้อไม่สามารถนำมาใช้สำหรับการปรับปรุงสูตรอาหารสัตว์สำหรับเป็ดได้
                เช่นเดียวกับการผลิตเนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด ความต้องการ และการผลิตเนื้อเป็ดโลก ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ.๒๐๐๙ มีการผลิตเนื้อเป็ด ๓.๘ ล้านตัน สูงกว่าปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ถึงหนึ่งล้านตัน ตลาดหลักสำหรับเนื้อเป็ดยังคงเป็นเอเชียมีสัดส่วน ๘๔ เปอร์เซ็นต์ของการผลิตทั่วโลก แม้ว่า ปริมาณการผลิตเนื้อเป็ดทั่วโลกจะใกล้เคียงกับเนื้อไก่งวง แต่ความรู้เกี่ยวกับความต้องการด้านโภชนะ และความสามารถในการย่อยอาหารสัตว์ยังมีน้อยมาก ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการกรดอะมิโนของเป็ด โดย NRC (1994) แนะนำให้มีสัดส่วนของ crude protein และกรดอะมิโนสำหรับไก่งวงไว้ ๓๘ เปอร์เซ็นต์ แต่เพียง ๒๐ เปอร์เซ็นต์สำหรับเป็ดเท่านั้น
ความแตกต่างระหว่างสัตว์ปีก
                สัตว์ปีกแต่ละชนิดมีความแตกต่างด้านกายวิภาค สรีรวิทยา และเมตาโบลิซึมภายในลำไส้ ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนักของลำไส้เล็กเปรียบเทียบกับน้ำหนักร่างกายของเป็ดจะต่ำกว่าไก่เนื้อ แต่สูงกว่าไก่งวง
                นักวิจัยชาวเยอรมัน ศึกษาองค์ประกอบร่างกายของเป็ดปักกิ่ง เป็ดมัสโควี มูลาร์ด และห่านด้วยเทคนิค Non-invasive magnet resonance tomography (MRT) พบว่า สายพันธุ์ และเพศ ของสัตว์ปีกเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อองค์ประกอบร่างกายอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังค้นพบความแตกต่างในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ และอวัยวะ ระหว่างสายพันธุ์เป็ด
ความสามารถในการย่อยกรดอะมิโน
                ความแตกต่างในระบบทางเดินอาหาร และการเจริญเติบโต ส่งผลต่อความสามารถในการย่อยได้ของสารอาหารอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการย่อยกรดอะมิโนได้ของลำไส้เล็กส่วนปลาย แสดงให้เห็นว่า มีค่าเฉลี่ยเป็น ๗๖, ๖๙ และ ๕๖ เปอร์เซ็นต์ในไก่ เป็ด และห่าน ตามลำดับ โดยความสามารถในการย่อยเมไธโอนีน (Met) และไลซีน (Lys) เป็น ๗๐, ๗๒, ๔๔ เปอร์เซ็นต์ และ ๕๗, ๕๒, ๔๑ เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ สรุปว่า ความสามารถในการย่อยกรดอะมิโนได้ในสัตว์ปีกน้ำต่ำกว่าสัตว์ปีกที่เลี้ยงบนบก
                การทดลองที่สอง แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการย่อยกรดอะมิโนของไก่ เป็ด และห่านเป็น ๗๒, ๕๕ และ ๖๓ เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยความสามารถในการย่อยเมไธโอนีน และไลซีน เป็น ๗๔, ๖๒, ๕๕ เปอร์เซ็นต์ และ ๔๑, ๖๐, ๔๑ เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นอีกครั้งวว่า ความสามารถในการย่อยได้ของกรดอะมิโนในสัตว์ปีกบนบกมากกว่าสัตว์ปีกน้ำ เพื่อศึกษาความสามารถในการย่อยกรดอะมิโนได้ที่แท้จริง การสูญเสียที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จะถูกลบหักออกจากผลการทดสอบ ซึ่งเป็นผลมาจากอายุ และส่วนประกอบของอาหารในไก่เนื้อ ผลการศึกษาอีกชุดหนึ่งในเป็ดปักกิ่ง แสดงให้เห็นว่า การสูญเสียไนโตรเจนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ รวมถึง ความต้องการโปรตีนสำหรับการดำรงชีวิตสอดคล้องกับในไก่เนื้อ เนื่องจาก ประสิทธิภาพการย่อยอาหารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเป็ด และไก่เนื้อ ดังนั้น ผลการศึกษาในไก่เนื้อไม่สามารถนำมาใช้ในเป็ดได้ ค่าความสามารถในการย่อยกรดอะมิโนได้จากอาหารเป็ดยังมีองค์ความรู้น้อย โดยเฉพาะ ความต้องการกรดอะมิโนที่ย่ยอได้ ดังนั้น ข้อแนะนำสำหรับการเสริมกรดอะมิโนของเป็ดยังคงอาศัยปริมาณทั้งหมดของกรดอะมิโนทั้งหมด
การปรับปรุงพันธุกรรม
                     ในอีกแง่มุมหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ การปรับปรุงพันธุกรรมของเป็ดสมัยใหม่ ทำให้ในปี ค.ศ. ๑๙๖๙ น้ำหนักเป็ดปักกิ่งส่งตลาดที่ ๒๔๐๐ กรัมที่อายุ ๕๖ วัน โดยมีน้ำหนักเนื้ออก ๙ เปอร์เซ็นต์ แต่ในอีก ๓๐ ปีต่อมา เป็ดปักกิ่งสามารถเติบโตถึงน้ำหนัก ๓๘๒๐ กรัมได้ภายใน๔๙ วัน โดยมีน้ำหนักเนื้ออก ๑๖.๖ เปอร์เซ็นต์ ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการพัฒนาการเจริญเติบโต และการสะสมโปรตีนเป็นหลักฐานประการหนึ่งของความต้องการกรดอะมิโนของสัตว์ปีกน้ำสมัยใหม่
ความต้องการกรดอะมิโนของเป็ด
                ศาสตราจารย์ Hou จาก Chinese Academy of Agricultural Science ในปักกิ่ง ศึกษาความต้องการกรดอะมิโนของเป็ดเปรียบเทียบระหว่าง NRC (1994), Hou (2007) และ Evonik พบว่า เป็ดปักกิ่ง และเป็ดมัสโควี โดยแบ่งการเลี้ยงออกเป็น ๒ ระยะ ได้แก่ ระยะเติบโต และระยะสุดท้าย พบว่า มีการเพิ่มระดับคำแนะนำให้มีการเสริม sulphur amino acids และ ไลซีน ส่วนกรดอะมิโนชนิดอื่นใกล้เคียงกัน โดยมีความแตกต่างเล็กน้อยของทริปโตฟาน อาร์จินีน และวาลีน 
                สำหรับ Sulphur amino acids ไลซีน ทรีโอนีน และทริปโตฟาน มีข้อมูลผลการวิจัยล่าสุดอยู่แล้ว ใน ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ พบว่า มีความจำเป็นสูงสำหรับ เมธัยโอนีนผสมซิสตีน (M+C) ไลซีน และทรีโอนีน เพื่อให้เป็ดปักกิ่งสมัยใหม่สามารถเจริญเติบโตได้สูงที่สุดสำหรับช่วงอายุ ๑ ถึง ๒๑ วัน และ ๒๑ ถึง ๔๙ วัน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย exponential regression level เป็น ๑.๑๖ และ ๑.๐๓ เปอร์เซ็นต์ ไลซีน, ๐.๗๖ และ > ๐.๘๗ เปอร์เซ็นต์ M+C, >๐.๙๙ และ ๐.๙๘ เปอร์เซ็นต์ ทรีโอนีน และ ๐.๒๑ และ ๐.๑๘ เปอร์เซ็นต์ ทริปโตฟาน เป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มน้ำหนักตัว และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่อายุระหว่าง ๑ ถึง ๒๑ วัน
               สำหรับช่วงอายุระหว่าง ๒๑ ถึง ๔๙ วัน ระดับเป็น ๐.๘๓ และ ๐.๗๓ เปอร์เซ็นต์ ไลซีน, ๐.๗๓ และ > ๐.๘๔ เปอร์เซ็นต์ M+C, ๐.๖๒ และ ๐.๖๒ เปอร์เซ็นต์ ทรีโอนีน และ ๐.๒๓ และ ๐.๒๗ เปอร์เซ็นต์ ทริปโตฟาน เป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มน้ำหนักตัว และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร นอกจากนั้น ระดับที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเนื้อหน้าอกคือ ไลซีน ๐.๙๐ เปอร์เซ็นต์ M+C ๐.๖๖ เปอร์เซ็นต์ ทรีโอนีน ๐.๖๖ เปอร์เซ็นต์ และทริปโตฟาน ๐.๒๘ เปอร์เซ็นต์
               ระดับความต้องการไลซีนสำหรับเป็ดปักกิ่งสีขาวเพศผู้ อายุระหว่าง ๗ ถึง ๒๑ วันเป็น ๐.๙๗ เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มน้ำหนักตัว ๑.๐๘ เปอร์เซ็นต์สำหรับประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร ๑.๓๙ เปอร์เซ็นต์ สำหรับน้ำหนักเนื้ออก และ ๑.๕๓ เปอร์เซ็นต์สำหรับยิลด์ของเนื้ออก
ความแตกต่างของสูตรอาหารสัตว์ระยะต่างๆ
                การศึกษาความต้องการเมธัยโอนีน และ M+C แบบ dose-response trial โดย Evonik และศาสตราจารย์ Hou ใช้สัตว์ปีกจำนวน ๑,๖๘๐ ตัว ที่ได้รับอาหารสัตว์เชิงพาณิชย์ตั้งแต่เริ่มเลี้ยง และสูตรอาหารทดลองเมธัยโอนีนทั้งหมด ๙ สูตรที่ใช้ข้าวโพด และถั่วลิสงเป็นส่วนประกอบหลัก และให้กรดอะมิโนสูงกว่าที่ Evonik แนะนำไว้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ระหว่างระยะเริ่มต้น และระยะเจริญเติบโต ระดับพลังงาน และโปรตีนเป็นไปตามคำแนะนำของศาสตราจารย์ Hou กลุ่มที่ทดลองให้ขาดเมธัยโอนีน และ M+C ในระยะเริ่มต้น และระยะเจริญเติบโตจะเป็น ๐.๒๘ กับ ๐.๒๗ เปอร์เซ็นต์ และ ๐.๕๙ กับ ๐.๕๕ เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ระดับดังกล่าวจะค่อยๆปรับขึ้นในอีก ๘ กลุ่มทีละ ๐.๐๔ เปอร์เซ็นต์
                ผลการทดลอง พบว่า ระดับเมธัยโอนีน และ M+C สูงกว่า NRC (1994) ฉบับที่ใช้ในปัจจุบันกำหนดไว้ แต่ใกล้เคียงกับ Evonik (2010) แนะนำสำหรับระยะเริ่มต้น และระยะเจริญเติบโต แต่ระยะสุดท้ายของการผลิตเนื้อเป็ด บ่งชี้ให้มีการปรับ sulphur amino acids ที่มีระดับต่ำกว่าที่เคยคิดไว้มาก่อน เพื่อให้การเจริญเติบโตได้ดีที่สุด และใกล้เคียงกับที่ NRC แนะนำไว้
การเสริมกรดอะมิโน
                บทสรุปเพิ่มเติมคือ อาจใช้ครูดโปรตีนต่ำลงได้ในอาหารเป็ดปักกิ่งระยะสุดท้าย ในฝรั่งเศส ผู้วิจัยทดลองให้อาหารสูตรครูดโปรตีนต่ำ และปรับสมดุลให้กับกรดอะมิโน ๔ ชนิดแรกที่สำคัญโดยการเติม L-Lysine HCl, DL-Methionine, L-Threonine และ L-Tryptophan ผู้วิจัย พบว่า ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโต คุณภาพซาก เมื่อระดับของครูดโปรตีนสูงกว่า ๑๒.๔ เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารที่เสริมด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งสี่ชนิดแล้ว
               นักวิจัยกลุ่มต่อมา ตั้งสมมติฐานว่า การเสริมกรดอะมิโนให้ผลบวกต่อการเจริญเติบโต นักวิจัยชาวจีน Wu ตั้งสมมติฐานว่า L-arginine อาจช่วยควบคุมการสะสมของไขมันในร่างกายเป็ด ระหว่างอายุ ๒๑ ถึง ๔๒ วัน โดยไม่ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ผลการทดลอง บ่งชี้ว่า อาหารที่มีการเสริม L-arginine 1.00 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดการสะสมไขมันของซาก และขนาดเซลล์ไขมันที่ช่องท้อง (เส้นผ่านศูนย์กลาง และปริมาตร) ส่งเสริมให้มีการสร้างไขมันภายในกล้ามเนื้ออก และเพิ่มกล้ามเนื้อ และโปรตีนได้
                เมื่อพิจารณา การวิจัยโดยภาพรวมทั้งหมด นักวิชาการยังขาดองค์ความรู้ที่ดีที่สุดสำหรับการให้อาหารเป็ดในระยะต่างๆ ตั้งแต่อายุมากกว่า ๑๔ วัน เรามีความรู้เกี่ยวกับความต้องการของลูกเป็ดระยะแรกใกล้เคียงกับความต้องการสำหรับการเจริญเติบโตที่สูงที่สุดแล้ว แต่สำหรับระยะเจริญเติบโต และระยะสุดท้าย ยังมีความต้องการต้องศึกษาความต้องการด้านโภชนะต่อไป
แหล่งข้อมูล          World Poultry (23 Jan 2013)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...