ไข้ซิก้าเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า
โรคไวรัสซิก้ามีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซิก้า อาการคล้ายคลึงกับไข้เลือดออก ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่
๖๐ ถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่แสดงอาการ อาการของโรค ได้แก่ ไข้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดศีรษะ
และปรากฏเม็ดตุ่มผื่นคัน โดยทั่วไป อาการค่อนข้างน้อย
และมีอาการปรากฏเพียงระยะเวลาสั้นๆ แค่ ๗ วันเท่านั้น
ไม่ปรากฏผู้เสียชีวิตจนกระทั่งรายแรกเมื่อปีที่ผ่านมา การติดเชื้ออาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการภูมิแพ้ตัวเองที่เรียกว่า
กลุ่มอาการจีบีเอส หรือกิลแลง บาร์เร
ไข้ซิก้าแพร่กระจายโดยยุงลาย
รวมถึง การรับเลือด และเพศสัมพันธ์ โรคอาจแพร่จากแม่สู่ลูกได้ในครรภ์
และเป็นสาเหตุของอาการสมองเล็ก (Microcephaly) การวินิจฉัยมักอาศัยการตรวจเลือด
ปัสสาวะ หรือน้ำลาย เพื่อตรวจหาอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสจากผู้ป่วย
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด
โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายงานการระบาดของโรค เช่น การใช้สารไล่ยุงทาตามร่างกาย
กางมุ้งนอน และกำจัดแหล่งน้ำนิ่งที่ยุงอาศัยแพร่พันธุ์ ปัจจุบัน
ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๘
สาธารณสุขบราซิลแนะนำให้พ่อแม่พิจารณาหลีกเลี่ยงแผนการมีครรภ์ช่วงที่การระบาดของโรค
และแนะนำให้สตรีมีครรภ์หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่โรคระบาด
แม้ว่าจะไม่มีวิธีการบำบัดรักษาอย่างจำเพาะ แต่การใช้ยาพาราเซตามอล
หรืออะเซตามิโนเฟน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรค
ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคแยกพบครั้งแรกในปี
พ.ศ. ๒๕๙๐ แต่เพิ่มมีรายงานการระบาดในมนุษย์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สหพันธรัฐไมโครนีเซีย
ประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเกาะเล็กๆในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๙
โรคได้แพร่ระบาดไปยังหลายประเทศในทวีปอเมริกา นอกเหนือจาก แอฟริกา เอเชีย
และแปซิฟิก เนื่องจาก การระบาดเริ่มต้นที่ประเทศบราซิลตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๘ ดังนั้น
องค์การอนามัยโลกจึงประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์นี้เอง
อาการ และกลุ่มอาการของโรค
อาการ และกลุ่มอาการของโรคไข้ซิก้า
ได้แก่ ไข้ ผื่นคัน ปวดตามข้อ เยื่อตาอักเสบ (ตาแดง) ปวดกล้ามเนื้อ และข้อต่อ
และปวดศีรษะ อาการ และกลุ่มอาการโดยภาพรวมคล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา
ระยะฟักตัวนับตั้งแต่ยุงกัดจนเริ่มแสดงอาการของโรค ยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่เชื่อว่าใช้เวลาไม่กี่วันไปจึงถึงเป็นสัปดาห์
อาการของโรคเป็นเวลาหลายวันจนถึงเป็นสัปดาห์
และค่อนข้างน้อยไม่จำเป็นต้องไปนอนรักษาที่โรงพยาบาล การเสียชีวิตพบได้ยาก
ภาวะเลือดออก อาจพบได้เป็นเลือดออกปนมากับน้ำเชื้อของผู้ชาย (Hematospermia)
ระหว่างการตั้งครรภ์ เชื่อว่า
เชื้อสามารถแพร่จากมารดาสู่บุตรในครรภ์ได้ และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly)
แต่ก็ยังมีรายงานการเกิดโรคนี้เพียงไม่กี่รายเท่านั้น
โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ มีรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขบราซิล
เตือนประชาชนให้ทราบถึงความเชื่อมโยงระหว่างโรคซิก้าไวรัส
และภาวะศีรษะเล็กในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิลจากการตรวจพบทารกที่ปรากฏโรคอย่างรุนแรง
๒ ราย โดยผลการเจาะตรวจน้ำคร่ำ ยืนยันการปรากฏของเชื้อไวรัสซิก้าในน้ำคร่ำ
ผลการตรวจอัลตราซาวด์ พบทารกทั้งสองรายมีลักษณะของศีรษะเล็ก เนื่องจาก
สมองหลายส่วนถูกทำลาย ทารกรายหนึ่ง ยังตรวจพบการสะสมแคลเซียมที่ตา
และมีลูกตาขนาดเล็ก (Microphthalmia) อีกด้วย ดังนั้น
รัฐบาลบราซิลจึงยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อไวรัสซิก้าในสตรีมีครรภ์
และภาวะศีรษะเล็กในทารก โดยมีผู้ป่วยที่สงสัยภาวะศีรษะเล็กอย่างน้อย ๒,๔๐๐
รายในประเทศช่วงปีที่ผ่านมา และเสียชีวิตไปแล้ว ๒๙ ราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น