วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แคลเซียม และไฟเตสในไก่เนื้อ

ไฟเตสกำลังมีการวิจัยกันอย่างกว้างขวาง แต่ยังมีข้อมูลน้อยเกี่ยวกับนิเวศวิทยาของเชื้อจุลชีพในระบบทางเดินอาหารของไกเนื้อ โดยไฟเตสยังช่วยปลดปล่อยแคลเซียมจากอาหารสัตว์ ต้องใส่แคลเซียมมากน้อยเพียงใดเมื่ออาหารสัตว์มีการเสริมไฟเตส
               ไฟเตสเชื่อว่าเป็นสารเติมอาหารสัตว์ที่มีการศึกษามากที่สุดชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเอนไซม์เสริมที่ใช้ในสูตรอาหารของสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง ช่วยเพิ่มผลผลิต โดยช่วยในการสร้างสารอาหารมากมายหลายชนิด รวมถึง  มาโครอิเลเมนต์ และแร่ธาตุที่มีอยู่น้อยในการศึกษาหลายครั้งในสัตว์ชนิดต่างๆ การเสริมไฟเตสในสูตรอาหารสัตว์ ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้แร่ธาตุอาหารจากหินแป้ง และฟอสเฟตโดยการปลดปล่อยฟอสฟอรัส และแคลเซียมออกจากไฟเตตที่มีความซับซ้อน เอนไซม์ไฟเตส ช่วยลดปริมาณการเติมฟอสเฟต และแคลเซียมในรูปอนินทรีย์ที่ใช้ในสูตรอาหารสัตว์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ในรูปของโมโน หรือไดแคลเซียม ฟอสเฟต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเอนไซม์ไฟเตสปลดปล่อยฟอสฟอรัสได้มากกว่าแคลเซียม (ตามสัดส่วนของความต้องการ) ดังนั้น การเสริมเอนไซม์ไฟเตสจึงต้องเติมหินแป้งมากขึ้น เพื่อให้อัตราส่วนระหว่างแคลเซียม และฟอสฟอรัสเป็น ๒ ต่อ ๑ ในอาหารสัตว์
               อาหารสัตว์มีระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียมแตกต่างกัน ดังนั้น การศึกษาปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียม และไฟเตสจึงมีรายละเอียดมาก การทดลองในมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวิตในโปแลนด์โดยใช้ลูกไก่พันธุ์ รอส เพศเมียอายุ ๑ วัน แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการเสริมเอนไซม์ไฟเตสต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ใช้แคลเซียม และฟอสฟอรัสในระดับแตกต่างกันต่อประชากรไมโครไบโอตา และเมตาโบไลต์ในทางเดินอาหารส่วนต่างๆกัน
               ผลต่อประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร พบว่า อัตราการตายต่ำ น้อยกว่า ๓ เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มการทดลอง ในทุกระยะของการทดลอง และทุกพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โดยไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับแคลเซียม และฟอสฟอรัส และการเสริมไฟเตส นั่นคือ ไม่พบผลกระทบของความเข้มข้นของแคลเซียม และฟอสฟอรัสต่อการกินอาหารตลอดการทดลอง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ถึง ๒๑ การลดระดับของฟอสฟอรัส และแคลเซียมส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยอาหารก็แย่ลงเช่นกัน
               ในระยะแรกของการเลี้ยง (อายุ ๑ ถึง ๑๔ วัน) การเติมไฟเตสที่ระดับ ๕๐๐๐ เอฟทียูต่อกิโลกรัมช่วยเพิ่มน้ำหนัก การกินอาหาร และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีขึ้น ในช่วงอายุ ๑๕ ถึง ๒๑ วัน การเสริมไฟเตสก็ช่วยเพิ่มน้ำหนัก และลดประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร แต่ไม่มีลผต่อการกินอาหาร ระหว่างอายุ ๒๒ ถึง ๔๒ วัน มีเพียงประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารเท่านั้นที่ดีขึ้น โดยภาพรวมนับตั้งแต่อายุ ๑ ถึง ๔๒ วัน การเสริมไฟเตสที่ระดับ ๕๐๐๐ เอฟทียูต่อกิโลกรัมในอาหาร ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว และลดประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร โดยไม่มีผลต่อการกินอาหาร
               ผลต่อแบคทีเรีย และกรดแลกติกในลำไส้ จำนวนรวมของแบคทีเรีย (DAPI counts) ต่ำลง โดยการลดความเข้มข้นของแคลเซียม และฟอสฟอรัส แต่เพิ่มขึ้นโดยการเสริมไฟเตส ไม่มีสูตรอาหารใดที่ส่งผลต่อจำนวนของเชื้อแบคเทอรอยเดส จำนวนของเชื้อคลอสตริเดียม และเอนเทอโรคแบคเทอริซีอีลดลงในอาหารจากลำไส้เล็กส่วนท้ายที่เก็บตากไก่กินอาหารที่ขาดแคลเซียม และฟอสฟอรัส ไม่มีผลกระทบที่เห็นชัดของระดับแคลเซียม และฟอสฟอรั และการเสริมไฟเตสต่อความเข้มข้นของกรดอะซิติก และแลกติก เช่นเดียวกับปริมาณรวมของ SCFA ในกระเพาะพัก อย่างไรก็ตาม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างไฟเตส และระดับแคลเซียม และฟอสฟอรัส สังเกตพบสำหรับอะซิเตต และ SCFA
               โดยสรุปแล้ว นักวิจัย พบว่า ฟอสฟอรัสเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการหมักในลำไส้เล็กส่วนท้าย โดยไฟเตสมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ของไก่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจนของระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียมในอาหารสัตว์

แหล่งข้อมูล        Emmy Koeleman, All About Feed &Dairy Globa (16/2/16) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มิชิแกนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหวัดนก

  โรคไข้หวัดนกยังคงระบาดในสหรัฐฯ สองปีที่ผ่านมา สหรัฐฯมีไก่มากกว่า ๙๐ ล้านตัว และนกป่า ๙,๐๐๐ ตัวที่ติดเชื้อด้วยเอช ๕ เอ็น ๑    ในรอบเดือนท...