ผู้ผลิตในฟาร์มสัตว์ปีกกำลังถูกเรียกร้องให้ทบทวนวิธีการจัดการโดยการจุ่มเท้าก่อนเข้าโรงเรือน
ภายหลังผลการวิจัยล่าสุด แสดงให้เห็นว่า การจุ่มเท้าก่อนเข้าโรงเรือนมักไม่มีประสิทธิภาพ
ผลการศึกษาโดยภาควิชาแบคทีเรียวิทยาที่หน่วยสุขภาพสัตว์และพืช
(APHA) ในสหราชอาณาจักร
ประเมินประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อซัลโมเนลลาจากการจุ่มเท้าในฟาร์มสัตว์ปีก
การนำเข้าโรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่โรงเรือนสัตว์ปีกผ่านรองเท้าบู๊ทของคนงานในฟาร์ม
และผู้เยี่ยมฟาร์มมีความเสี่ยงสูงมาก แต่ประสิทธิภาพของการจุ่มเท้าเพื่อการป้องกันเชื้อโรคเหล่านี้ยังมีความไม่นอนอยู่มาก
นักวิจัยจึงเก็บตัวอย่างรอบเท้าบู๊ทที่ผ่านการจุ่มลงในอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อจากฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่เชิงพาณิชย์
เพื่อประเมินประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ SE จากผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้ออยู่ระหว่าง
๓๗ ถึง ๘๖ เปอร์เซ็นต์ โดยการศึกษาครั้งนี้ชี้ไปถึงปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของอ่างจุ่มเท้า
ได้แก่ ความเข้มข้น ปริมาณของสารอินทรีย์ หรือดิน แกลบที่เจือปนในน้ำยาจุ่มเท้า
อุณหภูมิ ไบโอฟิลม์ และเวลาการสัมผัสเชื้อโรค
อ่างจุ่มเท้ามักถูกละเลยในการเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ หรือถูกฝน และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆอันส่งผลต่อการลดประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อลงได้
รายงานจาก APHA
อ้างว่า SE ถึงเป็นเชื้อโรคอุบัติใหม่ที่คุกคามสุขภาพของมนุษย์
จำเป็นที่สัตวแพทย์ และอุตสาหกรรมต้องทบทวนวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการอ่างจุ่มเท้าเพื่อควบคุมโรค
แหล่งที่มา: World Poutry (17/9/15)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น