วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแก้ปัญหาวัสดุรองพื้นโดยอาศัยกรด

แก๊สแอมโมเนียที่ผลิตจากวัสดุรองพื้นระหว่างการเลี้ยงไก่ส่งผลกระทบต่อตา และสุขภาพของระบายใจ รวมถึง ประสิทธิภาพการผลิต
                การแก้ไขปัญหาวัสดุรองพื้นเสียภายในโรงเรือนระหว่างการกกลูกไก่โดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีเดียว สามารถควบคุมปัญหาได้ระยะหนึ่งเท่านั้น นักวิจัยจึงพยายามใช้กรดระหว่างเลี้ยง เพื่อปรับสมดุลของความเข้มข้นแอมโมเนียภายในวัสดุรองพื้น และผลการเลี้ยงในไก่เนื้อที่เลี้ยงในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน
                การทดลองทั้งหมด ๓ รุ่น ระยะเวลาระหว่างฝูงเป็นเวลา ๑๔ วันให้คล้ายกับการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์จริง แต่ละกลุ่มการทดลองแบ่งเป็น ๔ ซ้ำ สำหรับ ๕ กลุ่มการทดลอง ในแต่ละกลุ่มการทดลอง มีไก่เนื้อ จำนวน ๔๒ ตัว เลี้ยงด้วยเครื่องให้อาหารตามท่อ และอุปกรณ์ให้น้ำแบบนิปเปิล แบ่งเป็น กลุ่มควบคุมลบ (ไม่มีการแก้ปัญหาเลย) ให้กรดครั้งเดียวหนึ่งวันก่อนลงลูกไก่ (-๑ วัน) ให้สองครั้ง (-๑ และ ๒๘ วัน) ให้ช่วงท้ายด้วย (-๑, ๒๘ และ ๔๓ วัน) และให้ทุกสองสัปดาห์ (-๑, ๑๔, ๒๘ และ ๔๒ วัน) และให้ทุกสองสัปดาห์จนถึง ๔๓ วันจากอายุการเลี้ยงทั้งหมด ๕๖ วัน โดยใช้ขนาดตามที่ผู้ผลิตแนะนำคือ ๑๐๐ ปอนด์ต่อ ๑,๐๐๐ ตารางฟุต ผลการวิจัย บ่งชี้ว่า การให้ทุกสองสัปดาห์ให้ผลดีที่สุดในการลดความเข้มข้นแอมโมเนีย ตามด้วยการให้ช่วงท้าย โดยความเข้มข้นแก๊สแอมโมเนียได้ลดลง ๕๖.๖ และ ๒๑.๘ เปอร์เซ็นต์ที่อายุ ๔๒ และ ๕๗ วัน ตามลำดับ สำหรับการให้ทุกสองสัปดาห์

  แหล่งที่มา Proceedings of the 2013 International Poultry Scientific Forum, Atlanta, GA USA
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...