เผยงานวิจัยเพื่อประเมินผลของการเติม
และพลังงานที่สามารถเมตาโบไลส์ได้ (ME) DDGS
ต่อคุณภาพเม็ดอาหาร ความสามารถในการย่อย รอยโรคเท้าอักเสบ
และผลการเลี้ยงไก่เนื้อ
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า
สามารถใช้ DDGS
ได้ในสัดส่วนถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ในอาหารไก่เนื้อ
เมื่อคำนวณสูตรอาหารตาม AA อย่างไรก็ตาม
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ระดับสูงสุดที่ใช้เติมลงในอาหารได้ควรเป็นเท่าไร
เมื่อคำนวณสูตรอาหารตาม CP ค่า MG ของ DDGS
โดยทั่วไปคำนวณโดยอาศัย crude fat โปรตีน
และไฟเบอร์
Crude fat สามารถประเมินโดยอาศัยการสกัด
หรือการมีการให้ Acid hydrolysis pre-treatment กอน
โดยสามารถให้ค่า crude fat ประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ใน DDGS
ดังนั้นจึงมีค่า ME ที่สูงกว่าประมาณ ๒.๒
เปอร์เซ็นต์
ไก่เนื้อเพศผู้จำนวน ๑,๒๖๐ ตัว
แบ่งกลุ่มแบบสุ่มเป็น ๕ กลุ่ม โดยให้มี ๖ ซ้ำต่กลุ่มการทดลอง มีไก่จำนวน ๓๕ ตัวต่อกลุ่ม
การทดลองแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ให้ DDGS และจัดเรียงแบบ factorial
arrangement of two analytical methods สำหรับการวิเคราะห์ CF
(AOAC 920.39 และ 954.02) และเติม DDGS
เป็น 2 ระดับ (๑๕ และ ๓๐ เปอร์เซ็นต์) ค่า DDGS
ME ที่ใช้สำหรับสูตรอาหารเป็น ๒,๖๓๑ และ ๒,๖๘๙
กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม อาหารสูตรแรกเป็นแบบ crumbled form
ประกอบด้วย DDGS ๖ เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อถึงระยะเติบโต
และระยะสุดท้ายเป็นแบบ pelleted from พบว่า การกินอาหาร
และน้ำหนักตัวที่อายุ ๑๔, ๓๕ และ ๔๙ วัน และอัตราแลกเปลี่ยนอาหาร ที่อายุ ๓๕ และ
๔๙ วัน เก็บตัวอย่างลำไส้เล็กส่วนท้ายวิเคราะห์ความสามารถในการย่อยอาหาร ที่อายุ
๕๐ วัน ประเมินรอยโรคที่เท้า ผลการทดลอง พบว่า ค่าวิเคราะห์ที่ ๙๕๔.๐๒ ส่งผลให้ลดการเติมไขมันลงได้
และช่วยเพิ่มคุณภาพเม็ดอาหาร ในทางตรงข้าม การเติม DDGS ที่สัดส่วน
๓๐ เปอร์เซ็นต์ ลดคุณภาพเม็ดอาหร ลดน้ำหนัก การแลกเปลี่ยนอาหาร การย่อยได้โปรตีน
และเพิ่มอุบัติการณ์รอยโรคที่เท้า ไก่เนื้อสามารถให้ DDGS ที่สัดส่วน
๑๕ เปอร์เซ็นต์เมื่อคำนวณสูตรโดยอาศัย CP และวิธีการคำนวณ CF
และ ME ส่งผลต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อได้
แหล่งที่มา: Wilmer Pacheco, Adam Fahrenholz, Charles Stark, Peter
Ferket, John T. Brake, North Carolina State University, Raleigh, NC USA. Proceedings
International Poultry Scientific Forum (2014), Atlanta, GA, USA
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น