สหรัฐฯยืนยันโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในฟาร์มสัตว์ปีกครั้งแรกในรอบ ๓
ปี โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานการพบโรคไข้หวัดนก HPAI
H7N3 ในฟาร์มไก่งวงเมืองเชสเตอร์ฟิลด์ รัฐเซาท์แคโรไลนา
ตามข่าว USDA อ้างว่าไม่เป็นอันตรายต่อคน
และไม่พบผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ ตามรายงานต่อ OIE กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ แจ้งว่า
ฟาร์มที่เกิดโรคมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับฟาร์มที่เคยติดเชื้อ LPAI H7N3 มาก่อนแล้ว บ่งชี้ว่า
เชื้อไวรัสเกิดการกลายพันธุ์
ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือน USDA ร่วมกับนักวิจัย และเกษตรกรได้ทำงานร่วมกันเพื่อพยายามควบคุมโรค LPAI H5 และ H7 ที่วนเวียนอยู่ในรัฐนอร์ธ และเซาท์ แคโรไลนา มาแล้ว
โฆษกของ USDA ชื่อว่า Lyndsay Cole ฟาร์มที่เกิดโรคคาดว่าเกิดการติดเชื้อ
LPAI มาก่อน
แต่ในเวลาต่อมาเกิดการกลายพันธุ์เป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงขึ้น นักวิจัยของ USDA ที่ห้องปฏิบัติการ NVSL
ได้จับตาเชื้อไวรัสที่รุนแรงต่ำอย่างใกล้ชิด
และในเวลาต่อมาก็พบว่า
เชื้อไวรัสดังกล่าวเกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นเชื้อรุนแรงทำให้ไก่งวงตายไป ๑,๕๘๓
ตัว ดังนั้น จึงตัดสินใจทำลายไก่งวงที่เหลือไปอีก ๓๒,๕๗๗ ตัว
สมาคมไก่งวงแห่งชาติยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์จากไก่งวงยังปลอดภัย
และอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร ฝูงไก่งวงที่ติดเชื้อถูกทำลายอย่างรวดเร็ว
และจะไม่นำไปจำหน่ายเด็ดขาด ขณะนี้ได้มีการฆ่าเชื้อ และทำความสะอาดฟาร์มที่เกิดโรค
และเฝ้าระวังในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้สหรัฐฯเคยประสบปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดในปี
พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ เมื่อเกิดความเสียหายในฟาร์ม โดยส่วนใหญ่เป็นฟาร์มไก่ไข่ ๕๐
ล้านตัว
ผลวิจัย
นักวิจัยเพิ่งเผยแพร่ผลการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในนกป่าของจีนระหว่างปี
พ.ศ. ๒๕๖๐ ถึง๒๕๖๒ เพื่อติดตามเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H16N3 ที่พบแล้วหลายประเทศในปัจจุบัน และกำลังวิตกว่าอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์
ผู้วิจัยสามารถแยกเชื้อไวรัส H16N3 ได้
2 ตัวอย่างที่สามารถจับกับตัวรับของเซลล์ทั้งมนุษย์
และสัตว์ปีก และพบหลักฐานว่า สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสมาจากสัตว์ชนิดอื่นๆ
นำเข้าสู่เชื้อไวรัสไข้หวัดนก H16N3
บ่งชี้ว่า
เชื้อไวรัสนี้สามารถติดเชื้อสู่สัตว์ชนิดอื่นๆและอาจเป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์
และสัตว์ได้ในอนาคต โดยนักวิจัยเขียนไว้ในบทความวิจัยว่า
จำเป็นต้องเพิ่มการตรวจติดตามการอุบัติใหม่
และการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H16N3 ในนกป่าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2020. US battles high-pathogenic bird flu
in South Carolina turkey farm. [Internet]. [Cited 2020 Apr 15]. Available from:
ภาพที่ ๑ สหรัฐฯรับกับหวัดนกในรัฐแคโรไลนา จากภาพเจ้าหน้าที่กำลังทำให้ไก่ตายอย่างมีมนุษยธรรมด้วยแก๊ส (แหล่งภาพ Ruud Ploeg)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น