ขณะนี้มีแอพลิเคชันเต็มไปหมดในชีวิตประจำวันของเรา
มหาวิทยาลัยจอร์เจียกำลังปฏิวัติเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง หรือวีอาร์ใช้ในฟาร์มสัตว์ปีกแล้ว
เมื่อเราคิดถึงโลกความเป็นจริงเสมือน
(Virtual reality, VR) ส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงด้านความบันเทิงที่กำลังวิวัฒนาการเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในโลกของวีดีโอเกมส์ที่เหนือความเป็นจริง
แต่สิ่งเหล่านี้ก็ดูจะห่างไกลจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียเทคแห่งแอตแลนตากำลังพยายามเปลี่ยนแปลงโดยมองหาความเป็นไปได้ในการใช้วีอาร์มาใช้ในภาคธุรกิจฟาร์มบ้าง
ตั้งแต่การออกแบบฟาร์มผลิตสัตว์ปีกไปจนถึงวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการชำแหละชิ้นส่วนไก่
ตอนนี้
นักวิจัยกำลังค้นหาวิธีการใช้วีอาร์เป็นเครื่องมือสำหรับการทำวิจัยในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
เช่น การใช้เทคโนโลยีสามมิติที่สามารถสร้างความประทับใจขณะที่ผู้เล่นควบคุมปุ่มต่างๆ
และย้ายวัตถุต่างๆได้ในแบบสามมิติ รวมถึง
การมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวเหมือนอยู่ในสถานที่จริง เชื่อว่า
น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ขณะนี้ VR ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกยังอยู่ในขั้นตอนของการส่งเสริม
หรือเป็นไปได้ยาก ในฤดูร้อน ค.ศ. ๒๐๑๖
บริษัทแลคผู้เลี้ยงสัตว์ปีกไข่ปล่อยอิสระในสหราชอาณาจักรได้ร่วมกับแมคโดนัลด์
ริเริ่มให้ลูกค้าได้ทดลองท่องเที่ยวไปในฟาร์มตามความจริงเสมือน
เพื่อให้ลูกค้าของแมคโดนัลด์ได้ทำความเข้าใจพันธสัญญาต่อการผลิตในฟาร์มของบริษัทโดยแสดงเป็นภาพยนตร์
๓๖๐ องศาให้ผู้บริโภคได้เห็นทุกมุมมอง ตั้งแต่โรงเรือนแม่ไก่ของเลค ฟาร์ม
และอาคารบรรจุไข่ รวมถึง ฟาร์มประเภทอื่นๆในสหราชอาณาจักร ขณะที่ ย้อนกลับไปในปี
ค.ศ. ๒๐๑๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Austin Steward จากมหาวิทยาลัยไอโอวาก็ได้สร้างโลกความจริงเสมือนที่เรียกว่า
ปศุสัตว์ทุติยภูมิ เพื่อเผยให้เห็นการใช้ชีวิตของสัตว์ปีกในฟาร์มขนาดใหญ่
โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้ท่องเที่ยวไปได้ทั่วทุกมุมของฟาร์ม
โครงการนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อนาคตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกได้มากกว่าความเป็นจริง
นอกเหนือจากนั้น โครงการของจอร์เจียเทคยังสนใจระบบการขนส่ง
ระบบการแขวนไก่มีชีวิตตั้งแต่ในฟาร์มเพื่อใช้ในโรงเรือนไก่โดยตรง
การออกแบบนี้จะใช้ VR แทนที่จะใช้การออกแบบโดยคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่มีการโต้ตอบ (Interactive computer aided desing, CAD) ค่อนข้างน้อย อุปกรณ์บางชิ้นสามารถทดลองนำไปวางในพื้นที่ว่างในโรงงานฯ
ว่าพอดีกันหรือไม่ และยังประยุกต์ใช้ VR สำหรับการสร้างแบบจำลองของ
CAT scans เพื่อตรวจโครงสร้างผิวหนัง และกระดูก
เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์การจัดการโรงงานโดยใช้หุ่นยนต์ทั้งหมดไปจนถึงการออกแบบอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการชำแหละเนื้อไก่
ผู้วิจัยกำลังวิจัยโครงการชำแหละเนื้อไก่โดยต้องมีการจำลองการเคลื่อนไหวของมีดเป็นสามมิติ
เพื่อสำรวจหาวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการชำแหละเนื้อโดยวีอาร์จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แสวงหาวิธีดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วจากการสแกนโครงสร้างกระดูกไก่ด้วยระบบดิจิตอล
นักวิจัยได้สร้างแอพพลิเคชันโดยใช้ HTC Vive ระบบการจำลองเหตุการณ์โลกเสมือนจริง
ร่วมกับหูฟังสวมศีรษะ และครอบตา
และคอนโทรเลอร์บังคับมือให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์แบบสามมิติในโลกดิจิตอล
แอพพลิเคชันยังสามารถสร้างเพื่อรองรับระบบอื่นๆที่มีอยู่แล้วในตลาด เช่น Oculus
Rift และระบบที่มีราคาถูกลง เช่น Gear VR และ Google
Cardboard นอกจากนั้น
ผู้วิจัยกำลังคิดว่าจะใช้เป็นเครื่องมือด้านการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาทำความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสรีรวิทยาของไก่
โดยช่วยในการสังเกต และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้ ขณะนี้
ไม่ใช่ทุกบ้านจะมีหูฟังสวมศีรษะของ Oculus Rift แต่เชื่อว่า
เทคโนโลยีวีอาร์จะมีบทบาทสำคัญในชีวิตของเราในหลากหลายทางมากขึ้นๆในไม่ช้าทั้งด้านการบันเทิง
การแพทย์ และการศึกษา คณะผู้วิจัยจากจอร์เจียเทคหวังว่า
วีอาร์จะนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
The Poultry
Site. 2017. Are you ready for virtual reality poultry farming?. [Internet].
[Cited 2017 Feb 8]. Available from: http://www.thepoultrysite.com/poultrynews/38162/the-next-frontier-virtual-reality-for-the-poultry-industry/
ภาพที่ ๑ โลกความเป็นจริงเสมือน
(Virtual reality, VR) ในภาคธุรกิจฟาร์มบ้าง
ตั้งแต่การออกแบบฟาร์มผลิตสัตว์ปีกไปจนถึงวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการชำแหละชิ้นส่วนไก่
(แหล่งภาพ The Poultry Site, 2017.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น