วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

หวัดนกระบาดในสหรัฐฯแล้ว

อุตสาหกรรมกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกในสหรัฐฯ ตกที่นั่งลำบากอีกครั้ง และต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพหลังตรวจพบโรคไข้หวัดนกในรัฐเทนเนสซี 
โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ปรากฏในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๖ เป็นต้นมา สมาคมผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการเพิ่มความเข้มงวดความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค เมื่อวันที่ ๕ มีนาคมที่ผ่านมา ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกพันธุ์ของบริษัท ไทสัน ฟู้ด ในรัฐเทนเนสซี ตรวจพบเชื้อไวรัส โดยเกิดการระบาดเพียง ๑ ฟาร์ม และกำลังเฝ้าระวังโดยการเก็บตัวอย่างตรวจสอบโดยรอบรัศมี ๖ ไมล์รอบฟาร์ม และวันที่ ๖ มีนาคม กระทรวงเกษตร การค้า และผู้บริโภคแห่งรัฐวิสคอนซิน พบโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงต่ำ (LPAI) ในฟาร์มไก่งวงในเมืองบาร์รอน รัฐวิสคอนซิน
สภาไก่แห่งชาติ (National Chicken Council, NCC) อ้างว่า การทำลายสัตว์ปีกทั้งหมด ๗๓,๕๐๐ ตัวดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โรคนี้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และจะไม่พลัดเข้าสู่วงจรการผลิตอาหาร ขณะเดียวกัน ไก่ที่รัฐวิสคอนซิน ๘๔,๐๐๐ ตัว กำลังถูกกักกันโรค และตรวจติดตาม แต่ยังไม่มีการทำลาย ฝูงสัตว์ปีกกลุ่มนี้จะนำจำหน่ายหากไม่พบโรค สภาไก่แห่งชาติยังอ้างว่า สหรัฐฯมีแผนการตรวจติดตาม และเฝ้าระวังโรคที่เข้มงวดที่สุดในโลก ภายใต้การควบคุมของภาครัฐตั้งแต่ระดับประเทศ และรัฐ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายโรค และกำจัดโรคอย่างสมบูรณ์ กลุ่มผู้ประกอบการได้สนับสนุนให้สมาชิกเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และปฎิบัติงานร่วมกับภาครัฐ และคู่ค้า เพื่อลดการทำลายการตลาดส่งออก

เรียนรู้ขั้นตอนความปลอดภัยทางชีวภาพ
สมาคมสัตว์ปีก และไข่ แห่งสหรัฐฯ (USPOULTRY) กระตุ้นให้ยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพภายหลังการตรวจพบเชื้อ โดยใช้แบบตรวจสอบของกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ เพื่อประเมินตัวเองสำหรับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และค้นห้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบริการสารสนเทศข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์ และพืช กระทรวงเกษตร สหรัฐฯ ถึงเวลานี้ต้องกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ปีกยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยเฉพาะ การควบคุมนกป่า ในช่วงเวลานี้ของปี เครื่องมือสำหรับการประเมินตัวเองจะช่วยให้สำรวจจุดอ่อนของฟาร์ม รวมถึง ทรัพยากรที่จำเป็น และมองหาส่วนที่ขาดแคลน  
โรคไข้หวัดนกเป็นภัยคุกคามต่อการผลิตสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ การระบาดระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๔ ถึง ๒๐๑๕ ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อุตสาหกรรมฟาร์มไก่ไข่ โดยสูญเสียสัตว์ปีกไปหลายล้านตัว  เพื่อควบคุมการระบาดของโรค จึงเพิ่มมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพทั่วทั้งอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยเฉพาะผู้ประกอบการฟาร์มไก่ไข่มีบทเรียนจากความเสียหายอย่างร้ายแรงจากโรค ถึงตอนนี้ โรคนี้ก็ยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ต้องเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดต่อไป

การทำลายตลาดค้าสัตว์ปีก
ข่าวการปรากฏของโรคไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ กำลังสร้างความเสี่ยงต่อการระงับการส่งออกไก่จากสหรัฐฯ อ้างตามรายงานจากรอยเตอร์ เกาหลีใต้ที่กำลังจัดการโรคไข้หวัดนกระบาดในประเทศตัวเอง ก็จะระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม เป็นต้นไป นอกจากนั้น การรับการส่งออกไข่ไก่จากสหรัฐฯบางส่วนเข้าสู่ประเทศในเอเชียก็จะหยุดลงเช่นกัน โดยเฉพาะ สัตว์ปีกมีชีวิต และไข่จะถูกระงับการส่งออก ขณะที่ เนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์จากไข่ที่ผ่านการให้ความร้อนยังสามารถนำเข้าไปได้  
  เมื่อวันที่ ๖ มีนาคมที่ผ่านมา สิงค์โปร์ และไต้หวันก็ประกาศห้ามนำเข้าสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก ไข่แปรรูป และสัตว์ปีกมีชีวิตจากเมืองลินคอล์น รัฐเทนเนสซี และเมืองบาร์รอน รัฐวิสคอนซิน
เอกสารอ้างอิง
Alonzo A. 2017. US poultry industry urges caution against avian flu. [Internet]. [Cited 2017 Mar 6]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/30038-us-poultry-industry-urges-caution-against-avian-flu?utm_source=KnowledgeMarketing&utm_medium=email&utm_content=Poultry%20Update&utm_campaign=17_03_07_Poultry%20Update_Tuesday&eid=89973158&bid=1684864
ภาพที่ ๑ โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ปรากฏในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๖  (แหล่งภาพ: Iowa Turkey Federatio)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...