ยุคใหม่สำหรับการเก็บตัวอย่าง ซัลโมเนลลา กฏระเบียบ และการควบคุมในสัตว์ปีกกำลังเริ่มต้น และกดดันกระบวนการผลิตที่ฟาร์มเพื่อลดเชื้อจากการประชุมโพลทรีย์เทคซัมมิต ผู้ร่วมประชุมถกเถียงกันถึงวิธีการใหม่สำหรับควบคุม ทดสอบ และลดเชื้อ ซัลโมเนลลา ก่อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปการผลิต โดยวิทยากร ได้แก่ ดร.ดักกลาส ฟัลนีเชก สัตวแพทย์อาวุโสด้านสุขภาพสัตว์ปีกอาวุโส และ ดร.นิกกี้ ชาเรียต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยจอร์เจีย และเจฟฟรีย์ ไนเดอร์เมเยอร์ ผู้อำนวยการความปลอดภัยอาหารที่บัตเตอร์บอล
เชื้อ ซัลโมเนลลา
ไม่ได้เริ่มขึ้นในโรงงานแปรรูปการผลิต เป้าหมายจึงสมควรป้องกันลูกไก่เนื้อ
หรือไก่งวงตั้งแต่การเลี้ยงที่ฟาร์ม ถือเป็นสิ่งท้าทายใหญ่ เนื่องจาก
ขั้นตอนการผลิตเอื้ออำนวยสำหรับเชื้อแบคทีเรียอย่างมาก
ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องให้ความสำคัญกับการแสวงหานวัตกรรมใหม่สำหรับควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา
ความปลอดภัยต้องเริ่มต้นตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก
ผลกระทบของกฏระเบียบ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
ยังไม่กำหนดกฏระเบียบไว้ที่ฟาร์ม ดังนั้น
ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องอาศัยวิธีการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา
ในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกโดยสมัครใจเอง อย่างไรก็ตาม หน่วยงานตรวจสอบและความปลอดภัยอาหาร
หรือเอฟซิส ได้นำเสนอกรอบโครงร่างการลดเชื้อ ซัลโมเนลลา
ประกาศไว้เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕
ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของกฏระเบียบการควบคุมเชื้อโดยทางอ้อมไว้
หากกฏระเบียบใหม่นี้บังคับใช้แล้ว
บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกก็จะต้องตรวจสอบเชื้อ ซัลโมเนลลา
จากฟาร์มที่เข้าสู่โรงเชือด เป็นการสนับสนุนการควบคุม
และตรวจสอบโดยหน่วยงานตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารสหรัฐฯ
และช่วยยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุดท้าย
หน่วยงานตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารสหรัฐฯ
ได้ประกาศแนวทางปฏิบัติไว้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา
ในเนื้อสัตว์ปีกดิบ
โดยผนวกเอาการให้วัคซีนในสัตว์ปีกพันธุ์โดยใช้การสเปรย์วัคซีนเชื้อเป็นที่โรงฟัก
การควบคุมเชื้อในโรงงานอาหารสัตว์ การอดอาหารก่อนเข้าโรงฆ่า
และเพิ่มความเข้มงวดความปลอดภัยอาหารในโรงเรือนไก่เนื้อ
การควบคุมเชื้อทั้งฟาร์ม
และโรงเชือดพร้อมกัน คาดว่าจะช่วยให้การควบคุมเชื้อโดยภาพรวมดีขึ้นอย่างมาก
หากบางบริษัทยังปฏิบัติเฉพาะที่โรงเชือดก็จะมีสถานะในอุตสาหกรรมด้อยลงไป
ยิ่งหากไม่กำหนดมาตรการควบคุมสักอย่างก็จะยิ่งลดระดับให้ต่ำที่สุดไปอีก
การตรวจสอบในฟาร์ม
ปัจจุบัน
ผู้ผลิตสัตว์ปีกจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับวิธีการที่สามารถใช้ได้ให้สอดคล้องกับร่างกฏระเบียบใหม่นี้
หนึ่งในวิธีการนี้สามารถทำได้โดยการนำสัตว์ปีกที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดไว้เป็นลำดับแรกในการทำงาน
เพื่อป้องกันการปนเปื้อนไปยังฝูงถัดไป ซึ่งเป็นสิ่งที่มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้วในยุโรป
แต่ในสหรัฐฯ ยังไม่มีการปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ผลการศึกษาล่าสุด พบว่า
อุบัติการณ์เชื้อ ซัลโมเนลลา ในฟาร์มสัตว์ปีกอยู่ระหว่างร้อยละ ๘๓ ถึง ๙๐
ทำให้วิธีการนี้ปฏิบัติได้ค่อนข้างลำบาก
ยุโรปไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อระหว่างการแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก
ดังนั้น การบังคับให้คัดกรองก่อนที่ฟาร์มไก่เนื้อจึงเป็นไปอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะสำหรับเชื้อ ซัลโมเนลลา เอนเทอไรทิดิส และไทฟิมูเรียม หากผลเป็นบวก
ก็จะทำลายฝูงสัตว์ทั้งหมด ในบางประเทศของสหภาพยุโรป ยังอนุโลมให้เปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่อื่นๆได้
ผลการวิจัยเชื้อ ซัลโมเนลลา ซีโรไทป์ต่างๆจากผู้ผลิตสัตว์ปีก ๔ คอมเพล็กซ์
พบว่า ในคอมเพล็กซ์หนึ่ง โพรไฟล์ของเชื้อ ซัลโมเนลลา
แตกต่างกันไประหว่างฟาร์ม ขณะที่คอมเพล็กซ์อื่นๆ มีความแตกต่างกันน้อยกว่า
คอมเพล็กซ์ที่พบโพรไฟล์ของเชื้อ ซัลโมเนลลา
แตกต่างกันไประหว่างฟาร์ม พบว่า ร้อยละ ๕๐ ของตัวอย่างประกอบด้วยเชื้อหลายซีโรวาร์
และฟาร์มตัวเองร้อยละ ๘๐ ให้ผลบวกต่อเชื้อ ซัลโมเนลลา โดยการทดลองนี้
ผู้วิจัยได้ให้คะแนนความเสี่ยงจาก ๐ ถึง ๔ สำหรับแต่ละฟาร์มที่ตรวจพบเชื้อ ซัลโมเนลลา
และความชุกของเชื้อ การประเมินความเสี่ยงนี้เป็นตัวอย่างสำหรับผู้ผลิตสัตว์ปีกในการจัดลำดับฟาร์มส่งเข้าโรงเชือด
จากการประเมินโพรไฟล์ และปริมาณของเชื้อ ซัลโมเนลลา ที่ฟาร์ม
สามารถเป็นข้อมูลสำคัญช่วยลดเชื้อ ซัลโมเนลลา ในโรงเชือด
และสร้างความมั่นใจว่าได้ปฏิบัติสอดคล้องกับร่างกฏระเบียบใหม่นี้ได้ พื้นที่สีเทาในการผลิตสัตว์ปีกบางแห่งจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า
เมื่อไร และที่ไหนที่ควรเก็บตัวอย่าง อะไรบ่งชี้ถึง การปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา
สูง และตัวบ่งชี้อื่นๆที่ผู้ผลิตสามารถใช้ประเมินฝูงสัตว์ปีกของตัวเองได้
กลยุทธ์การลดเชื้อ ซัลโมเนลลา
การทำแผนที่ไบโอแมปปิ้ง
และรวบรวมข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการระดับไมโคร
และมีผลต่อวิธีการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ที่ผู้ผลิตสัตว์ปีกเลือกใช้
การเก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังเข้าโรงเชือดเป็นสิ่งสำคัญมาก
เนื่องจาก ข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้บ่งชี้ว่า ซีโรไทป์อะไรที่พบในฟาร์ม
และสามารถนำเข้าสู่โรงเชือด
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ซีโรไทป์ และปริมาณเชื้อในตัวอย่าง
ที่เข้าสู่โรงเชือด เป็นข้อมูลที่มีค่าสำหรับการศึกษาเชื้อ ซัลโมเนลลา
หรือประเมินโอกาสของการปนเปื้อนข้าม นักวิจัยพยายามใช้การวางแผนและกลยุทธ์ในการจัดการเชื้อ
ซัลโมเนลลา หากพบเชื้อในฝูงสัตว์ก่อนเข้าโรงเชือด เช่น
หากพบเชื้อในโรงเรือนแห่งหนึ่ง สัตว์ปีกสามารถเปลี่ยนแผนการผลิตไปสู่การปรุงสุก
หรือใช้การแปรรูปด้วยความดันสูง (high-pressure processing, HPP)
ผลการทวนสอบขั้นตอนการผลิต สามารถลดปริมาณเชื้อ ซัลโมเนลลา
ได้โดยใช้เทคโนโลยี HPP ได้ อย่างไรก็ตาม
อาจทำให้คุณสมบัติด้านประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป
และมีข้อจำกัดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ การแช่แข็งอย่างรวดเร็ว
และการเก็บสินค้าแช่แข็งสามารถลดปริมาณเชื้อ ซัลโมเนลลา ในเนื้อสัตว์ปีกได้เช่นเดียวกัน
เทคโนโลยีการควบคุมเชื้อโดยแบคเทอริโอฝาจกำลังนิยมใช้แพร่หลาย
และสามารถใช้ควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ได้ในสัตว์ปีก
ก่อนที่จะจับสัตว์ปีกเข้าสู่โรงงาน
การจัดการและตรวจประเมินกระบวนการด้านสุขอนามัยเป็นสิ่งจำเป็นต่อการควบคุมกระบวนการผลิต
นอกเหนือจากการขัดมือ การพักการผลิตเพื่อทำความสะอาด การเตรียมสารเคมี และควบคุมอุณหภูมิ
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านสุขอนามัยที่ต้องคอยตรวติดตามบ่อยๆ เนื่องจาก ส่งผลต่อความชุกของเชื้อ
ซัลโมเนลลา ต่ออุปกรณ์การแปรรูปเนื้อสัตว์
เอกสารอ้างอิง
Johnson M. 2023. Salmonella
control in poultry should include pre-harvest. [Internet]. [Cited 2022 Nov 4]. Available from: https://www.wattagnet.com/latest-news/article/15536821/salmonella-control-in-poultry-should-include-pre-harvest
ภาพที่
๑ สัตวแพทย์ในโรมาเนียเดินภายในโรงเรือนสัตว์ปีกในเมืองคาราราซิ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน
พ.ศ.๒๕๕๗ (แหล่งภาพ Meredith
Johnson)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น