วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิจัยลิเธียมคลอไรด์ยับยั้งไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวไก่

ผลการวิจัยประสิทธิภาพของลิเธียมคลอไรด์ต่อการหยุดยั้งเชื้อไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวสัตว์ปีกมิให้เพิ่มจำนวนในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดซีอีเอฟ บ่งชี้ว่า ลิเธียมคลอไรด์สามารถใช้เป็นสารต้านไวรัสเอแอลวีชนิดเจได้
               การทดลองที่สถาบันเพอร์ไบร์ตเพื่อศึกษาฤทธิ์ของลิเธียมคลอไรด์ต่อการยับยั้งเชื้อไวรัส โดยนักวิจัยประเมินประสิทธิภาพของลิเธียมคลอไรด์ต่อการติดเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดซีอีเอฟ โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยเรียลไทม์พีซีอาร์ การวิเคราะห์เวสเทิร์นบลอต ไอเอฟเอ และการทดสอบอีไลซาต่อโปรตีนพี ๒๗ แสดงให้เห็นว่า จำนวนสำเนาอาร์เอ็นเอ และระดับโปรตีนของเชื้อไวรัสลดลงอย่างมีนัยสำคัญแปรผันตามขนาดของสารเคมี และเวลา  
               ผลการวิเคราะห์ยังพบว่า ผลการต่อต้านเชื้อไวรัสยังเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดซีอีเอฟถูกบำบัดที่ระยะภายหลังการติดเชื้อเหนือกว่าที่ระยะการดูดซึมระยะแรก หรือระยะก่อนการดูดซึม การทดลองต่อไป ยังแสดงให้เห็นว่า ลิเธียมคลอไรด์ ไม่มีผลต่อกระบวนการสัมผัส หรือการเข้าสู่เซลล์ แต่จะมีผลต่อการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสระยะแรกมากกว่า นักวิจัยยังพบว่า การยับยั้งการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสด้วยลิเธียมคลอไรด์เกิดจากการลดระดับของเอ็มอาร์เอ็นเอของไซโตไคน์ชนิด Proinflammatory cytokines

สารลิเธียมคลอไรด์
               สารลิเธียมคลอไรด์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคไบโพลาร์ในมนุษย์ โดยมีฤทธิ์ทางชีวภาพหลายประการ ได้แก่ การเหนี่ยวนำกระบวนการอะพอพโทซิส การสังเคราะห์ไกลโคเจน และการอักเสบ ในหลายปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยตีพิมพ์ศึกษาการใช้ลิเธียมคลอไรด์ต่อการทำลายเชื้อก่อโรคหลายชนิดทั้งไวรัส และแบคทีเรีย การออกฤทธิ์ของลิเธียมคลอไรด์ (LiCl) มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสทั้งชนิดดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอมีการวิจัยก่อนหน้านี้แล้วทั้งต่อเชื้อไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ ได้แก่ เชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อในสัตว์ปีก โรคติดเชื้อไวรัสทีจีอีในสุกร และเชื้อไวรัสชนิดดีเอ็นเอ ได้แก่ เฮอร์ปีสซิมเพล็กไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซูโดโมแนส แอโรจิโนซา และไมโคพลาสมา ไฮโอนิวโมนิอี   
                
เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2018. Antiviral effect of lithium chloride on avian leukosis virus. [Internet]. [Cited 2018 Feb 19]. Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/2/Antiviral-effect-of-lithium-chloride-on-avian-leukosis-virus-249872E/

ภาพที่ ๑ ผลการวิจัย พบว่า ลิเธียมคลอไรด์สามารถใช้เป็นสารต้านไวรัสเอแอลวีชนิดเจได้ (แหล่งภาพ Ronald Hissink)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...