วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทเรียนบราซิลไขปัญหาเนื้ออก

เคยเจอเนื้อแบบนี้มั้ย? ยุโรปเป็นตลาดหลักของการส่งออกกล้ามเนื้ออก การพัฒนาสายพันธุ์ไก่เนื้อให้โตเร็วขึ้นทุกปี กล้ามเนื้ออกใหญ่มาก แต่ก็มีปัญหาคุณภาพเนื้ออกเป็นสาเหตุให้ต้องคัดทิ้งปริมาณมากมายไปจนถึงการร้องเรียนของลูกค้า  กระแสกดดันนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่ ผู้ผลิตยังไม่สามารถวินิจฉัยปัญหา และสาเหตุของความผิดปรกติ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนากล้ามเนื้อในไก่เนื้อ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่หลังความสำเร็จในการคัดเลือกพันธุกรรมไก่ โภชนาการ โรงเรือน และการป้องกันโรค อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ได้รับประโยชน์จากน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น อายุการจับไก่ลดลง และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีขึ้นกว่าเดิม ผลกำไรที่สูงขึ้น ในทางกลับกัน ความก้าวหน้าเหล่านี้ก็ได้ส่งผลกระทบต่อปัญหาคุณภาพเนื้อไก่ และการยอมรับของผู้บริโภค
               นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา น้ำหนักไก่ที่อายุ 40 วันเพิ่มขึ้นเป็น ๔ เท่า และสัดส่วนของกล้ามเนื้ออกก็มากขึ้นเป็น ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อ ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากเส้นเลือดที่เข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และการทำหน้าที่ผิดปรกติของเส้นใยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายประกอบด้วย เส้นใยกล้ามเนื้อเรียงตัวกันเป็นมัดคั่นด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหล่อเลี้ยงด้วยเส้นเลือดแดงตามเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ก่อนการฟักเป็นลูกไก่ เส้นใยกล้ามเนื้อมีการเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้น แต่หลังจากฟักเป็นตัวแล้ว กล้ามเนื้อจะมีการเพิ่มเฉพาะขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อเท่านั้น
               การจำแนกชนิดของกล้ามเนื้อตามคุณสมบัติในการเมตาโบลิซึม สามารถแบ่งได้เป็น
๑.     Type I: Slow-oxidative fibers
๒.   Type IIA: Fast-oxidative fibers
๓.   Type IIB: Fast-glycolytic fibers
กล้าเมนื้อสองชนิดแรกมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมากมาเลี้ยง ขณะที่ มีเส้นเลือดฝอยเพียงเล็กน้อยที่เข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อชนิด Type IIB ขณะที่ Type I ประกอบด้วยไมโอกลอบินจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีสีค่อนข้างแดงสอดคล้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชันของ ATP สำหรับการปลดปล่อยพลังงาน อัตราการล้าของกล้ามเนื้อชนิดนี้จึงมีน้อย ในทางตรงกันข้าม Type IIB ประกอบด้วยกล้ามเนื้อขาว มีไมโอกลอบบินน้อย แต่ประกอบด้วย ไกลโคเจน ที่ถูกสลายโดยกระบวนการ Anaerobic process ให้มีการปลดปล่อยพลังงาน ดังนั้น กล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีอัตราการล้าอย่างรวดเร็ว   
 ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยในไก่เนื้อที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้แก่
๑.     กล้ามเนื้อเป็นแถบลายสีขาว (White striping) ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่ปรากฏเป็นลายที่มีขนาดน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร ไปจนถึง 2 มิลลิเมตร ความชุกของโรคอาจพบได้สูงกว่า ๑๒ เปอร์เซ็นต์ ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นมักพบในกล้ามเนื้อหน้าอก ความชุกของโรคมีความสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำหนักของไก่ และพบได้บ่อยในไก่เนื้อที่มีน้ำหนักมากกว่า ๓.๕ กิโลกรัม
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ กล้ามเนื้อที่ผิดปรกติจะมีการสะสมของเนื้อเยื่อไขมันเข้าไปแทนที่เส้นใยกล้ามเนื้อ สิ่งที่ตรงข้ามกับเนื้อเยื่อปรกติความชื้นต่ำลงเล็กน้อย และโปรตีนต่ำมาก แต่กลับแทนที่ด้วยระดับไขมัน และคอลลาเจนที่สูงขึ้น องค์ประกอบของกรดไขมันในกล้ามเนื้อสันในที่เกิดความผิดปรกติของกล้ามเนื้อเป็นแถบลายเส้นจะมีกรดไขมันชนิด Monounsaturated fatty acids สูงขึ้น และ Polyunsaturated fatty acids ต่ำลง โดยเฉพาะ EPA และ DHA จะต่ำลงอย่างมากเปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อปรกติ
การเพิ่มปริมาณ EPA และ DHA ในอาหารช่วยให้ดีขึ้นได้ รวมถึงการเสริมด้วยวิตามินอี ซีลีเนียม และกรดอะมิโนชนิดที่ประกอบด้วยซัลเฟอร์  
๒.    กล้ามเนื้อแข็งเหมือนไม้ (Wooden meat) เป็นลักษณะของการอักเสบที่เกดขึ้นในกล้ามเนื้อหน้าอกจนมีสีค่อนข้างซีด และเนื้อแข็งมาก ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นนี้ หลอดเลือดฝอยภายในพังผืดรอบเส้นใยกล้ามเนื้อถูกกดทับด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อที่มีการขยายขนาด ส่งผลให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงน้อยลง และมีการขยายไปยังบริเวณข้างเคียง
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เนื้อเยื่อจะมีการตอบสนองด้วยการติดสีม่วง บ่งชี้ถึง การเสื่อมของกล้ามเนื้อ กระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อแบคทีเรีย แต่เป็นผลมาจากภาวะพร่องออกซิเจน   
การทดลองในฟาร์ม พบว่า อัตราความชุกของโรคลดลงภายหลังการให้ EconomasE ที่ประกอบด้วย สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี และ Bioplexed selenium นอกจากนั้น ยังพบว่า การเพิ่มปริมาณอาร์จินีนในอาหารก็ช่วยให้ดีขึ้นเช่นกัน
๓.    โรคกล้ามเนื้อสีเขียว (Green muscle disease) เป็นความผิดปรกติที่พบได้ในกล้ามเนื้อสันใน บางครั้งจงเรียกโรคนี้ว่า พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหน้าอกชั้นใน การเสื่อมของกล้ามเนื้อเป็นผลมาจากการทำงานมากเกินไปของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ ไก่เนื้อที่มีการตีปีกขึ้นลงมากเกินไป ความผิดปรกตินี้ยังขึ้นกับโครงสร้างของร่างกายที่เอื้อต่อการขยายขนาดของกล้ามเนื้อหน้าอก กล้ามเนื้อสีเขียวสามารถพบได้ที่อายุใดก็ได้ พบได้บ่อยในขณะถอดกระดูกออก  
การป้องกันโรคได้ด้วยการให้ความเข้มแสงที่เหมาะสม ควบคุมเสียงภายในโรงเรือนให้ต่ำ และป้องกันมิให้ไก่มีการเคลื่อนที่มากเกินไป หรือตื่นตกใจ การเสริมอาหารสัตว์ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และซีลีเนียมอินทรีย์พบว่าสามารถช่วยให้ดีขึ้นได้เช่นกัน
๔.    พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อส่วนบนตอนหน้า (Cranial dorsal myopathy) พึ่งมีรายงานเมื่อเร็วๆนี้ที่กล้ามเนื้อลาทิซซิมุส ดอร์ไซ ที่บริเวณแนวสันหลัง มีการรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ในบราซิลส่ผลให้มีการคัดซากทิ้ง ๖ เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ความชุกของโรคอยู่ที่ประมาณ ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ กล้ามเนื้อลาทิซซิมุส ดอร์ไซ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อชนิด TypeI ที่มีอัตราการล้าได้น้อย แต่ต้องอาศัยออกซิเจน โรคนี้มีความรุนแรงในไก่เพศผู้ โดยเฉพาะ น้ำหนักสูงกว่า ๒.๕ กิโลกรัม และมีความสัมพันธ์กับสายพันธุ์ไก่ด้วย ฟาร์มในประเทศบราซิล สามารถลดความชุกของโรคจาก ๒ เปอร์เซ็นต์เป็น ๐.๕ เปอร์เซ็นต์โดยการเสริมซีลีเนียมอินทรีย์ในรูปของ Sel-Plex ระดับ ๐.๓ เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเลิกใช้ Bioplexed selenium การคัดซากทิ้งก็เพิ่มสูงขึ้นจาก ๐.๕ เปอร์เซ็นต์เป็น ๒.๐ เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นถึง ผลดีของการเสริมสารอาหารดังกล่าว
การเสื่อมของกล้ามเนื้อมิได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุเดียว แม้ว่า จะมีปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรคที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว และสัดส่วนของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์  กระบวนการวินิจฉัยโรคที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการค้นหาสาเหตุของโรค และการเลือกกลยุทธในการแก้ไขปัญหาทั้งโภชนาการ และการจัดการ เพื่อลดการปลดซากทิ้ง และความเสียหายทางเศรษฐกิจ

แหล่งที่มา:          Simon M. Shane (4/6/15)

1 ความคิดเห็น:

  1. มีบทความหรือเปเปอร์เรื่องนี้ที่แปลเป็นภาษาไทยบ้างไหมครับอาจารย์

    ตอบลบ

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...