อาหารตะวันตกมีผลไม้
และผักน้อย แต่อุดมไปด้วยผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
จึงเกิดการสะสมของสารประจุบวกที่ไม่สามารถเมตาโบไลซ์ได้ (Non-metabolizable
anions) และเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความเป็นกรดภายในร่างกาย (Metabolic
acidosis) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามวัย เนื่องจาก
การทำงานของไตที่มีประสิทธิภาพลดลง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสภาวะความเป็นกรดในร่างกาย
ไตจึงพยายามใช้กลไกชดเชยเพื่อรักษาความสมดุลของกรด และเบส เช่น การขับสารประจุบวกที่ไม่สามารถเมตาโบไลซ์ได้
การอนุรักษ์ซิเตรต และการส่งเสริมให้สร้างแอมโมเนียจากไต รวมถึง
การขับไอออนของแอมโมเนียมออกทางปัสสาวะ กระบวนการปรับตัวเหล่านี้ส่งผลให้ pH
ลดลงอีก และเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบปัสสาวะ
รวมถึง ภาวะซิเตรตในปัสสาวะต่ำ (Hypocitraturia) แคลเซียมในปัสสาวะสูง
(Hypercalciuria) และมีการสูญเสียไนโตรเตน
และฟอสเฟตออกมากขึ้น ระดับ pH ในปัสสาวะที่ต่ำลงยังเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดการสร้างก้อนนิ่วของกรดยูริกเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ภาวะซิเตรตในปัสสาวะต่ำ และภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง เป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงสำหรับการโรคนิ่วจากแคลเซียม
แม้ว่าจะมีระดับความเป็นกรดในเลือดเล็กน้อยก็ยังสามารถเหนี่ยวนำให้กล้ามเนื้อลายดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลิน
และปริมาณกรดในอาหารยังมีความสำคัญต่อการทำนายความผิดปรกติของระบบเมตาโบลิซึม
และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดในประชากร ผู้ที่น้ำหนักเกิน และอ้วน
เบาหวาน และไตล้มเหลวเรื้อรัง
ปริมาณอาหารที่มีความเป็นกรดสูงยังส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน และความดันสูง
และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดอื่นๆอีกด้วย
ผลการศึกษาเร็วๆนี้ ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างภาวะดื้ออินซูลิน
และเครื่องหมายบ่งชี้ความเป็นกรดในร่างกาย รวมถึง ไบคาร์โบเนตในซีรัมต่ำ
ภาวะซิเตรตในปัสสาวะต่ำ และ pH ในปัสสาวะต่ำ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น