วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บทบาทของ Feed Additives ต่อการควบคุมแคมไพโลแบคเตอร์

ผลการศึกษาใหม่แสดงให้เห็นโอกาสในการใช้สารเติมอาหารสัตว์เพื่อลดการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฟาร์มไก่เนื้อ
               เนื้อสัตว์ปีกเป็นแหล่สำคัญของโรคติดเชื้อซัลโมเนลลาในมนุษย์ ที่เป็นโรคสัตว์สู่คนที่พบได้บ่อยที่สุดตามรายงานของสหภาพยุโรป ความชุกของเชื้อแคมไพโลแลคเตอร์ในฟาร์มไก่เนื้อสูงถึง ๗๑ เปอร์เซ็นต์ตามรายงานใน EFSA พบว่า ผู้ป่วยโรคติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ และลิสทีเรียเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมา ที่มีผู้ป่วยโรคติดเชื้อซัลโมเนลลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นครั้งแรก
               การคัดเลือกผลิตภัณฑ์สารเติมอาหารสัตว์ ๒๔ ชนิด ยังไม่มีชนิดใดที่สามารถป้องกัน หรือลดปริมาณเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในไก่เนื้อได้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาหลายครั้ง ทดสองผลิตภัณฑ์โดยการเติมอาหารสัตว์ หรือน้ำเพื่อลดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฟาร์ม โดยมีวิธีการออกแบบการทดลองแตกต่างกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบผลกันได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการคัดเลือกผลิตภัณฑ์สารเติมอาหารสัตว์ ๒๔ ชนิดที่มีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ หรือกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณเชื้อในไส้ตันระหว่างการเลี้ยงจนถึงจับไก่
                ผลิตภัณฑ์เติมอาหารสัตว์ ๒ ชนิดที่ประกอบด้วย กรดอินทรีย์ หรือกรดไขมัน โมโนไกลซีไรด์ สารสกัดจากพืช พรีไบโอติก หรือโปรไบโอติก สำหรับสารเติมอาหารสัตว์แต่ละชนิดนั้น ไก่เนื้อที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ป้อนอาหารที่ไม่มีการเติมสารใด (กลุ่มควบคุม) หรืออาหารที่เสริมด้วยผลิตภัณฑ์เติมอาหารสัตว์ (กลุ่มควบคุม) แล้วทดสอบปริมาณเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบสามครั้ง ไม่มีกลุ่มทดลองใดสามารถป้องกันการสร้างนิคมของแคมไพโลแบคเตอร์ และมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ที่อายุ ๑๔ วัน กลุ่มการทดลอง ๘ กลุ่ม สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ลงได้ ๒ ล็อก ซีเอฟยูต่อกรัมเทียบกับกลุ่มควบคุม ที่อายุ ๓๕ วัน ๓ กลุ่มทดลองยังสามารถลดเชื้อได้อย่างมีนัยสำคัญโดยลดได้ดีที่สุด ๑.๘๘ ล๊อก ซีเอฟยูต่อกรัม ที่อายุ ๔๒ วัน มีเพียงกลุ่มเดียวที่ใช้กรดไขมันสายสั้นที่ยังมีประสิทธิภาพลดเชื้อลงได้มากกว่า ๒ ล็อก ซีเอฟยูต่อกรัม นอกจากนั้น โปรไบโอติก และพรีไบโอติก ยังสามารถลดการปนเปื้อนลงได้สูงที่สุด ๓ ล็อก เอฟยูต่อกรัมที่อายุ ๔๒ วัน
               ผลการวิจัยนี้สร้างความหวังให้กับนักวิจัยต่อการใช้สารเติมอาหารสัตว์เพื่อลดการติดเชื้อซัลโมเนลลาในฟาร์ม อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการหลายวิธีร่วมกันที่ทุกระดับของการผลิตเนื้อไก่จึงจะให้ผลที่ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการใหญ่ชื่อว่า แคมไพโบร สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปตามโครงการวิจัย และพัฒนา โดยดำเนินการวิจัยโดยหน่วยวิจัยที่ฝรั่งเศส สเปน และเนเธอร์แลนด์

แหล่งข้อมูล        World Poultry (26/1/16) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...