การตรวจสอบจีโนไทป์ของเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ
และกัมโบโรในไก่เนื้อยุโรปในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ และเทคนิคการวินิจฉัยโรค พบเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ
๑๐ จีโนไทป์ โดยจีโนไทป์ ๗๙๓ บี พบได้บ่อยที่สุด ติดตามด้วยคิวเอ็กซ์ แมส
และสายพันธุ์ที่คล้ายกับ Xindadi
ผลการรวบรวมข้อมูลของเชื้อหลอดลมอักเสบติดต่อ
และกัมโบโรในยุโรปจากการศึกษาทางระบาดวิทยาวงกว้างโดยใช้ตัวอย่างที่ส่งเพื่อการวินิจฉัยโรคตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เป็นเวลา ๖ เดือนครอบคลุมหลายประเทศในยุโรป
ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกศ ไอร์แลนด์
สเปน และอังกฤษ ในจำนวน ๒๓๔ ฟาร์ม พบเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ ๑๐ จีโนไทป์
โดยจีโนไทป์ ๗๙๓ บี พบได้บ่อยที่สุด ติดตามด้วยคิวเอ็กซ์ แมสซาชูเซตต์ (แมส)
และสายพันธุ์ที่คล้ายกับ Xindadi และสายพันธุ์ที่อยู่ในกลุ่มของ
คิว ๑ ได้แก่ จีโนไทป์ อาร์คันซอ ดี๒๗๔ ดี๑๔๖๖
อิตาลี๐๒ และบี๑๖๔๘ ก็ตรวจพบได้ แต่พบได้น้อยกว่า การแยกตัวอย่างท่อลม และไต
สำหรับการตรวจสอบเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบโดยใช้เทคนิคอาร์ทีพีซีอาร์เป็นประโยชน์
เนื่องกจาก เชื้อไวรัสต่างจีโนไทป์
หรือมีลำดับสารพันธุกรรมที่แตกต่างกันมากจะถูกตรวจพบได้ระหว่างอวัยวะทั้งสอง
ผลการสำรวจครั้งนี้ยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในวัคซีน
และการตอบสนองของแอนติบอดีต่อกัมโบโรในพื้นที่
การตรวจพบเชื้อไวรัสท้องถิ่นที่ไม่ใช่เชื้อไวรัสชนิดรุนแรงมาก บ่งชี้ถึง
การปรากฏของเชื้อไวรัสชนิดที่ไม่รุนแรงมาก และไม่ใช่เชื้อจากวัคซีน พบได้ไม่บ่อยในยุโรป
เนื่องจาก มุ่งเก็บตัวอย่างเฉพาะไก่ที่แสดงอาการทางคลินิก การตรวจพบเชื้อไวรัสที่มาจากวัคซีนในต่อมเบอร์ซา
และการตอบสนองของแอนติบอดีต่อการให้วัคซีนกัมโบโรในฟาร์มที่ให้วัคซีนเชื้อเป็นชนิดอ่อนแรงละลายน้ำเปรียบเทียบกับการให้วัคซีนในโรงฟักโดยใช้วัคซีนอิมมูนคอมเพล็กซ์
แสดงให้เห็นถึง การเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสจากวัคซีนที่ค่อนข้างช้าจากการให้วัคซีนละลายน้ำ
บ่งชี้ถึง ความผิดพลาดของเวลาให้วัคซีน และ/หรือวิธีการให้วัคซีน
เอกสารอ้างอิง
De Wit et al. 2018. Detection
of different genotypes of infectious bronchitis virus and of infectious bursal
disease virus in European broilers during an epidemiological study in 2013 and
the consequences for the diagnostic approach. Avian Pathol. 47(2): 197-205.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น