วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

วัคซีนลดความดื้อยาของบิด



ประเพณี การควบคุมโรคบิดโดยการใช้ยากันบิดผสมอาหารกำลังเปลี่ยนไปเมื่อมีการใช้วัคซีนควบคุม และประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับโรคบิดได้
ในการผลิตสัตว์ปีกเชิงอุตสาหกรรม มีการออกแบบโปรแกรมสำหรับการควบคุมโรคบิดเป็นการตัดสินใจที่มีความสำคัญมากที่สุด เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย หรือเพิ่มผลผลิต และผลกกำไร ตามปรกติ นิยมใช้ยากันบิดเป็นโปรแกรมผสมอาหารสัตว์ นับได้ว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมโรคบิดทางคลินิก แม้ว่า การใช้ยากันบิดโดยการใช้โปรแกรมหมุนเวียนสลับชนิดของผลิตภัณฑ์ หรือการใช้ยากันบิดกลุ่มเคมีร่วมกับกลุ่มไอโอโนฟอร์ หรือโปรแกรมสลับ ก็ยังพบภาวะต้านยามากขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาภาวะดื้อยามีรายงานในยากันบิดส่วนใหญ่ทั้งเคมี และไอโอโนฟอร์ วิธีการที่ใช้สำหรับการตรวจสอบภาวะต้านยาต่อสายเชื้อบิดหนึ่งๆต้องอาศัยการทดสอบในตัวไก่ที่เรียกว่า “Anticoccidial sensitivity test (AST)” วัคซีนบิดเชื้อเป็นกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อการใช้ยากันบิดผสมในอาหารไม่มีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมโรค ความจริงแล้ว การใช้วัคซีนบิดเชื้อเป็นสามารถส่งเสริมให้เกิดความไวรับต่อเชื้อบิดในท้องถิ่นต่อยาต้านบิด
การประเมินประสิทธิภาพในฟาร์ม
                การศึกษาเพื่อประเมินผลของวัคซีนบิดเชื้อเป็น Hipracox ต่อความไวรับของเชื้อบิดในพื้นที่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วย ฟาร์มทดลองจำนวน ๕ แห่ง จำนวนไก่ทั้งหมด ๑๖๐,๐๐๐ ตัวต่อรอบการเลี้ยง ไม่คัดเพศ แล้วจับระบายที่อายุประมาณ ๓๒ ถึง ๓๕ วัน และจับเข้าโรงฆ่า ๔๒ วัน ก่อนการให้วัคซีนภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ว่า ฟาร์มนี้เป็นฟาร์มที่เป็นปัญหาโรคบิดบ่อยๆ โดยอาศัยการประเมินจากหลักฐานของการนับจำนวนไข่บิดต่อมูลไก่ ๑ กรัม (OPG) แล้วให้คะแนนรอยโรค หรือการปรากฏของเลือดในมูลไก่ และประเมินประสิทธิภาพโดยใช้เทคนิค six ASTs จากเชื้อบิดที่แยกได้จากฟาร์มในช่วงท้ายของการเลี้ยงไก่เนื้อ นอกจากนั้น ยังประเมินคะแนนรอยโรค OPGs แล้วคำนวณผลการเลี้ยงไก่ของทั้งวงจรการเลี้ยง   
คะแนนรอยโรคเฉลี่ยรวม (Total mean lesion score, TMLS)
                TMLS เป็นผลของค่าเฉลี่ยของคะแนนรอยโรคเฉลี่ย (Mean Lesion Score, MLS) ของบิดชนิด Eimeria acervulina, E. maxima และ E. tenella แล้วคำนวณจุดเวลาหนึ่งๆของวงจรการเลี้ยงเดียวกันตามวิธีของ Johnson and Reid สำหรับวงจรการเลี้ยงก่อนการใช้วัคซีนรุ่นนี้ ค่า TMLS เป็น ๑.๔๙ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป ๓๔ เปอร์เซ็นต์ จากที่กำหนดไว้ ๑.๑๑ (ภาพที่ 1) คะแนน TMLS ในการให้วัคซีนรอบแรก มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าสหภาพยุโรป (๑.๐๖ และ ๑.๑๑) ตลอดเวลาของการให้วัคซีนรอบที่สอง คะแนน TMLS ยังเพิ่มสูงขึ้น และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสหภาพยุโรป (๐.๘๕ และ ๑.๑๑) ในการให้วัคซีนรอบที่สาม ค่าเฉลี่ย TMLS ลดลง ๐.๔๘ ในช่วงการเลี้ยงรอบแรก ภายหลังการให้วัคซีน ค่าเฉลี่ย TMLS เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเปรียบเทียบกับผลการเลี้ยงในรอบก่อนการให้วัคซีน
ภาพที่ ๑ คะแนนรอยโรคเฉลี่ยรวม











จำนวนโอโอซิสต์ต่อกรัม (OPG)
                ตัวอย่างสำหรับการนับจำนวนโอโอซิสต์ (OPG) เก็บทุกสัปดาห์ที่อายุ ๗, ๑๔, ๒๑, ๒๘, ๓๕ และ ๔๒ วัน (ภาพที่ ๒) ระหว่างการให้วัคซีนรอบที่ ๑ พบการติดเชื้อสูงที่สุดอายุ ๔ สัปดาห์ ภายหลังจากนั้น ภูมิคุ้มกันก็สูงมาก จำนวนโอโอซิสต์ต่อกรัมต่ำลงมากที่อายุ ๓๕ และ ๔๒ วัน ในรอบที่ ๒ ของการให้วัคซีน จำนวนโอโอซิสต์สูงที่สุดขยับจากสัปดาห์ที่ ๔ เป็นสัปดาห์ที่ ๓ แต่นับได้ว่า ต่ำกว่าการให้วัคซีนรอบที่ ๑ มาก ตลอดการเลี้ยงที่มีการให้วัคซีนในรอบที่ ๓ จำนวนโอโอซิสต์สูงที่สุดที่อายุ ๓ สัปดาห์อีกครั้ง
ภาพที่ ๒ ผลการตรวจนับจำนวนโอโอซิสต์ต่อกรัม









  
ผลการเลี้ยง
                ผลการเลี้ยง แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ก่อน ระหว่าง และภายหลังการให้วัคซีน (ตารางที่ ๑) ผลของการให้วัคซีนต่ออัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) และภายหลังกลับไปใช้ยากันบิดเป็น ๑.๒๘ กรัม (๕๘.๒๗ กรัมต่อรอบก่อนการให้วัคซีน และ ๕๙.๕๕ กรัมต่อรอบภายหลังการให้วัคซีน) น้ำหนักที่อายุเชือด ๔๑ วัน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนให้วัคซีน ๕๒ กรัม (๒,๔๔๑ กรัม) เปรียบเทียบกับก่อนการให้วัคซีน (๒,๓๘๙ กรัม) FCR 2000 ดีขึ้น ๓ จุดระหว่างการให้วัคซีน (๑.๕๑) และ ๕ จุดภายหลังการให้วัคซีน (๑.๔๙) เปรียบเทียบกับก่อนการให้วัคซีน (๑.๕๔) อัตราการตายเฉลี่ยก่อนการให้วัคซีนเป็น ๒.๙๖ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ระหว่างการให้วัคซีน อัตราการตายลดลงเป็น ๒.๔๗ เปอร์เซ็นต์ บ่งชี้ว่า ดีขึ้น ๑๖.๖ เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการให้วัคซีน อัตราการตายเพิ่มขึ้นอีกเป็น ๒.๕๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยังดีกว่าเดิม ๑๒.๘ เปอร์เซนต์จากสถานการณ์ก่อนการให้วัคซีน สุดท้ายคือการประเมินด้วยปัจจัยบ่งชี้ประสิทธิภาพการผลิตของยุโรป (European Production Efficiency Factor, EPEF) ดีขึ้นจากเดิม ๓๖๘ ก่อนการให้วัคซีนเป็น ๓๗๖ ระหว่างการให้วัคซีน และ ๓๘๙ ภายหลังการให้วัคซีน (บวก ๒๒ จุด)     
ตารางที่ ๑ ผลการเลี้ยง

น้ำหนัก (กก.)
FCR
ADG (กรัม)
อัตราการตาย (%)
EPEF
ก่อนการให้วัคซีน
2389 A
1.54 A
58.27 A
2.96 A
368 A
ระหว่างการให้วัคซีน
2390 A
1.51 A
58.31 A
2.47 A
376 A
ภายหลังการให้วัคซีน
2441 A
1.49 A
59.55 A
2.58 A
389 A
ผลแตกต่าง ก่อน/หลัง
52
-0.05
1.28
0.38
21
การทดสอบความไวรับต่อยากันบิด (Anticoccidial sensitivity tests, ASTs)
                เชื้อบิด ๖ ตัวอย่างที่ได้ระหว่างการศึกษา นำมาวิเคราะห์ด้วย PCR เพื่อตรวจสอบชนิดของเชื้อในแต่ละแห่ง ผลการทดสอบแสดงในตารางที่ 2 และบ่งชี้ว่า ก่อนการให้วัคซีน เชื้อบิดทั้ง ๕ ชนิด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไก่เนื้อ และยังคงปรากฏไปตลอดจนสิ้นสุดการเลี้ยงในแต่ละฟาร์ม บ่งชี้ว่า อุบัติการณ์ของโรคบิดในฟาร์มสูง ขณะเดียวกัน ภายหลังการให้วัคซีน มีเชื้อบิดเพียงชนิดเดียวเท่านั้น โดยทั่วไป เมื่อใช้การควบคุมด้วยยากันบิดแล้ว จำนวนชนิดของเชื้อบิดจะลดลง
ตารางที่ ๒ ผลการทดสอบ PCR
เชื้อบิด
ก่อนการให้วัคซีน
Vacc1
Vacc2
Vacc3
ภายหลัง 1
ภายหลัง 2
E. acervulina
บวก
บวก
บวก
บวก
บวก
บวก
E. maxima
บวก
ลบ
บวก
ลบ
ลบ
ลบ
E. mitis
บวก
บวก
บวก
ลบ
ลบ
ลบ
E. praecox
บวก
บวก
บวก
บวก
ลบ
ลบ
E. tenella
บวก
ลบ
บวก
บวก
ลบ
ลบ
                การทดสอบ ASTs ดำเนินการตามแนวทางของ World Association for the Advancement of Veterinary Parasitology (WAAVP) สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของยากันบิดในไก่ โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น ๖ การทดสอบ ตามลำดับ เริมจากรอบก่อนการให้วัคซีน การให้วัคซีนรอบแรก (Vacc1) การให้วัคซีนรอบที่สอง (Vacc2) การให้วัคซีนรอบที่สาม (Vacc3) ภายหลังการให้วัคซีนรอบที่ ๑ และรอบที่ ๒ (ภายหลัง 1 และ 2) เพื่อศึกษาความไวรับของยาต่อยากันบิดที่ใช้ในฟาร์ม ได้แก่ ซาลิโนมัยซิน โมเนนซิน และนาราซิน/นิคาร์บาซิน ตารางที่ ๓ แสดงการออกแบบการศึกษาสำหรับเชื้อบิดแต่ละชนิด ใช้การออกแบบชนิด Randomized block design ใช้ไก่ ๖ ตัวต่อซ้ำ และ ๓ ซ้ำต่อกลุ่มการทดลอง
ตารางที่ ๓ การออกแบบการศึกษาสำหรับเชื้อบิดแต่ละชนิด
กลุ่ม
กลุ่ม/ขนาดยา (กรัมต่อตัน; ppm)
ติดเชื้อ/ไม่ติดเชื้อ
กรงต่อกลุ่มทดลอง
ตัวต่อกรง
1
ไม่ให้ยา ไม่ให้เชื้อ
(Non-medicated Non-Infected, NMNI)
NI
3
6
2
ไม่ให้ยา ให้เชื้อ
(Non-medicated Infected, NMI)
I
3
6
3
ซาลิโนมัยซิน 60 g/t หรือ 66 ppm
I
3
6
4
โมเนนซิน 100 g/t หรือ 110 ppm
I
3
6
5
นาราซิน + นิคาร์บาซิน 72 g/t หรือ 79 ppm
I
3
6
                ผลการทดสอบความไวรับ (ตารางที่ ๔) พบว่า เปอร์เซ็นต์ของการลดรอยโรคที่ลำไส้เทียบกับกลุ่ม NMI ดังนี้
๑.)   ต้านทาน: การลดรอยโรคที่ลำไส้ ลดลง ๓๐ เปอร์เซ็นต์
๒.)  ไวรับบางส่วน: การลดรอยโรคที่ลำไส้ ลดลง ๓๑ ถึง ๔๙ เปอร์เซ็นต์
๓.)  ไวรับสมบูรณ์: การลดที่ลำไส้ มากกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์
ผลการใช้วัคซีน
                ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยสังเกตว่า TMLS ก่อนการให้วัคซีนสูงกว่าระหว่าง และภายหลังการให้วัคซีน และมีแนวโน้มที่ลดลงตามลำดับ โดยเฉพาะ การให้วัคซีนรอบที่ ๓ เปรียบเทียบกับการเลี้ยงก่อนหน้านี้ ตลอดการเลี้ยงโดยการให้วัคซีนทั้งสามรอบ ค่าจำนวนโอโอซิสต์ต่อกรัม (OPG) สูงที่สุดเลื่อนลงจาก ๒๘ วันเป็น ๒๑ วัน ขณะที่ภายหลังการให้วัคซีน ค่า OPG สูงที่สุดเป็น ๒๘ วัน บ่งชี้ถึง เชื้อบิดเริ่มมีความไวรับต่อยาบางส่วน สำหรับผลการเลี้ยง ผู้วิจัยสังเกตว่า ก่อนการให้วัคซีนน้ำหนักสุดท้ายแต่ละวงรอบของการให้วัคซีนใกล้เคียงกัน แต่นต่ำกว่าภายหลังการให้วัคซีน สำหรับ ADG, FCR2000 อัตราการตาย และดัชนี EPEF พบว่า ระหว่างการให้วัคซีน และภายหลังการให้วัคซีนผลการเลี้ยงดีกว่าผลการเลี้ยงก่อนหน้านั้น บ่งชี้ว่า การให้วัคซีนช่วยเพิ่มความไวรับต่อยากันบิดได้

โปรไฟล์ความต้านทานต่อยา
ผลการทดสอบ PCR และ AST บ่งชี้ว่า โอโอซิสต์ที่พบในฟาร์มก่อนการให้วัคซีนมีความต้านทานต่อยาบางส่วน แต่โปรไฟล์ความต้านทานยาลดลงระหว่างการให้วัคซีน ทำให้โอโอซิสต์จากการให้วัคซีนรอบที่ ๓ มีความไวรับต่อยามากที่สุด ขณะเดียวกัน ภายหลังการให้วัคซีน และให้โปรแกรมยากันบิดเดียวกับที่เคยใช้มาก่อนหน้านั้น โอโอซิสต์ที่เก็บได้จากฟาร์มมีโปรไฟล์ความต้านทานต่อยากันบิดกลับไปมากกว่าเดิม
                สรุปการวิจัยครั้งนี้ บ่งชี้ว่า การให้วัคซีนสามครั้งติดต่อกันช่วยเปลี่ยนโปรไฟล์ความต้านทานยาของฟาร์มที่วิจัยในครั้งนี้ได้ และสามารถควบคุมปัญหาโรคบิดได้อย่างน้อยสองรุ่นภายหลังการให้วัคซีน ในขณะเดียวกัน ภายหลังการให้วัคซีนรอบที่สอง แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มความต้านทานขึ้นบ้าง บ่งชี้ว่า การให้วัคซีนสามรุ่นติดต่อกันอาจยังไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนโปรไฟล์เป็นมีความไวรับอย่างสมบูรณ์ เป็นไปได้ว่า ฟาร์มไม่เคยให้วัคซีนมาก่อน และเชื้อบิด      
แหล่งที่มา:            World Poultry Magazine Volume 29 No.10 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...