ทุกกระบวนการผลิต การเอาใจใส่ และสนใจอย่างพิถีพิพัน ทั้งการปรับแต่ง และการตรวจติดตามการทำงานอย่างสม่ำเสมอช่วยลดจำนวนสัตว์ปีกที่ถูกปลดซาก และเพิ่มผลผลิตได้ แม้ว่าจะมีวิธีการทำให้ไก่สลบได้หลายวิธี แต่การสตันเนอร์ด้วยไฟฟ้ายังคงเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในโรงงานแปรรูปการผลิตสัตว์ปีกเพื่อให้สัตว์ปีกหมดสติไม่รู้สึกตัว แม้ว่า จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายก็ตาม ผู้ผลิตก็จำเป็นต้องพิจารณาอ่างสตันด้วยไฟฟ้าให้มีการใช้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานที่ผิดพลาด และการปรับแต่งเครื่องมืออย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาติดตามมา
เมื่อการสตันไม่ถูกต้อง คุณภาพของไก่ที่ผ่านการแปรรูปจะลดลง และจำนวนของไก่ที่ถูกปลดทิ้งก็จะเพิ่มขึ้น มาตรการที่สร้างความเชื่อมั่นต่อการสตันเนอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องมักถูกมองข้ามไป นับเป็นสิ่งที่น่าวิตก หากผู้จัดการโรงงานละเลยความใส่ใจ หรือเข้าใจว่า การจัดการเหล่านี้ยากลำบาก หรือจำเป็นต้องใช้งบประมาณลงทุนสูงสำหรับการจัดการอ่างสตันเนอร์
สิ่งสำคัญ ๑๐ ประการสำหรับการจัดการกระบวนการสตันเนอร์ด้วยไฟฟ้าที่สามารถตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่า จำนวนสัตว์ปีกที่ถูกปลดทิ้งน้อยที่สุด
๑. การทำให้พื้นที่ทำงานมืด (Darkening the hanging area) เมื่อไก่เข้าสู่โรงงานแปรรูปการผลิต แล้วแขวนขึ้นแชคเกิล ต้องแขวนไก่อย่างถูกต้อง และลดระดับความเครียดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ พื้นที่รับไก่ควรมีระดับแสงลดลง
โรงงานแปรรูปการผลิตหลายแห่งใช้แสงสีฟ้า แม้ว่า แสงสีแดง และเขียวก็สามารถใช้ได้ในบางโรงงานฯ ไก่ไม่สามารถเห็นแสงได้จากช่วงแสงอัลตราไวโอเล็ต และเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มืดก็จะผ่อนคลาด และบางตัวถึงกับนอนหลับสบาย
๒. เติมแชคเกิลให้เต็ม (Fill all the shackles) สิ่งสำคัญคือ ต้องมั่นใจว่า แต่ละ และทุกแชคเกิลบนสายพาน (Overhead conveyor) ใช้แขวนไก่โดยไม่มีการว่างเว้น
หากมีอันใดว่างเว้นมีไก่จำนวนตัวเข้าสู่อ่างสตันเนอร์น้อยกว่าที่กำหนดไว้ นั่นหมายความว่า ไก่เหล่านั้นจะได้รับกระแสไฟฟ้าสูงเกินไป ส่งผลต่อความเสียหายของซาก มิใช่เพียงปัญหาแชคเกิลที่ว่างเปล่าเพียงอย่างเดียว ไก่แต่ละตัวต้องถูกแขวนอย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน มิเช่นนั้นก็จะเกิดความเสียหายได้เช่นเดียวกัน นอกเหนือจากความเสียหายต่อคุณภาพซากแล้ว พึงระลึกไว้เสมอว่า แชคเกิลที่ว่างเปล่ายังไปเพิ่มระยะเวลาการทำงานสำหรับแต่ละชุดการผลิตอีกด้วย ในบางกรณีก็อาจต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงานเข้าไปอีก ต้องมีค่าล่วงเวลาให้กับพนักงานมากขึ้น
๓. การใช้อุปกรณ์รองอกไก่ (Breast comforter) เพื่อให้ไก่สงบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตลอดกระบวนการทำให้ไก่สลบ หรือสตันเนอร์ ส่วนอกของไก่ ประกอบด้วย ปลายเส้นประสาทมาเลี้ยงจำนวนมาก และการสัมผัสทางภายภาพด้วยส่วนนี้ของไก่กับอุปกรณ์รองอกไก่ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และยืดคอออกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์รองอกไก่ ไม่ควรทำจากวัสดุที่เป็นโลหะ เนื่องจาก การกระพรือปีกตามทางลงสู่อ่างสตันเนอร์อาจไปตีกับอุปกรณ์รองอกไก่ได้จนทำให้เกิดเลือดออก (Hematomas)
ไก่ที่ตื่นตกใจจะกระเสือกกระสน และตีปีกจนทำให้เลือดเข้าสู่กล้ามเนื้ออก และปีกมากขึ้น เมื่อซากไก่ถูกเชือดนำเลือดออก ก็จะไม่สามารถระบายเลือดที่เติมเข้ามามากขึ้นนี้ได้จนส่งผลต่อคุณภาพซากของไก่
๔. นับตั้งแต่การแขวนครั้งสุดท้ายไปจนถึงทางเข้าอ่างสตันเนอร์ (From the last hanger to the stunner entrance) การผ่านจากการแขวนครั้งสุดท้ายไปจนถึงทางเข้าอ่างสตันเนอร์ควารใช้เวลาไม่เกิน ๒๐ วินาที เพื่อป้องกันกันมิให้เลือดออกจากปีก และคอมากเกินไปภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก หากเลือดมีการสะสมในบริเวณนี้จะไม่สามารถระบายออกได้ระหว่างขั้นตอนการทำให้เลือดออก (Bleeding)
๕. การช๊อกก่อนเวลา (Pre-shock) หากมาตรการข้างต้นมีการดำเนินการอย่างถูกต้อง และกระแสไฟฟ้าในอ่างสตันเนอร์มีการปรับค่าอย่างถูกต้อง ไก่ควรเข้าสู่อ่างสตันเนอร์ด้วยสถานะที่ถูกต้อง
วิธีการ ๒ วิธีที่นิยมปฏิบัติกันสำหรับสัตว์ปีกที่เข้าสู่อ่างสตันเนอร์
๑.) วิธีการแรกคล้ายกับวิธีที่นำสัตว์ปีกเข้าสู่อ่างน้ำร้อน วิธีการนี้แนะนำกันมากที่สุด เนื่องจาก สัตว์ปีกเข้าสู่อ่างน้ำร้อนในระยะที่ผ่อนคลาย และหัวอยู่ในมุมที่ถูกต้องกับน้ำ
๒.) วิธีการที่สองคือ การสไลด์ตัวลงตามทางลาด อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ ทางลาดมักจะเปียกชื้น เนื่องจาก เมื่อไก่เข้าสู่อ่างสตันเนอร์ จะตีปีกให้น้ำกระเซ็นกลับไปบนทางลาด ภายหลังการกระพือปีก แล้วสัมผัสกับทางลาดที่เปียกชื้นจนได้รับกระแสไฟฟ้า สามารถทำให้เกิดการหดตัวของคอ และยังกระพือปีกต่อไปอีก ไก่เหล่านี้อาจผงกตัวขึ้นเหนืออ่างสตันเนอร์แทนที่จะผ่านลงไปในน้ำ ดังนั้น ไก่กลุ่มนี้จะยังคงมีสติรู้สึกตัว หากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อการฆ่า และการนำเลือดออก และเพิ่มรอยเลือดออกในซาก (Hematomas) อันเป็นผลมาจากไก่ดิ้นอย่างรุนแรงบนแชคเกิล เพื่อแก้ปัญหานี้ บางโรงงานจึงเพิ่มทางลาดชุดที่สองขึ้นมาด้วย
๖. ความลึกของระดับน้ำภายในอ่างสตันเนอร์ (Depth of stun bath water level) การเริ่มต้นขั้นตอนการทำให้ไก่สลบ (Stunning) คือ หัวไก่สัมผัสกับตะแกรงโลหะที่วางอยู่ใต้ระดับน้ำในอ่างสตันเนอร์ลงไปราว ๒ นิ้ว กระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่กระโหลกจะเดินทางเข้าสู่สมอง แล้วผ่านกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม จนกระทั่งผ่านลงไปที่ขา
อย่างไรก็ตาม หากตะแกรงวางอยู่ลึกกว่า ๒ นิ้วใต้ผิวน้ำ น้ำจะท่วมบางส่วนของคอ และบางกรณีสูงขึ้นไปถึงระดับยอดอก ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว และส่งผลต่อคุณภาพเนื้อไก่ได้
๗. การปรับกระแสไฟอัตโนมัติ (Automatic current adjustment) เมื่อแชคเกิลบางอันไม่มีไก่แขวน ไก่ที่เข้าสู่อ่างสตันเนอร์จะได้รับกระแสไฟฟ้ามากเกินไป วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือ อาจพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการตรวจสอบจำนวนไก่ในน้ำ แล้วปรับค่าแอมแปร์ได้อัตโนมัติ
๘. ทางลาดพิเศษ (Special ramp) ในโรงงานแปรรูปการผลิตที่ไม่สามารถดัดแปลงทางเข้า และทางออกสู่อ่างสตันเนอร์ได้ สามารถติดตั้งทางลาดพลาสติกแยกต่างหากออกมาโดยมีความยาว และทางลาดที่สามารถป้องกันมิให้เปียกชื้นได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการถูกช๊อกก่อนเวลา (Pre-shock)
๙. ท่อพลาสติกที่ทางออกอ่างสตันเนอร์ (Plastic pipe at the stunner exit) ในบางกรณี เมื่อกระบวนการสตันมิได้ถูกควบคุมอย่างถูกต้อง ไก่จะออกจากอ่างสตันเนอร์โดยมีการสั่นกระตุก อาจติดตั้งท่อพลาสติกยาวที่ความสูงระดับอก เมื่อไก่ออกจากอ่างสตันเนอร์จะช่วยลดการสั่นกระตุก และเข้าสู่อุปกรณ์การฆ่าแบบอัตโนมัติ (Automatic killer)
๑๐. ตรวจสอบกระแสไฟฟ้า (Monitor the current) ผลของการได้รับกระแสไฟฟ้าสูงเกินไปอาจทำให้เส้นเลือดดำที่ปีกของไก่ขยายตัว เช่นเดียวกับ เส้นเลือดดำที่โคนขาจนปรากฏเป็นรอยช้ำเลือด หากกระแสไฟฟ้าที่ตั้งไว้ไม่ถูกต้อง
เพื่อให้กระบวนการสตันเนอร์เป็นไปอย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีการควบคุม และตรวจติดตามปัจจัยต่างๆเหล่านี้ให้ถูกต้อง ให้ความเอาใจใส่ทุกขั้นตอนจะช่วยให้ลดจำนวนไก่ที่ถูกปลดทิ้ง และได้ผลผลิตสูงที่สุด
เอกสารอ้างอิง
López EC 2013. Steps to increase stunning bath efficiency at the poultry processing plant. WATTAgNet.com. [Internet]. [Cited 2016 Oct 29]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/12666-poultry-processing-condemnations-a-guide-to-identification-and-causes
ไก่ต้องสงบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อถูกแขวนบนแชคเกิล ให้ใช้แสงไฟที่ไก่จะไม่ตื่นตกใจ เช่น แสงสีฟ้า (Blue light)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น