วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

รอยช้ำเลือดที่ทีมจับไก่ และสตันเนอร์ไม่ได้ทำ

ความจริงแล้ว รอยช้ำเลือดอาจมิใช่มีสาเหตุจากทีมจับไก่ และสตันเนอร์ เท่านั้น แนะนำให้ลองหันกลับไปวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตย้อนหลังที่มีการเก็บไว้เป็นอย่างดี เพื่อการตรวจรับรองมาตรฐาน ความจริงแล้วข้อมูลที่เก็บไว้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการผลิตจริงๆ แล้วลองสอบถามผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็อาจพบประสบการณ์อย่างเดียวกันอย่างที่ผู้ผลิตทั่วโลกเผชิญปัญหาเดียวกัน แทนที่จะโทษแต่ทีมจับไก่ หรือการทำให้ไก่สลบอย่างเดียว หันกลับมาแก้ปัญหาจากรากแก่นของปัญหาน่าจะเป็นการทำงานที่ดีกว่า
  
สารพิษ
สมมติฐานอีกประการเชื่อว่า สารพิษอาจเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดเปราะแตกง่าย และเกิดเป็นรอยช้ำเลือด หากโรงงานอาหารสัตว์ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ กระบวนการผลิตที่ดี ตรวจติดตามระดับสารพิษจากเชื้อราเป็นประจำ สารพิษจากเชื้อราอาจตัดออกไปได้ แต่สารพิษจากแบคทีเรียที่เรียกว่า ชีวพิษภายใน หรือเอนโดท็อกซิน (Endotoxin) จากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบอาจเป็นเสมือนควันจากปลายกระบอกปืน ความจริงแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้คล้ายกับปัญหาที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผลการวิจัยทางการแพทย์ แสดงให้เห็นว่า โรคเบาหวานกำลังมีเป็นโรคนิยมทั่วโลก แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากน้ำหนักเกิน เพราะไขมันไม่อิ่มตัว แต่เป็นผลมาจากกินน้ำตาล ทั้งแบบโมเลกุลเดี่ยว และหลายโมเลกุลมากเกินไป ปัญหาที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ จุดเลือดออกขนาดเล็กตามผิวหนัง และฟกช้ำง่าย เนื่องจาก หลอดเลือดเปราะแตกเหมือนกันเลย เส้นเลือดขนาดเล็กอ่อนแอ และปัญหาของหลอดเลือดตามอวัยวะต่างๆทั่วไป เช่น พยาธิสภาพของจอประสาทตา (Retinopathies) พยาธิสภาพของไต (Nephropathies) รวมถึง ปัญหาหลอดเลือดหัวใจ และสมอง เช่น สโตรค (Stroke) เป็นต้น 
  อัตราการเผาผลาญพลังงานของไก่เนื้อ และความรู้ด้านอาหารสัตว์ได้พัฒนาขึ้นอย่างมาก เราบดอาหารอย่างละเอียดมาก ตีแผ่ทุกสิ่งทุกอย่าง และทำทุกวิถีทางเพื่อให้สารอาหารถูกใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เสมือนว่า เราได้ให้ไก่กินอาหารฟาส์ฟู้ดตลอด ๒๔ ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันดีว่า การกินน้ำตาลมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย สูตรอาหารสัตว์ที่ใช้ข้าวสาลีเป็นองค์ประกอบสำคัญ สร้างปัญหารุนแรงกว่าข้าวโพด หากน้ำตาลเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นการสร้าง Oxidative stress เช่นกัน อนุมูลอิสระที่ผลิตจากไมโตครอนเดรียภายในเซลล์ สามารถทำลายเซลล์ได้ เช่นเดียวกับ เซลล์ตับอ่อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ปัญหาไขมันพอกตับในไก่อายุ ๔๐ วัน
ผู้ผลิตมักสังเกตเห็นปัญหาไขมันพอกตับ (Fatty liver) ในไก่เนื้ออายุ ๔๐ วัน บางครั้งก็สร้างความตื่นตระหนกไปเลย อนุมูลอิสระที่เหนี่ยวนำขึ้นโดยน้ำตาลกลูโคสเกินได้จู่โจมทำลาย “เวลโคร (Velcro)” ที่ทำหน้าที่เสมือนแถบกาวยึดเซลล์ลำไส้ไว้ด้วยกัน บางครั้งก็เรียกว่า “รอยต่อยึดแน่น (Tight junctions)” เมื่อการผ่านเข้าออกผ่านผนังลำไส้ผิดปรกติ สารชีวพิษภายในจากลำไส้ก็จะแทรกผ่านเข้ามาระหว่างเซลล์ลำไส้ ตรงเข้าไปผ่านเส้นเลือดดำ Portal vein เข้าสู่ตับ ภายในตับเกิดปฏิกิริยาการอักเสบในเซลล์คัพฟ์เฟอร์ (Kupffer cells) และในเซลล์ตับ ทำให้เกิดการทำลาย และแทนที่ด้วยไขมัน และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทั้งนี้มิได้หมายความว่า น้ำตาลกลูโคส และฟรุกโตส เป็นสารอันตราย แต่ต้องการสื่อความหมายให้เห็นว่า ยิ่งมีอาหารสัตว์ถูกแปรรูปไปมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสพบเลือดมากเท่านั้น



แนวทางการแก้ปัญหา
วิธีการแก้ปัญหาด้วยการคิดแบบตรรกศาสตร์คือ การลดผลกระทบของน้ำตาล โดยการเปลี่ยนเป็นอาหารสัตว์ที่ปล่อยพลังงานช้าลง ผู้ผลิตบางรายได้เริ่มเปลี่ยนอาหารสัตว์แบบเม็ดที่นิยมใช้กันทั่วไปกลับไปเป็นอาหารป่น เพื่อลดรอยโรคของซากไก่ได้เล็กน้อย การย่อยอาหารช้าลงก็เป็นคำตอบในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของมนุษย์เช่นกัน แต่ในไก่เนื้ออาจเป็นการถอยหลังก้าวใหญ่จนเกินไป เราต้องมองหาโอกาสที่จะบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้อาหารเม็ดมาตรฐาน กุญแจสำคัญในการป้องกันการสร้างอนุมูลอิสระมากเกินไปจากการทำลายเซลล์ประการหนึ่งคือ การใช้สังกะสี กระตุ้นการทำงานของ Transcription factor เช่น “Nrf2” ที่ควบคุมการสร้างอนุมูลอิสระตัวสำคัญคือ Superoxide dismutase (SOD) เพิ่มมากขึ้น แล้วไปส่งผลต่อการกระตุ้นกระบวนการ Dismutaion ของ Superoxide radicals ระหว่างกระบวนการออกซิเดชัน และความเครียดจากสิ่งแวดล้อมระดับเซลล์ ในทางการแพทย์ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับสังกะสีมีผลแทรกซ้อนจากโรคลดลง ล่าสุด ผลการใช้สังกะสีอินทรีย์ในอาหารไก่เนื้อจากการทดลองในฟาร์มสามารถลดปัญหารอยฟกช้ำลงได้ ๑๕ ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ยิ่งเห็นผลได้ชัดเจนในรายที่ประสบปัญหาอย่างรุนแรงจากผลการศึกษาที่วิทยาลัย Scottish Agricultural College       
แหล่งข้อมูล Fabian Brockotte September 30, 2015
















ภาพที่ ๑ รอยช้ำเลือด (Bruise, Contusion) ที่บริเวณอกถึงท้อง สังเกตเห็นรอยโรคแบบนี้ จำเลยสำคัญต้องเป็นทีมจับไก่ หรือเครื่องสตันเนอร์แน่นอน หากท่านยังคิดเช่นนั้น อาจต้องทบทวนกันใหม่กันแล้ว ทั้งที่ความจริงแล้ว วิธีการทำให้ไก่สลบก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยเป็นสิบปีมาแล้ว แต่จำนวนไก่ที่มีปัญหาช้ำเลือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วิธีการจับไก่ก็พัฒนาขึ้นจากในอดีตอย่างมาก ลองหันกลับไปวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตย้อนหลัง อาจทำให้ท่านเปลี่ยนความคิด    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...