โรงงานแปรรูปการผลิต จำเป็นต้องจัดแรงงานเพิ่มเติมเข้าไปตัดแต่งชิ้นส่วนของไก่ที่เกิดปัญหา นั่นคือ ต้องใช้แรงงานเพิ่มขึ้น และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น หากพบเลือดออก หรือก้อนเลือดในขา และปีกก็คงไม่ได้เกิดเพียงเท่านั้น แต่มักเกิดทั้งตัวซาก ปัญหาอีกประการของการเลือดออกทั้งตัวคือ รอยช้ำเลือดส่วนใหญ่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก แต่ผู้บริโภคจะมาเห็นอีกครั้งภายหลังการเตรียมอาหารในห้องครัว แล้วก็ไปร้องเรียนต่อซูเปอร์มาร์เกต และร้านขายปลีก
จำนวนไก่ที่มีปัญหาช้ำเลือดเพิ่มขึ้น
ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในสเปน บราซิล ประเทศในกลุ่มยุโรปตอนเหนือ สมมติฐานแรกของรอยโรคเชื่อว่าเป็นผลมาจากการหดตัวของกล้ามเนื้อระหว่างการสตันเนอร์ ทั้งที่ความจริงแล้ว วิธีการทำให้ไก่สลบก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยเป็นสิบปีมาแล้ว แต่จำนวนไก่ที่มีปัญหาช้ำเลือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่ง ไก่ที่พึ่งนำออกจากกล่องก่อนขึ้นแขวน (Before shackling) ก็พบรอยโรคแล้ว ปัญหาในประเทศสเปนรุนแรงมากจนกระทั่งผู้จัดการโรงงานต้องลุกขึ้นไปดูที่ฟาร์ม คอยติดตามทุกขั้นตอนตั้งแต่จับไก่ ขนส่ง จนกระทั่ง จับขึ้นแขวน แต่ก็ยังหาสาเหตุแหล่งต้นตอของปัญหาไม่ได้เหมือนกันเช่นนี้ทั่วโลก ส่วนใหญ่ รอยโรคเหล่านี้ก็มักถูกตัดสินให้เป็นความบกพร่องของทีมจับไก่ หรือการทำให้ไก่สลบเสมอ ทั้งที่ความจริงแล้ว ปัญหานี้อาจเป็นผลมาจาก หลอดเลือดเปราะแตก (Vascular fragility) ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ดังนั้น ลองหันกลับไปวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตย้อนหลังที่มีการเก็บไว้เป็นอย่างดีเพื่อการตรวจรับรองมาตรฐาน ประกอบกับสารสนเทศจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็อาจพบปรากฏการณ์อย่างที่ผู้ผลิตทั่วโลกเผชิญปัญหาเดียวกัน แทนที่จะโทษแต่ทีมจับไก่ หรือการทำให้ไก่สลบอย่างเดียว หันกลับมาแก้ปัญหาจากรากแก่นของปัญหาน่าจะเป็นการทำงานที่ดีกว่า
ภาพที่ ๑ รอยช้ำเลือด (Bruise, Contusion) ที่บริเวณเนื้ออก (Fillet) ชิ้นส่วนราคาแพงสำหรับโรงงานแปรรูปการผลิต สังเกตรอยเลือดออกแทรกไปตามเส้นใยกล้ามเนื้อ
แหล่งข้อมูล Fabian Brockotte September 30, 2015
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น