นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์เร่งวิเคราะห์ยีนส์ที่เกี่ยวข้องโรค
Wooden breast disease และวิจัยหาเครื่องหมายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกตินี้
ผลการวิจัยครั้งนี้ เชื่อว่าจะช่วยให้สามารถวินิจฉัย และรักษาโรคนี้ได้
กลุ่มอาการของโรค Wooden breast ในไก่เนื้อ
ทำให้เนื้อแข็ง และเคี้ยวยาก ทำให้สินค้าเนื้อไก่ไม่สามารถวางจำหน่ายได้
ผลการวิจัยโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Behnam Abasht ภาควิชาวิทยาศาสตร์อาหาร
(Department of Animal and Food Sciecnes) กำลังวิจัยค้นหาเอกลักษณ์ทางชีวเคมีของเนื้อเยื่ออกไก่ที่มีความแข็งผิดปรกติ
โรคนี้ก็เหมือนกันกับชื่อโรคคือ
อกไก่จะแข็งอย่างสุดขั้วจนรู้สึกเหมือนไม้ โรคนี้ยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาอื่นๆ
เช่น เนื้ออกลายเป็นเส้นสีขาว (White striping) โดยเห็นเป็นลายทางสีขาวตามแนวเส้นใยกล้ามเนื้อ
และลดคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยการปรับปรุงการผลิตสัตว์ปีกตลอด ๕๐ ปีที่ผ่านมา
ได้ทำให้ปริมาณเนื้อ และอัตราการเจริญเติบโตสูงขึ้นอย่างมากในไก่ ขณะเดียวกันก็ได้เพิ่มปัญหาใหม่เป็นความผิดปรกติของกล้ามเนื้อได้
เจาะหายีนส์
(Pinpointing genes) โดยคณะผู้วิจัยของ Abasht มองที่ปัญหาโดยการศึกษายีนส์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่ออกของไก่
เพื่อทำความเข้าใจกลไกทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ โดยการสร้างฐานข้อมูลดีเอ็นเอคู่สมจากตัวอย่างกล้ามเนื้ออกไก่ที่เกิดโรค
๕ ตัวอย่าง และไม่เกิดโรค ๖
ตัวอย่างจากไก่เนื้อที่มีการเลี้ยงเชิงพาณิชย์สายพันธุ์หนึ่ง
คณะผู้วิจัยเปรียบเทียบรายการยีนที่มีการตีพิมพ์ในวารสารด้านเนื้อเยื่อวิทยา
เพื่อค้นหาความผิดปรกติ จากยีนส์มากกว่า ๑๑,๐๐๐
ยีนส์ที่มีการแสดงออกในระดับที่สามารถตรวจสอบได้ในเนื้อเยื่อ ผู้วิจัยพบว่า ประมาณ
๑,๕๐๐ ยีนส์มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มยีนส์ทั้งสองกลุ่มคือ เนื้อไก่ที่ปรกติ
และเกิดโรค หลังจากได้รายการยีนส์ที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์การทำงาน
เพื่อค้นหาว่ายีนส์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ หรือวิถีการทำงานระดับเซลล์อย่างไร
ยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการขาดอากาศเฉพาะแห่ง (Localised hypoxia)
ผู้วิจัยกำลังให้ความสนใจกับยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการขาดอากาศเฉพาะแห่ง
ความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำผิดปรกติในเนื้อเยื่อที่เกิดโรค นอกเหนือจากนั้น
ผลการวิจัยพบว่า
๑. มีการปรากฏของ Oxidative
stress
๒.
เมื่อมีการสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมา
ไม่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเพียงพอที่จะทำให้สารดังกล่าวหมดฤทธิ์ลง
๓.
การเพิ่มขึ้นของแคลเซียมในเนื้อเยื่อ
การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น
การตรวจหาลำดับอาร์เอ็นเอ (RNA sequencing) ช่วยให้นักวิจัยสามารถศึกษาคุณลักษณะทั่วไปของโรคนี้
เป็นกุญแจสำคัญในกระบวนการวิจัย
ค้นหาเครื่องหมายทางพันธุกรรม
เมื่อข้อมูลการแสดงออกของยีนส์ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
คณะผู้วิจัยก็ได้เสาะหาเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับอุบัติการณ์โรค WB
และความรุนแรง โดยการใช้ชุดของยีนส์ที่พบในการศึกษษก่าอนหน้านี้
นักวิจัยได้ตรวจวัดระดับการแสดงออกของยีนส์จำนวน ๒๐๔ ยีนส์ในไก่เนื้อ ๙๖ ตัว
จากรายการทั้งหมด ๓๐ ยีนส์ ที่มีความสำคัญที่สุดในไก่นำมาจัดกลุ่มเป็นกลุ่มที่มีเนื้ออกเป็นปรกติ
ปานกลาง และรุนแรง คณะผู้วิจัย ได้ตรวจพบยีนส์ ๖
ยีนส์ที่มีการทำงานเพิ่มขึ้นในไก่ที่มีปัญหาเนื้ออกปานกลางถึงรุนแรงเปรียบเทียบกับไก่ปรกติ
เครื่องหมายทางพันธุกรรมเหล่านี้ สามารถใช้ในการจัดกลุ่มไก่ที่มีการเลี้ยงเชิงพาณิชย์โดยมีหรือไม่มีโรคได้
นั่นคือ สามารถใช้พยากรณ์ความรุนแรงของโรคได้ งานนี้ พยาธิวิทยารับบทเป็นพระเอกได้
หลังจากหวั่นไหวว่าจะเป็นศาสตร์ที่สาบสูญ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Erin
Brannick ผู้อำนวยการ CANR Compartive Pathology Laboratory ในภาควิชาวิทยาศาสตร์อาหาร และยังเป็นพยาธิสัตวแพทย์ของสถาบันอีกด้วย ชื่นชมการวิจัยครั้งนี้ว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อไก่เนื้อมากกว่า
๕๐๐ ล้านตัวต่อปีในเมืองเดล์มาร์วา
เพื่อขับดันให้การวิจัยก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทันสถานการณ์
กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯได้ทุ่มทุนวิจัยกว่า ๑๗ ล้านบาทเป็นค่าขนมสำหรับนักวิจัยทั้งที่มหาวิทยาลัยเดวาแวร์
ถิ่นกำเนิดของโรคกัมโบโร มหาวิทยาลัยไอโอวา และมหาวิทยาลัยโอไฮโอ
เพื่อศึกษาพื้นฐานด้านพันธุกรรมของโรค WB นี้
แหล่งข้อมูล Rosie Burgin August 19, 2016
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น