กระทรวงเกษตรฯฝรั่งเศสกำลังพิจารณาการใช้วัคซีนป้องกันสัตว์ปีกสำหรับโรคไข้หวัดนก เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้กับการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงที่แวะเวียนมาเป็นประจำทุกปี
ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลินี้ ฝรั่งเศสมีสถิติการระบาดของโรคไข้หวัดนกรวมแล้ว ๔๗๕ ครั้ง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในฟาร์มห่าน หรือเป็ดในตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ การระบาดคล้ายคลึงกับที่เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึง ๒๕๖๐ สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกหลายพันล้านบาทต่อปี เป็นความสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล
ฟัวกราส์กระทบหนักที่สุด
ผลกระทบที่หนักที่สุดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ Landes และ Gers และพื้นที่ใกล้เคียงกับพรมแดนสเปน ในช่วงแรกของการระบาด ผู้นำเข้าฟัวกราส์รายสำคัญของฝรั่งเศส อย่างจีน และญี่ปุ่นได้สั่งห้ามนำเข้าสินค้าเมนูอาหารหรูชนิดนี้ทันทีเป็นเวลาหลายเดือน ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องประสบปัญหาต้นทุนเพิ่มเป็นพิเศษเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่สำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจากนกป่า แม้ว่า ต้นทุนการผลิตเหล่านี้จะได้รับการอุดหนุนโดยภาครัฐ
มาตรการที่รุนแรง
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร
และอาหาร ตัดสินใจใช้มาตรการที่รุนแรงตั้งแต่การระบาดครั้งแรกในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกาศโซนฉุกเฉิน เพื่อให้เป็นมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสูงที่สุด
และจำกัดการขนส่ง และเคลื่อนย้ายสัตว์ ในช่วงแรก ไม่เพียงสัตว์ในฟาร์มที่ติดเชื้อจะถูกทำลาย
แต่ยังรวมถึงฟาร์มใกล้เคียง รวมแล้วมีเป็ด และสัตว์ปีกชนิดอื่นๆไม่ต่ำกว่า ๑.๓
ล้านตัวที่ถูกทำลาย
รัฐมนตรีฯเข้าตรวจเยี่ยมพื้นที่ระบาดหลายครั้ง และให้คำสัญญาเช่นเดียวกับที่ทำกันเป็นปรกติในฝรั่งเศสว่าจะจ่ายเงินชดเชยเพิ่มเติมจากที่ท้องถิ่นให้ ยอดชดเชย ๓.๔ พันล้านบาทได้จ่ายไปแล้วล่วงหน้า
การป้องกันโรค
แต่รัฐมนตรีก็ยังไม่มีแสดงท่าทีพยายามป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกต่อไปในอนาคต
ดังนั้น ดังนั้น จึงเชิญตัวแทนจากภาคการผลิตสัตว์ปีกุกส่วนเพื่อร่วมประชุมออนไลน์ปรึกษาหารือในการกำหนดแนวทางจัดการอย่างเป็นระบบ
กาประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งระดับชาติ
และภูมิภาคร่วมมือกันจัดการกับวิกฤติ และปรึกษากันอย่างใกล้ชิด เพื่อหาวิธีใหม่ต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก
การป้องกัน และการปรับตัว
แนวทางการจัดการที่มีการนำเสนอ เริ่มตั้งแต่การทราบถึงจำนวนสัตว์ในฟาร์มตามเวลาจริงๆ
โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความอ่อนไหวต่อการติดเชื้อมากที่สุด
ถัดมาเป็นระบบที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโรคไข้หวัดนก และการพยากรณ์
และจำลองมาตรการที่จำเป็น เช่น การลดจำนวนประชากรในฟาร์มบางแห่ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรค
ฟาร์ม และบริษัทผู้เลี้ยงสัตว์ปีก เรียกร้องให้มีการเพิ่มระบบการจัดการให้ดีขึ้น ขณะที่ มาตรการระบบความปลอดภัยชทางชีวภาพได้ยกระดับดีขึ้นแล้วทุกระดับตลอดห่วงโซ่การผลิต สุดท้ายเป็นแผนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบ และโอกาสในการใช้วัคซีนป้องกันโรคนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามแนวความคิด “การคาดการณ์ล่วงหน้า การปอ้งกัน และการปรับตัว” เพื่อให้เป็นวิธีทางบวกสำหรับสร้างระบบการป้องกันอุตสาหกรรมการผลิตให้ดีขึ้นกว่านี้ โดยอาศัยการวิเคราะห์ความเสี่ยงภายใต้ความหลากหลายของระบบการผลิตในประเทศ
เอกสารอ้างอิง
Peijs R. 2021.
France considers vaccination against bird flu. [Internet]. [Cited 2021 Aug 16]. Available
from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2021/8/France-considering-vaccination-against-bird-flu-781667E/
ภาพที่ ๑ ฟาร์มห่าน
และเป็ดทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๕๘ สร้างความเสียหายต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (แหล่งภาพ ANP)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น